ประวัติ ของ ภูมิศาสตร์การเมือง

นักภูมิศาสตร์ชาวอังกฤษฮาลฟอร์ด แมคคินเดอร์ได้รับอิทธิพลอย่างมากจากแนวคิดนิยัตินิยมทางสิ่งแวดล้อมและในการพัฒนาแนวคิดของเขาเกี่ยวกับ 'แกนหมุนทางภูมิศาสตร์ของประวัติศาสตร์' หรือทฤษฎีดินแดนแกนกลาง (ใน ค.ศ. 1904) เขาได้โต้แย้งว่ายุคแห่งอำนาจทะเลกำลังสิ้นสุดและอำนาจทางบกจะเข้ามาแทนที่ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าผู้ใดก็ตามที่ควบคุมดินแดนแกนกลางของ 'ยูโรเอเชีย' จะควบคุมโลกได้ ทฤษฎีนี้เกี่ยวข้องกับแนวคิดของอัลเฟรด เทเยอร์ มาฮานเกี่ยวกับความสำคัญของอำนาจทางทะเลในความขัดแย้งของโลกซึ่งขัดแย้งกับแนวคิดของแมคคินเดอร์ ทฤษฎีดินแดนแกนกลางได้ตั้งสมมติฐานที่เป็นไปได้ของจักรวรรดิขนาดใหญ่ที่ถูกสร้างขึ้นโดยไม่จำเป็นต้องใช้การขนส่งบริเวณชายฝั่งหรือข้ามมหาสมุทรเพื่อสนับสนุนกลุ่มอุตสาหกรรมทหาร และกลุ่มพันธมิตรที่ต่อต้านจักรวรรดิในส่วนอื่นของโลกไม่สามารถพิชิตได้ มุมมองนี้ได้รับการพิสูจน์ว่ามีอิทธิพลตลอดช่วงสมัยของสงครามเย็นซึ่งสนับสนุนแนวคิดของทหารเกี่ยวกับการสร้างรัฐกันชนระหว่างตะวันออกและตะวันตกในยุโรปกลาง

ทฤษฎีดินแดนแกนกลางแสดงให้เห็นถึงโลกที่ถูกแบ่งออกเป็นดินแดนแกนกลาง (ยุโรปตะวันตกหรือรัสเซียตะวันตก) เกาะโลก (ยูเรเชียและแอฟริกา) กลุ่มเกาะรอบนอก (หมู่เกาะอังกฤษ ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย และออสเตรเลีย) และโลกใหม่ (ทวีปอเมริกา) แมคคินเดอร์โต้แย้งว่าผู้ใดก็ตามที่ควบคุมดินแดนแกนกลางจะเป็นผู้ควบคุมโลก เขาใช้แนวคิดเหล่านี้เพื่อสร้างอิทธิพลทางการเมือง เช่น สนธิสัญญาแวร์ซายซึ่งรัฐกันชนถูกสร้างขึ้นระหว่างสหภาพโซเวียตและเยอรมนีเพื่อป้องกันไม่ให้ทั้งคู่ควบคุมดินแดนแกนกลาง ในช่วงเวลาเดียวกันฟรีดริช รัทเซลก็กำลังสร้างทฤษฎีของรัฐจากแนวคิดของเลเบินส์เราม์และลัทธิดาร์วินเชิงสังคม เขาแย้งว่ารัฐนั้นคล้ายกับ 'สิ่งมีชีวิต' ที่ต้องการพื้นที่เพียงพอในการอยู่อาศัย นักเขียนทั้งสองคนได้สร้างแนวคิดเกี่ยวกับรัฐศาสตร์และภูมิศาสตร์ด้วยมุมมองที่เป็นกลางของโลก ในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง ภูมิศาสตร์การเมืองเกี่ยวข้องอย่างมากถึงปัญหาของการแข่งขันทางอำนาจของโลกและอิทธิพลต่อนโยบายของรัฐ และทฤษฎีส่วนมากได้รับอิทธิพลจากนักภูมิรัฐศาสตร์ชาวเยอรมัน (ดูเกโอโปลิติก) เช่น คาร์ล เฮาส์โฮเฟอร์ ผู้ (อาจไม่ได้ตั้งใจ) มีอิทธิพลต่อทฤษฎีการเมืองของนาซีเป็นอย่างมาก ซึ่งถูกใช้เป็นรูปแบบของการเมืองที่เห็นว่าชอบธรรมตามกฎหมาย เช่น ทฤษฎี 'วิทยาศาสตร์'

ความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับแนวคิดนิยัตินิยมทางสิ่งแวดล้อมและการหยุดนิ่งของแนวพรมแดนทางการเมืองในช่วงสงครามเย็นนำไปสู่ความถดถอยอย่างมีนัยสำคัญในการเข้าใจความสำคัญของภูมิศาสตร์การเมืองซึ่งถูกอธิบายโดยเบรน เบอร์รีใน ค.ศ 1968 ว่าเป็น 'น้ำนิ่งที่แห้งผาก' แม้ว่าในเวลานั้นเนื้อหาอื่น ๆ ส่วนใหญ่ของภูมิศาสตร์มนุษย์ให้ความสนใจวิธีการใหม่รวมถึงวิทยาศาสตร์เชิงพื้นที่และปริมาณ พฤติกรรมศึกษา และลัทธิมากซ์เชิงโครงสร้างซึ่งได้รับการสนับสนุนการวิจัยทางวิชาการแต่ถูกมองข้ามจากนักภูมิศาสตร์การเมืองซึ่งจุดสนใจหลักยังคงใช้วิธีการทางภูมิภาค ส่งผลให้ตำราทางภูมิศาสตร์การเมืองส่วนใหญ่ที่ผลิตในช่วงเวลานั้นเป็นการพรรณนาจนกระทั่ง ค.ศ. 1976 ริชาร์ด มิวเยอร์กล่าวว่าภูมิศาสตร์การเมืองไม่ใช่สิ่งที่กำลังจะดับสลายไปแต่เป็นสิ่งที่กำลังฟื้นคืนชีพอีกครั้งในความเป็นจริง

ใกล้เคียง

ภูมิศาสตร์ ภูมิศาสตร์ไทย ภูมิศาสตร์เอเชีย ภูมิศาสตร์ยุโรป ภูมิศิลป์ ภูมิศาสตร์ไต้หวัน ภูมิศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ ภูมิศาสตร์ลาว ภูมิศาสตร์กัมพูชา ภูมิศาสตร์การเมือง