ที่ตั้ง ของ มหาวิทยาลัยเคนต์

วิทยาเขตแคนเทอร์เบอรี

มหาวิทยาลัยมีที่ตั้งหลักที่วิทยาเขตแคนเทอร์เบอรี ครอบคลุมพื้นที่ 759 ไร่ บนเนินห่างจากตัวเมือง 3 กิโลเมตร มีนักศึกษาเต็มเวลา 12,000 คน และนักศึกษาบางเวลา 6,200 คน พร้อมกับคณาจารย์-เจ้าหน้าที่สายสนับสนุนอีกราว 600 คน ภายในวิทยาเขตประกอบด้วยศูนย์ศิลปะกุลเบนเกียน (Gulbenkian arts colplex) ตั้งชื่อตามมูลนิธิคาลูสต์ กุลเบนเกียน (Calouste Gulbenkian Foundation) ซึ่งเป็นผู้สนับสนุนเงินทุนในการก่อสร้าง ภายในศูนย์มีโถงพร้อมเวทีเล็กสำหรับกิจกรรมดนตรี โรงละครขนาด 340 ที่นั่ง และโรงอาหารสำหรับบริการนักศึกษา คณาจารย์ และบุคคลภายนอก นอกจากนี้ยังมีศูนย์กีฬามูลค่า 1.5 ล้านปอนด์ ซึ่งสร้างเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2546 และศูนย์นวัตกรรมแคนเทอร์เบอรี[24]

ห้องสมุดประจำวิทยาเขต มีชื่อ หอสมุดเทมเพิลแมน (Templeman Library) ซึ่งตั้งตามชื่ออธิการบดีคนแรก (เจฟฟรีย์ เทมเพิลแมน (Geoffrey Templeman)) มีหนังสือ วารสาร สื่อวีดิทัศน์จำนวนมาก รวมไปถึงวารสารไทมส์ย้อนหลังตั้งแต่ พ.ศ 2328 และหอประวัติการ์ตูนอังกฤษ[25]

วิทยาเขตแคนเทอร์เบอรีตั้งห่างจากสถานีแคนเทอร์เบอรีเวสต์ไม่ไกลนัก ซึ่งมีบริการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมต่อกับสถานีเซนต์แพนคราสในกรุงลอนดอนโดยใช้เวลาเดินทาง 56 นาที โดยหยุดรับส่งผู้โดยสารที่สถานีชุมทางแอชฟอร์ดอินเตอร์เนชันแนลด้วย ทำให้สามารถเชื่อมต่อกับรถไฟยูโรสตาร์ได้สะดวก นอกจากสถานีแคนเทอร์เบอรีเวสต์แล้ว ยังมีสถานีแคนเทอร์เบอรีอีสต์ซึ่งสามารถเดินทางไปสถานีลอนดอนวิกตอเรียและลอนดอนแชริงครอสได้ ทั้งสองสถานีและมหาวิทยาลัยเชื่อมต่อด้วยรถบัสยูนิบัส ซึ่งจัดการเดินรถโดยบริษัทสเตจโค้ช[26]

วิทยาเขตทันบริดจ์

ในปี พ.ศ. 2525 มหาวิทยาลัยจัดตั้งภาควิชาการศึกษาต่อเนื่องที่เมืองทันบริดจ์ เพื่อให้การศึกษามีความแพร่หลายมากขึ้น[27] ตัววิทยาเขตตั้งห่างจากสถานีรถไฟทันบริดจ์ไม่ไกลนัก

วิทยาเขตเมดเวย์

ในปี พ.ศ. 2543 มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยแคนเทอร์เบอรีไครสต์เชิร์ช และมหาวิทยาลัยกรีนิชร่วมมือจัดตั้งศูนย์วิทยบริการภายในเมืองเมดเวย์ ทางตะวันตกเฉียงเหนือของจังหวัด ติดกับปากแม่น้ำเทมส์[20] โดยใช้ชื่อ มหาวิทยาลัยเคนต์ ณ เมดเวย์ มีที่ตั้งระยะแรก ๆ ณ วิทยาลัยมิดเคนต์ และต่อมาได้ย้ายไปที่ท่าเรือชาแทม (Chatham Dockyard) โดยใช้พื้นที่ร่วมกับมหาวิทยาลัยทั้งสองที่เหลือ

ใกล้เคียง

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยนเรศวร

แหล่งที่มา

WikiPedia: มหาวิทยาลัยเคนต์ http://www.stagecoachbus.com/Unibus.aspx http://www.topuniversities.com/universities/univer... http://web.archive.org/web/20070824031914/http://w... //tools.wmflabs.org/geohack/geohack.php?pagename=%... http://kent.ac.uk http://library.kent.ac.uk/cartoons/ http://www.kent.ac.uk http://www.kent.ac.uk/about/history/history00.html http://www.kent.ac.uk/about/history/history59.html http://www.kent.ac.uk/about/history/history80.html