ที่ตั้ง ของ มหาวิทยาลัยเซาแทมป์ตัน

มหาวิทยาลัยประกอบด้วยพื้นที่ทำการสอน (วิทยาเขต) 6 แห่ง โดย 4 แห่งอยู่ในเมืองเซาท์แฮมป์ตัน 1 แห่งในเมืองวินเชสเตอร์[35] และอีก 1 แห่งที่ประเทศมาเลเซีย นอกจากนี้มหาวิทยาลัยยังมีศูนย์วิจัย อุทยานวิทยาศาสตร์ และหอพักนักศึกษากระจายตามพื้นที่ต่าง ๆ ในเมือง

วิทยาเขตไฮฟิลด์

วิทยาเขตหลักของมหาวิทยาลัยคือ วิทยาเขตไฮฟิลด์ (Highfield Campus) มีพื้นที่ราว 150 ไร่ หน่วยงานบริหารและคณะวิชาส่วนมากตั้งบริเวณนี้ อาคารเก่าก่ออิฐที่ตั้งในบริเวณนี้ได้แก่หอสมุดฮาร์ตเลย์ และสโมสรนักศึกษา ซึ่งออกแบบโดยไจลส์ สกอตต์ (Giles Scott)[36] ส่วนอาคารใหม่ ๆ และการจัดสวนในมหาวิทยาลัยเป็นผลงานของเบซิล สเปนซ์ (Basil Spence)[37] ซิดนีย์ คิมเบอร์ (Sidney Kimber) และริก มาเทอร์ (Rick Mather) ภูมิทัศน์โดยทั่วไปเป็นพื้นที่ที่แบ่งครึ่งโดยถนนมหาวิทยาลัย มีต้นไม้เรียงตามถนน และมีลำห้วยเล็ก ๆ ในสวน

วิทยาเขตอเวนิว

อาคารโรงเรียนทอนตัน

เนื่องจากวิทยาเขตไฮฟิลด์คับแคบ มีที่จอดรถน้อย ส่งผลให้มหาวิทยาลัยย้ายคณะมนุษยศาสตร์ไปยังที่ตั้งใหม่ คือวิทยาเขตอเวนิว (Avenue) ซึ่งเดิมเป็นโรงเรียนเทศบาลทอนตัน (Taunton College) ที่ทางเทศบาลเมืองเซาท์แฮมป์ตันขายให้มหาวิทยาลัยในราคา 2 ล้านปอนด์เมื่อ พ.ศ. 2536[38] ปัจจุบันอาคารโรงเรียนอยู่ในสภาพดี นอกจากนี้มหาวิทยาลัยได้ซ่อมสร้างต่อเติมอาคารใหม่ รวมถึงอาคารโบราณคดีมูลค่าสองล้านเจ็ดแสนปอนด์ด้วย[39]

ศูนย์สมุทรศาสตร์แห่งชาติ

ท่าน้ำศูนย์สมุทรศาสตร์แห่งชาติ

ศูนย์สมุทรศาสตร์แห่งชาติ ณ เมืองเซาท์แฮมป์ตัน (National Oceanography Centre, Southampton; NOCS) เป็นพื้นที่ทำการสอนและวิจัยส่วนหนึ่งของมหาวิทยาลัย ตั้งอยู่ที่ท่าเรือเซาท์แฮมป์ตัน ห่างจากวิทยาเขตไฮฟิลด์ราว 5 กิโลเมตร ภายในศูนย์ฯ มีภาควิชาวิทยาศาสตร์โลกและทางทะเล รวมถึงศูนย์วิจัยของสภาวิจัยวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ (Natural Environment Research Council) ด้วย[40] Five of the National Oceanography Centre's research divisions are based on the campus.[40] พื้นที่ศูนย์สมุทรศาสตร์เดิมทีเป็นพื้นที่ของท่าเรือ โดยได้เริ่มวางแผนงานราว พ.ศ. 2532 และก่อสร้างเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2537 แม้จะประสบปัญหาการตัดงบประมาณเพราะความไม่แน่ใจว่าศูนย์วิจัยแห่งชาติกับมหาวิทยาลัยจะเข้ากันได้ดี[41] ครั้นสร้างเสร็จ เจ้าชายฟิลิป พระราชสวามีในสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่สองทรงประกอบพิธีเปิดศูนย์ฯ เมื่อ พ.ศ. 2539

โรงพยาบาลกลางเซาท์แฮมป์ตัน

มหาวิทยาลัยจัดการเรียนการสอนในคณะแพทยศาสตร์และคณะสหเวชศาสตร์ ทั้งในระดับปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษา ณ โรงพยาบาลกลางเซาท์แฮมป์ตัน (Southampton General Hospital) โดยร่วมมือกับสำนักบริการสุขภาพแห่งชาติ

วิทยาลัยศิลปกรรมวินเชสเตอร์

วิทยาลัยศิลปกรรมวินเชสเตอร์ (Winchester School of Art) ก่อตั้งเมื่อราว ๆ พ.ศ. 2500 ต่อมาได้สมทบเข้าเป็นส่วนงานของมหาวิทยาลัยเมื่อ พ.ศ. 2539 เพื่อทำการเรียนการสอนและวิจัยในด้านศิลปะ สิ่งทอ รวมถึงการออกแบบ

วิทยาเขตมาเลเซีย

มหาวิทยาลัยมีวิทยาเขตนอกสหราชอาณาจักรที่รัฐยะโฮร์ ประเทศมาเลเซีย ซึ่งเปิดดำเนินการเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2555 ทำการสอนในสาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์[42][43]

ใกล้เคียง

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยนเรศวร

แหล่งที่มา

WikiPedia: มหาวิทยาลัยเซาแทมป์ตัน http://www.environmentcentre.com/rte.asp?id=288 http://www.nbbj.com/work/life-sciences-building-un... http://www.perkinsogden.com/he&fe/soton_uni.html# http://www.perkinsogden.com/pdf/5220-1.pdf http://www.rickmather.com/project/category/jubilee... http://www.wyg.com/5projects/projects.php?project=... //doi.org/10.1088%2F0034-6683%2F2%2F1%2F301 http://www.susu.org //tools.wmflabs.org/geohack/geohack.php?pagename=%... http://noc.ac.uk/about-us/history/national-oceanog...