พื้นที่มหาวิทยาลัย ของ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

พื้นที่เก่าในเมือง

  • อาคารเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบ พระชนมพรรษา

อาคารเฉลิมพระเกียรติฯ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี เป็นการอาคารที่มีลักษณะเด่น เมื่อมองเข้ามายังมหาวิทยาลัยฯ จะมองเห็นเด่นชัด มีความสูง 15 ชั้น ปัจจุบันใช้เป็นอาคารสำหรับการบริหารงานของมหาวิทยาลัย และหอประชุมขนาดเล็กและปานกลางจำนวนหลายห้อง โดยเป็นที่ทำการของสำนักงานอธิการบดี

  • หอประวัติ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

หอประวัติ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี เป็นสถานที่สำคัญของมหาวิทยาลัยฯ เป็นศูนย์การจัดการแสดงเกียรติประวัติของมหาวิทยาลัยฯ และความเป็นมาของมหาวิทยาลัย รวมทั้งความเป็นมาและความเป็นอยู่ อาชีพ รูปภาพเก่า ของจังหวัดอุดรธานีด้วย จะเปิดให้เข้าเยี่ยมชมได้เฉพาะเป็นกรณีพิเศษ เช่น จัดงานวันสถาปนา งานวันวิทยาศาสตร์-ราชภัฏอุดรธานีวิชาการ เป็นต้น

  • หอประชุม อเนกประสงค์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

หอประชุม อเนกประสงค์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี หรือเหล่านักศึกษานิยมเรียกว่า "อาคารกิจการนักศึกษา" เป็นอาคารขนาดใหญ่ 2 ชั้น โดยมีหอประชุมขนาดใหญ่ในบริเวณชั้น 2 ขนาดบรรจุได้ 5,000 ที่นั่ง ส่วนบริเวณชั้นล่างเป็นที่ทำการของส่วนงานกิจการนักศึกษา อาทิเช่น กองพัฒนานักศึกษา องค์การนักศึกษา เป็นต้น ลักษณะอาคารเป็นแบบบ้านชั้นเดี่ยวแต่มีหน้าจั่ง 2 ทิศทั้งด้านหน้าและด้านข้างด้านขาวหากมองด้านหน้าของตัวอาคาร โดยมีทางเข้า-ออกมหาวิทยาลัยฯ ไปสู่ตัวเมืองอุดรธานี ด้านข้างหอประชุมฯ ด้วย ส่วนหอประชุมชั้น 2 มีทางขึ้น-ลง 4 มุมอาคาร และทางลาดขนาดใหญ่สำหรับยานพาหนะทางด้านข้าง

  • สนามกีฬาใหม่

สนามกีฬาใหม่ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี เป็นสนามฟุตบอลขนาดมาตรฐานและมีลู่วิ่งรอบสนาม เมื่อปี พ.ศ. 2560 สโมรสฟุตบอลจังหวัดอุดรธานี (อุดรธานี เอฟซี) ใช้เป็นสนามเหย้าของสโมรส[10]

พื้นที่ใหม่สามพร้าว

  • หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี (สามพร้าว)

หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี (สามพร้าว) เป็นโครงการก่อสร้างหอประชุมนานาชาติและใช้เป็นสถานที่สำหรับจัดงานพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี-มหาวิทยาลัยราชภัฏเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ในอนาคต) และเพื่อให้ประชาชนพร้อมด้วยชุมชนใช้ประโยชน์ในการจัดสัมนาฯ หรือประชุม รวมถึงการจัดแสดงสินค้าต่างๆ

การออกแบบได้รับแรงบันดาลใจจากดอกทองกวาว ซึ่งเป็นดอกไม้ประจำจังหวัดอุดรธานีและประจำมหาวิทยาลัยฯ เนื่องจากตัวอาคารมีความลาดโค้งหลายระดับ และปัจจุบันก่อสร้างแล้วเสร็จแล้วเมื่อปลายี พ.ศ. 2559 (อยู่ระหว่างตกแต่งพื้นที่บริวณด้านในและด้านนอกของสถานที่)

  • อาคารเรียนรวม

อาคารเรียนรวม เป็นโครงการก่อสร้างอาคารเรียนรวมและตึกบริหารของมหาวิทยาลัย ที่จะย้ายออกไปทำการในพื้นที่ใหม่สามพร้าวในอนาคต เป็นอาคารที่มีเอกลักษณ์ของจังหวัดอุดรธานี โดยมีแรงบบันดาลใจมาจากไหบ้านเชียง แหล่งมรดกโลกของชาวจังหวัดอุดรธานี ปัจจุบันก่อสร้างแล้วเสร็จแล้วเมื่อปลายปี พ.ศ. 2559 (อยู่ระหว่างตกแต่งพื้นที่บริวณด้านในและด้านนอกของสถานที่)

  • อาคารกลุ่มเทคโนโลยี

อาคารกลุ่มเทคโนโลยี หรือเรียกอีกอย่างว่า "อาคาร TB" อาคารกลุ่มเทคโนโลยี TB เหล่านี้เป็นอาคารที่ก่อสร้างขึ้นช่วงแรกๆ ในโครงการขยายพื้นที่มหาวิทยาลัยออกไปสู่ตำบลสามพร้าว โดยสร้างแล้วเสร็จประมาณราวปี พ.ศ. 2551 และรับนักศึกษาเข้าศึกษาในพื้นที่อาคารเมื่อปีการศึกษา 2553 และนิยมเรียกนักศึกษารุ่นนี้ว่า "ดอกเห็ดช่องที่ 1" ต่อมาเหล่านักศึกษารุ่นหลังก็ถูกนับเรียงชื่อดอกเห็ดเป็นรุ่นๆ ตามกันมา ปัจจุบันอาคารกลุ่มเทคโนโลยี TB มีทั้งหมด 6 อาคาร โดยกลุ่มตัวอาคารเป็นสีขาว คือ

(1) อาคาร TB1 เป็นอาคารตึก 2 ชั้นอยู่ทางบริเวณด้านหลังอาคาร TB2 โดยมีทางเชื่อมไปมาถึงกันได้บริเวณทางด้านหลังของอาคาร TB2 ชั้น 2 ปัจจุบันอาคาร TB1 ใช้เป็นอาคารเรียนรวมของนักศึกษาพื้นที่ใหม่ เนื่องจากอาคารเรียนรวม (อยู่ระหว่างก่อสร้างคาดว่าเสร็จและเปิดให้ใช้ในปีการศึกษา 2561)

(2) อาคาร TB2 เป็นอาคารตึก 4 ชั้นอยู่ทางทิศใต้ของถนนภายในมหาวิทยาลัยโดยมุ่งหน้าไปหอพักนักศึกษาชาย-หญิง ปัจจุบัน อาคาร TB2ใช้เป็นอาคารเรียนรวมของนักศึกษาพื้นที่ใหม่ เนื่องจากอาคารเรียนรวม (อยู่ระหว่างก่อสร้างคาดว่าเสร็จและเปิดให้ใช้ในปีการศึกษา 2561)

(3) อาคาร TB3 เป็นาอคารขนาดใหญ่ 4 ชั้นกว้างขวาง อยู่ตรงข้ามอาคาร TB2 ทางทิศเหนือของถนนภายในมหาวิทยาลัยโดยมุ่งหน้าไปหอพักนักศึกษาชาย-หญิง ปัจจุบันชั้นล่าง เป็นศูนย์อาหารและศูนย์บริหารงานของมหาวิทยาลัย อาทิเช่น งานคลัง งานทะเบียน งานบริหารมหาวิทยาลัย(ส่วยย่อย) เพื่ออำนวยความสะดวกแก่นักศึกษาที่ศึกษาอยู่ในพื้นที่ใหม่สามพร้าว โดยไม่ต้องเดินทางมาติดต่อที่พื้นที่เก่าในเมือง และส่วนด้านในยังเป็น "สำนักงานคณบดี" ของคณะเทคโนโลยีด้วย ส่วนชั้น 2 - 4 เป็นส่วนห้องเรียนขนาดใหญ่ และภายในชั้น 4 ยังแบ่งส่วนเป็นหอประชุมขนาด 300 ที่นั่ง

(4) อาคาร TB4 เป็นอาคารตึก 4 ชั้น อยู่ทิศเหนือด้านหลังอาคาร TB3 โดยมีทางเชื่อมไปมาถึงกันได้บริเวณทางด้านหลังของอาคาร TB3 ทุกชั้น ปัจจุบันใช้เป็นอาคารสำหรับเรียนรวมในวิชาพื้นฐานและวิชาทั่วไปของคณะเทคโนโลยี

(5) อาคาร TB5 เป็นอาคารตึก 2 ชั้น อยู่ทิศเหนือด้านหลังอาคาร TB3 ถัดจากอาคาร TB4ปัจจุบันใช้เป็นอาคารเรียนและสถานที่ฝึกปฏิบัติของนักศึกษาคณะเทคโนโลยีทุกสาขาวิชา

(6) อาคาร TB6 เป็นอาคารตึก 2 ชั้น อยู่ทิศเหนือด้านหลังสุดของอาคาร TB4 ถัดจากอาคาร TB5 ไป ปัจจุบันใช้เป็นอาคารเรียนและสถานที่ฝึกปฏิบัติของนักศึกษากลุ่มวิชาวิศวกรรมศาสตร์

  • อาคารกลุ่มวิทยาศาสตร์

อาคารกลุ่มวิทยาศาตร์ หรือเรียกอีกอย่างว่า "อาคาร ScB" อาคารกลุ่มวิทยาศาสตร์ ScB เหล่านี้เป็นอาคารที่ก่อสร้างขึ้นช่วงที่สองของโครงการขยายพื้นที่มหาวิทยาลัยออกไปสู่ตำบลสามพร้าว โดยเริ่มโครงการสร้างเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2552 โดยสร้างอาคาร ScB1 ขนาดใหญ่ของกลุ่มขึ้นก่อนแล้วสร้างอาคารอื่นๆ ตามลำดับถัดมา ปัจจุบันอาคารอาคารกลุ่มวิทยาศาสตร์ ScB พวกนี้ก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2555 โดยมีอาคารทั้งหมด 4 อาคารโดยกลุ่มตัวอาคารเป็นสีฟ้า-ขาว คือ

(1) อาคาร ScB1 เป็นอาคารขนาดใหญ่ 6 ชั้นกว้างขวางมีพื้นทีมาก ติดถนนภายในทางด้านทิศตะวันออก นับถัดจากอาคาร ScB2 ถัดไป เป็นโครงการย้ายคณะวิทยาศาสตร์จากพื้นที่เก่าในเมืองที่คับแคบออกไปดำเนินการเรียนการสอน โดยในอนาคตจะเป็นที่ตั้งสำนักงานคณบดีคณะวิทยาศาสตร์ และเปิดสอนทางสายวิทยาศาสร์สุขภาพมากขึ้นในลำดับถัดไป โดยปัจจุบันเใช้เป็นอาคารเรียนรวมของนักศึกษาพื้นที่ใหม่ เนื่องจากอาคารเรียนรวม (อยู่ระหว่างก่อสร้างคาดว่าเสร็จและเปิดให้ใช้ในปีการศึกษา 2561)

(2) อาคาร ScB2 เป็นอาคารตึก 6 ชั้นตรงสูง ติดถนนภายในทางด้านทิศตะวันออก จะเจอตัวอาคารนี้ก่อนตัวอาคารอื่นๆ ในกลุ่มทั้งหม โดยภายในมีห้องเรียนและอุปกรณ์ทางการวิจัย ทดลองและแหล่งเรียนรู้สำหรับด้านวิทยาศาสตร์ครบครัน ปัจจุบันใช้เป็นสถานทำการเรียนการสอนของชั้นปีที่ 1 คณะวิทยาศาสตร์

(3) อาคาร ScB3 เป็นอาคารตึก 5 ชั้น ตั้งอยู่บริเวณด้านหลังของตัวอาคาร ScB2 ถัดไปโดยมีทางเชื่อมระหว่างกันทุกๆชั้น และภายในมีห้องเรียนและอุปกรณ์ทางการวิจัย ทดลองและแหล่งเรียนรู้สำหรับด้านวิทยาศาสตร์ครบครัน ปัจจุบันใช้เป็นสถานทำการเรียนการสอนของชั้นปีที่ 1 คณะวิทยาศาสตร์

(4) อาคาร ScB4 เป็นอาคารตึก 5 ชั้น อาคารนี้ตั้งอยู่บริเวณด้านในสุดของกลุ่มอาคาร ซึ่งอยู่ด้านหลังของตัวอาคาร ScB3 ถัดไป ส่วนด้านหลังของอาคารนี้จะมองเห็นกลุ่มอาคารเทคโนโลยี TB ด้วย โดยอยู่ห่างกันไม่มากนัก ส่วนด้านภายในอาคารมีห้องเรียนและอุปกรณ์ทางการวิจัย ทดลองและแหล่งเรียนรู้สำหรับด้านวิทยาศาสตร์ครบครัน ปัจจุบันใช้เป็นสถานทำการเรียนการสอนของชั้นปีที่ 1 คณะวิทยาศาสตร์

  • อาคารกลุ่มวิศวกรรมศาสตร์
  • อาคารกลุ่มนิติศาสตร์
  • อาคารกลุ่มพยาบาลศาสตร์
  • อาคารกลุ่มปฏิบัติการทางเกษตร

(1) อาคารโรงเรือนฝึกปฏิบัติการธุรกิจการเกษตร

(2) อาคารโรงเรือนฝึกปฏิบัติการวิทยาศาสตร์

(3) ฟาร์มฮัก (เทคโนโลยีการผลิตสัตว์)

(5) ศูนย์การเรียนรู้และฝึกอบรมฯศูนย์วิทยาศาสตร์

(6) อาคารจรรยาบรรณสัตว์ทดลอง

  • ศูนย์วิทยบริการ
  • กลุ่มอาคารที่พักอาศัย

(1) กลุ่มบ้านพักคณาจารย์

(2) หอพักบุคลากร

(3) หอพักนักศึกษา

  • สนามกีฬากลาง

สถนามกีฬากลาง มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี (สามพร้าว) เป็นสถานที่ออกกำลังกายกลางแจ้งของนักศึกษาในพืนที่ใหม่สามพร้าว และยังเป็นที่จัดกิจกรรม นันทนาการต่างๆมากมาย

ใกล้เคียง

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยรามคำแหง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

แหล่งที่มา

WikiPedia: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี http://www.natureindex.com/annual-tables/2016/inst... http://www.smmsport.com/reader.php?news=170789 http://www.smoedudru.com/smokaru/index.php/2015-07... http://www.thailaws.com/law/thaiacts/code1981.pdf http://khunsakarin.nrru.ac.th/student/main.php?par... http://bk.udru.ac.th/web/?page_id=2 http://www.udru.ac.th/ http://www.udru.ac.th/images/admission2017/documen... http://www.udru.ac.th/index.php/about-udru/udru-hi... http://www.udru.ac.th/index.php/about-udru/udru-ma...