ส่วนงาน ของ มหาวิทยาลัยเคนต์

อาคารมาร์โลว์ เป็นที่ตั้งคณะมนุษยศาสตร์ ภาควิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ และภาควิชามานุษยวิทยา

คณะวิชา

มหาวิทยาลัยแบ่งส่วนงานทางวิชาการเป็น 3 คณะวิชา แต่ละคณะมีภาควิชาสังกัด ดังนี้

รายชื่อคณะและภาควิชา
คณะมนุษยศาสตร์
  • ภาควิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์
  • ภาควิชาศิลปศาสตร์
  • ภาควิชาภาษาอังกฤษ
  • ภาควิชาวัฒนธรรมและภาษายุโรป
  • ภาควิชาประวัติศาสตร์
  • ภาควิชาดุริยางคศาสตร์และศิลปกรรมศาสตร์
คณะวิทยาศาสตร์
  • ภาควิชาชีวศาสตร์
  • ภาควิชาวิทยาการคณนา
  • ภาควิชาวิศวกรรมศาสตร์และศิลปะดิจิทัล (digital arts)
  • ภาควิชาคณิตศาสตร์ สถิติ และคณิตศาสตร์ประกันภัย
  • ภาควิชาเภสัชศาสตร์เมดเวย์ (Medway School of Pharmacy)
  • ภาควิชาฟิสิกส์
  • ภาควิชาวิทยาศาสตร์การกีฬาและออกกำลังกาย
คณะสังคมศาสตร์
  • ภาควิชามานุษยวิทยาและการอนุรักษ์
  • ภาควิชาบริหารธุรกิจ
  • ภาควิชาเศรษฐศาสตร์
  • ภาควิชานิติศาสตร์
  • ภาควิชารัฐศาสตร์และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
  • ภาควิชาจิตวิทยา
  • ภาควิชานโยบายสังคม สังคมวิทยา และการวิจัยสังคม

เดิม ทีในแผนจัดตั้งมหาวิทยาลัย จะไม่มีการแบ่งย่อยคณะออกเป็นภาควิชา โดยให้มีการสอนรายวิชาแบบเดียวกันในปีแรกของการเรียนระดับปริญญาตรี ต่อด้วยการสอนในวิชาเฉพาะทาง[15] เพื่อกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาศาสตร์ข้ามสาย เช่น ฟิสิกส์เชิงเคมี เคมีและวิศวกรรมควบคุม เคมีเชิงชีววิทยา และวิทยาศาสตร์กายภาพเชิงสิ่งแวดล้อม[21] อย่างไรก็ตามแนวคิดดังกล่าวถูกคัดค้าน เพราะอาจทำให้เกิดความซับซ้อนขึ้นเกินกว่าที่นักศึกษาจะเรียนได้ อาจจะทำให้นักศึกษาบางคนเบื่อหน่ายในขณะที่บางคนเรียนได้ดี หรือแม้แต่ทำให้นักศึกษาบางคนประสบปัญหารุนแรง เช่น บางคนอาจจะไม่ได้เรียนเคมีมาจากชั้นเตรียมอุดมศึกษา (A-level) และมุ่งเรียนสายคณิตศาสตร์ในมหาวิทยาลัย บางคนเรียนสายสังคม แต่ไม่ได้เรียนวิชาพื้นฐานมาจากชั้นเตรียมอุดมศึกษา เมื่อถูกบังคับให้เรียนวิชากว้าง ๆ อาจเกิดความท้อถอย การที่นักศึกษามีพื้นฐานต่างกันนี้เอง ทำให้คณะวิทยาศาสตร์ต้องจัดให้มีการปรับพื้นฐานและหลักสูตรที่แตกต่างออกไป[21] ด้วยเหตุนี้นักศึกษาจำนวนมากจึงได้เริ่มเลือกวิชาพื้นฐานเฉพาะส่วนที่คล้ายกับวิชาเฉพาะเท่านั้น เพื่อลดความยุ่งยากในการเรียน

ภาควิชาบริหารธุรกิจ

อย่างไรก็ตาม ความเป็นสหศาสตร์ของมหาวิทยาลัยได้ถูกทำลายลง เนื่องจากรัฐบาลได้กำหนดให้มีการสำรวจตรวจสอบต้นทุนการผลิตบัณฑิต เมื่อปี พ.ศ. 2535 อาจารย์ที่เคยสอนข้ามศาสตร์จำต้องเลือกอยู่ในศาสตร์ใดศาสตร์หนึ่งตามนโยบายรัฐบาล เพื่อที่รัฐบาล โดยสภาจัดสรรเงินทุนระดับอุดมศึกษา (Higher Education Funding Council for England; HEFCE) จะได้จัดสรรงบประมาณอุดหนุนสถานศึกษาได้ถูกต้อง ในกาารนี้ มหาวิทยาลัยได้ถูกแบ่งเป็นภาควิชา แต่ละภาคได้รับงบอุดหนุนตามสัดส่วนจำนวนนักศึกษาและต้นทุนจริง ส่งผลให้มีการเพิ่มรายวิชาเฉพาะด้วยจะทำให้ได้เงินอุดหนุนมากขึ้น

มหาวิทยาลัยมีคณะชอเซอร์ (Chaucer College) เป็นสถาบันสมทบ ร่วมกับมหาวิทยาลัยชูเมะอิ (Shumei University) ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยเอกชนในญี่ปุ่น

คณะอาศัย

ดาร์วินคอลเลจ

นอกจากคณะวิชาแล้ว มหาวิทยาลัยยังมีคณะอาศัย (คอลเลจ) ซึ่งตั้งชื่อตามนักวิชาการผู้มีชื่อเสียง แต่ละคณะอาศัยประกอบไปด้วยภาควิชา ห้องบรรยาย ห้องคอมพิวเตอร์ ห้องสัมมนา ห้องรับประทานอาหาร และหอพัก มีอนุสาสกและคณะกรรมการนักศึกษาที่ได้รับเลือกปกครองความเป็นอยู่ ทั้งนักศึกษา (แม้ไม่พักในหอพัก) และอาจารย์จะสังกัดภายในคณะอาศัย มีนักศึกษาจำนวนหนึ่งอาศัยอยู่ภายในคณะ อีกจำนวนหนึ่งอาศัยภายนอกมหาวิทยาลัยแต่เข้ามาใช้คณะอาศัยเพื่อศึกษาค้นคว้า คณะอาศัยของมหาวิทยาลัยมีดังนี้

ชื่อคณะอาศัยก่อตั้ง (พ.ศ.)ตั้งชื่อตาม
คณะเอเลียต (Elliot)2508โทมัส เอเลียต นักเขียนชาวอเมริกัน
คณะรัทเทอร์ฟอร์ด (Rutherford)2509เออร์เนสต์ รัทเทอร์ฟอร์ด นักฟิสิกส์ชาวอังกฤษ
คณะเคนส์ (Keynes)2511จอห์น เคนส์ นักเศรษฐศาสตร์ชาวอังกฤษ
คณะดาร์วิน (Darwin)2513ชาลส์ ดาร์วิน นักธรรมชาติวิทยาชาวอังกฤษ
คณะวูล์ฟ (Woolf)2551เวอร์จิเนีย วูล์ฟ นักเขียนชาวอังกฤษ
คณะทัวริง (Turing)2557อลัน ทัวริง นักวิทยาการคอมพิวเตอร์ชาวอังกฤษ

ชื่อทั้งหมดข้างต้นเป็นชื่อที่เลือกแล้ว อย่างไรก็ตามมีชื่อที่ไม่ได้รับเลือก เช่น คณะเอเลียต มีชื่อแคกซตัน (วิลเลียม แคกซตัน (William Caxton) ผู้นำระบบการพิมพ์เข้ามาในอังกฤษ) ที่เสนอมาด้วยแต่ตกไป คณะเคนส์มีชื่อริชเบอเรอ (Richborough) ซึ่งเป็นชื่อหมู่บ้านในอำเภอโดเวอร์ จังหวัดเคนต์ และชื่ออันเซล์ม (Anselm) อดีตมุขนายกแห่งสังฆมณฑลแคนเทอร์เบอรี ส่วนคณะดาร์วิน มีชื่ออันเซล์ม, แอตทลี (เคลเมนต์ แอตทลี (Clement Attlee) อดีตนายกรัฐมนตรี), เบคเก็ต (โทมัส เบคเกต (Thomas Becker) อดีตมุขนายก ชื่อนี้ทางคณะอาศัยเห็นชอบแต่สภาคณาจารย์ไม่เห็นด้วยจึงเป็นอันตกไป), คอนราด (Conrad), เอลการ์ (เอ็ดเวิร์ด เอลการ์ (Edward Elgar) นักแต่งเพลงชาวอังกฤษ), เมตแลนด์ (Maitland), มาร์โลว์ (คริสโตเฟอร์ มาร์โลว์ (Christopher Marlowe) กวีชาวอังกฤษ), รัสเซลล์ (เบอร์แทรนด์ รัสเซลล์ (Bertrand Russell) นักปรัชญาชาวอังกฤษ ชื่อนี้ทางสภาคณาจารย์เห็นชอบ แต่สภามหาวิทยาลัยไม่เห็นชอบ), ไทเลอร์ (วอต ไทเลอร์ (Wat Tyler) ผู้นำกบฏชาวนา และชื่อเนินที่ตั้งของมหาวิทยาลัย) ชื่อทั้งหมดถูกนำมาเลือกโดยวิธีลงคะแนนลับ[22]

เนื่องจากที่พักนักศึกษาในตัวอำเภอแคนเทอร์เบอรีเองมีจำกัด ทำให้มหาวิทยาลัยต้องสร้างหอพักเพิ่มโดยไม่เพิ่มจำนวนคณะอาศัย นอกจากนี้ด้วยเหตุที่นักศึกษาแต่ละคนต้องการศึกษาแยกกันออกไปในคณะวิชาของตน ก็ทำให้บทบาทของคณะอาศัยถูกลดทอนลงไปมาก[23] ไม่เหนียวแน่นเหมือนคณะอาศัยที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์และมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด

ใกล้เคียง

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยนเรศวร

แหล่งที่มา

WikiPedia: มหาวิทยาลัยเคนต์ http://www.stagecoachbus.com/Unibus.aspx http://www.topuniversities.com/universities/univer... http://web.archive.org/web/20070824031914/http://w... //tools.wmflabs.org/geohack/geohack.php?pagename=%... http://kent.ac.uk http://library.kent.ac.uk/cartoons/ http://www.kent.ac.uk http://www.kent.ac.uk/about/history/history00.html http://www.kent.ac.uk/about/history/history59.html http://www.kent.ac.uk/about/history/history80.html