ระบบการเขียน ของ ภาษาโภชปุรี

การเขียนภาษาโภชปุรีมีความแตกต่างไปในแต่ละกลุ่มชน ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 24 ส่วนใหญ่เขียนด้วยอักษรไกถิและอักษรอาหรับแบบเปอร์เซีย

  • อักษรไกถิ เป็นอักษรที่ใช้ในการปกครองสมัยราชวงศ์โมกุล สำหรับเขียนภาษาโภชปุรี ภาษาไมธิลี ภาษาเบงกอล ภาษาอูรดู ภาษามคธี และภาษาฮินดีระหว่างพุทธศตวรรษที่ 21 – 25 อักษรไกถิใช้ในบางตำบลของรัฐพิหารจนถึง พ.ศ. และอาจจะมีที่ใช้เหลืออยู่ถึงปัจจุบัน ในพื้นที่ชนบทห่างไกลของอินเดียเหนือ ความสำคัญของอักษรไกถิเมื่อรัฐบาลอินเดียภายใต้อาณานิคมอังกฤษแห่งเบงกอลซึ่งรัฐพิหารและบางตำบลทางใต้ของเนปาลขึ้นต่อเขตนี้ด้วย และรัฐจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือและเอาช์ เลือกใช้อักษรนี้ในการบริหารและการศึกษา มีการจัดมาตรฐานอักษรไกถิเมื่อ พ.ศ. 2418 โดยจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือและเอาช์เพื่อใช้ในการศึกษา รัฐบาลท้องถิ่นของรัฐพิหารเลือกอักษรไกถิเป็นอักษรทางการ ในศาลและการบริหารเมื่อ พ.ศ. 2423 อักษรไกถิเข้าไปแทนที่อักษรอาหรับแบบเปอร์เซียที่เคยใช้มาก่อนในพิหาร
  • อักษรอาหรับแบบเปอร์เซีย ก่อน พ.ศ. 2423 งานบริหารทุกอย่างในพิหารใช้อักษรนี้ และอาจจะใช้ในการศึกษาแบบไม่เป็นทางการของชาวมุสลิมที่พูดภาษาโภชปุรีทั้งหมด
  • อักษรเทวนาครี ใน พ.ศ. 2437 งานราชการในรัฐพิหารใช้อักษรไกถิและอักษรเทวนาครีซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้น ในการแทนที่อักษรไกถิด้วยอักษรเทวนาครีในที่สุด ปัจจุบันงานเขียนภาษาโภชปุรีใช้อักษรเทวนาครีเท่านั้น