มอลโทส
มอลโทส

มอลโทส

160 to 165 °C (320 to 329 °F; 433 to 438 K) (anhydrous)
102–103 °C (monohydrate) มอลโทส (อังกฤษ: maltose) หรือ มอลโทไบโอส (maltobiose) หรือ น้ำตาลมอลต์ (malt sugar) เป็นน้ำตาลไดแซ็กคาไรด์ที่เกิดจากการรวมกันของกลูโคสซึ่งเป็นมอนอแซ็กคาไรด์ 2 โมเลกุล ลักษณะเป็นของแข็งหรือผลึกสีขาว ละลายน้ำได้ มีความหวานประมาณ 30% ของซูโครส[1] มอลโทสถูกค้นพบครั้งแรกโดยโอกุสแต็ง-ปีแยร์ ดูบรันโฟ นักเคมีชาวฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1847[2] แต่ไม่ได้รับการยืนยันจนกระทั่งปี ค.ศ. 1872 โดยคอร์นีเลียส โอซุลลิแวน นักเคมีชาวไอริช[3] ชื่อมอลโทสมาจากมอลต์ รวมกับคำปัจจัย -ose ที่บ่งชี้ว่าเป็นน้ำตาลมอลโทสเป็นไดแซ็กคาไรด์ที่มีสูตรเคมีคือ C12H22O11 เช่นเดียวกับซูโครสและแล็กโทส โดยเกิดจากกลูโคส 2 โมเลกุลจับกันด้วยพันธะไกลโคซิดิกที่ตำแหน่ง α(1→4) หรือคาร์บอนตำแหน่งที่ 1 ของกลูโคสโมเลกุลที่หนึ่งกับคาร์บอนตำแหน่งที่ 4 ของกลูโคสโมเลกุลที่สอง[4] มอลโทสยังสามารถแบ่งเป็น α-Maltose และ β-Maltose ตามตำแหน่งหมู่ไฮดรอกซิลที่จับกับกลูโคสโมเลกุลที่สอง[5] มอลโทสมีไอโซเมอร์คือไอโซมอลโทสที่ต่างกันตรงตำแหน่งการจับพันธะ โดยไอโซมอลโทสจับที่ตำแหน่ง α(1→6) นอกจากนี้มอลโทสยังเป็นน้ำตาลรีดิวซ์ หรือคาร์โบไฮเดรตที่สามารถให้อิเล็กตรอนแก่ตัวออกซิไดซ์เนื่องจากมีหมู่อัลดีไฮด์อิสระในโครงสร้างที่เป็นวงแหวนเปิด[6]มอลโทสพบในธัญพืช เช่น ข้าวสาลี ข้าวโพดและข้าวบาร์เลย์ นอกจากนี้ยังพบในท้อ แพร์และมันเทศ[7] เมื่อมนุษย์ทานแป้งเข้าไปจะถูกย่อยด้วยเอนไซม์อะไมเลสได้น้ำตาลหลายชนิดรวมถึงมอลโทส ซึ่งต่อมามอลโทสจะถูกย่อยด้วยเอนไซม์มอลเทสกลายเป็นกลูโคสและถูกดูดซึมที่ลำไส้เล็ก[8]

แหล่งที่มา

WikiPedia: มอลโทส http://www.chemspider.com/388329 http://pubchem.ncbi.nlm.nih.gov/summary/summary.cg... http://www.ebi.ac.uk/chebi/searchId.do?chebiId=CHE... https://www.fishersci.com/store/msds?partNumber=AC... https://www.healthline.com/nutrition/maltose https://books.google.de/books?id=X6skaZlZNdsC&pg=P... https://chem.libretexts.org/Bookshelves/Ancillary_... https://chem.libretexts.org/Courses/Sacramento_Cit... https://books.google.co.th/books?id=b7Dc9bOs9uAC https://books.google.co.th/books?id=fdBMcYg_xGYC&