มลพิษทางสายตา
มลพิษทางสายตา

มลพิษทางสายตา

มลพิษทางสายตา หรือ มลพิษทางทัศนียภาพ บ้างก็เรียก มลทัศน์ เป็นการเสื่อมสภาพในทัศนียภาพที่สามารถมองเห็น และคุณภาพเชิงลบทางสุนทรียภาพของทัศนียภาพที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและที่มนุษย์สร้างขึ้นรอบ ๆ ตัวผู้คน[1] มลพิษทางสายตาสร้างผลกระทบหลายประการทางมลภาวะที่มีต่อการลดทอนคุณภาพของทัศนียภาพซึ่งเกิดจากแหล่งของมลพิษที่หลากหลายรวมกัน มลพิษทางสายตารบกวนคุณภาพอันเหมาะสมในการใช้งานและความรื่นรมย์ที่มีของบริเวณนั้น ๆ จำกัดความสามารถในการขยายระบบนิเวศตั้งแต่มนุษย์สู่สัตว์ อีกทั้งยังรบกวนไม่ให้ใช้ชีวิตหรือเข้าถึงที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติหรือที่มนุษย์สร้างขึ้น แม้ว่ามลพิษทางสายตามีสาเหตุมาจากแหล่งธรรมชาติ (เช่น ไฟป่า) แต่สาเหตุสำคัญนั้นเกิดจากมนุษย์มลพิษทางสายตาสามารถรับรู้ได้ผ่านระดับการวิเคราะห์ตั้งแต่ปัญหาเล็ก ๆ ที่ส่งผลกระทบเพียงปัจเจกบุคคลจนถึงปัญหาใหญ่ที่ส่งผลกระทบต่อสังคมในภาพรวม ปัญหาของมลพิษทางสายตาอาจอยู่ในรูปแบบของถุงพลาสติกติดอยู่บนต้นไม้ ป้ายโฆษณาที่มีสีและเนื้อหาที่ขัดแย้งกันอันก่อให้เกิดการอิ่มตัวเกิน (oversaturation) ของข้อมูลทางสายตามนุษย์ในทัศนียภาพ[2][3] จนถึงผลกระทบในภาคชุมชนโดยรวม เช่น ความแออัดยัดเยียด (overcrowding), สายไฟเหนือศีรษะ หรือ การจราจรแออัด เป็นต้น การวางผังเมืองที่ไม่ดีและสภาพแวดล้อมที่สร้างขึ้นขัดแย้งกับพื้นที่ธรรมชาติอาจส่งผลให้สร้างความเหินห่างออกจากภูมิทัศน์โดยรอบ[4][5]ผลกระทบของมลพิษทางสายตานั้นก่อให้เกิดอาการแสดงหลัก เช่น ภาวะใจวอกแวก, อาการตาเพลีย, การลดลงของความหลากหลายทางความคิด และการสูญเสียอัตลักษณ์ส่วนบุคคล[4] นอกจากนี้ยังทำให้การตอบสนองทางสรีรวิทยาต่อความเครียด (biological stress responses) นั้นเพิ่มขึ้นและทำให้เสื่อมเสียการกำหนดรู้การทรงตัว[6] ขณะที่แหล่งที่มารองของมลพิษนั้นเป็นการผสมรวมกับผลกระทบที่มีของแหล่งที่มาหลักของมลพิษ เช่น แสง หรือมลภาวะทางเสียงสามารถสร้างข้อกังวลและวิกฤติทางสาธารณสุขหลายประการ