ผลไม้ ของ มะเฟือง

ผลของมะเฟืองเป็นผลไม้ทรงกระสวย เมื่อหั่นแนวขวางได้เป็นรูปดาวห้าแฉก ภาษาอังกฤษจึงเรียกว่า star fruit ผลดิบสีเขียวใช้สับผสมในน้ำพริก สุกเป็นสีเหลืองใช้แกงได้ หรือกินแนมกับแหนมเนือง มะเฟืองเป็นผลไม้ที่มีออกซาเลตสูงทำให้เกิดนิ่วในไตได้ในผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของไต[1] มีทั้งรสหวานและเปรี้ยวแล้วแต่สายพันธุ์

พันธุ์มะเฟืองที่พบในไทยได้แก่ [1]

  • พันธุ์พื้นเมือง รสเปรี้ยว มีทั้งลูกใหญ่และลูกเล็ก
  • พันธุ์กวางตุ้ง ผลสีขาว ขอบสีเขียว รสหวาน
  • พันธุ์ไต้หวัน ผลใหญ่ กลีบบาง ขอบบิด รสหวาน
  • พันธุ์มาเลเซีย ผลใหญ่ น้ำเยอะ หวานอมเปรี้ยว

คุณค่าทางโภชนาการ

ผลมะเฟืองสด
คุณค่าทางโภชนาการต่อ 100 กรัม (3.5 ออนซ์)
พลังงาน128 kJ (31 kcal)
6.73 g
น้ำตาล3.98 g
ใยอาหาร2.8 g
.33 g
1.04 g
วิตามิน
(8%)
.39 มก.
โฟเลต (บี9)
(3%)
12 μg
วิตามินซี
(41%)
34.4 มก.
แร่ธาตุ
ฟอสฟอรัส
(2%)
12 มก.
โพแทสเซียม
(3%)
133 มก.
สังกะสี
(1%)
.12 มก.
ประมาณร้อยละคร่าว ๆ โดยใช้การแนะนำของสหรัฐอเมริกาสำหรับผู้ใหญ่
แหล่งที่มา: USDA Nutrient Database

วิตามิน เอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 ไนอะซีน โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน เส้นใย แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็กและพลังงาน

สรรพคุณทางยา

การแก้ร้อนใน ดับกระหาย ลดความร้อนภายในร่างกายถอนพิษก็ได้ แต่สามารถเพิ่มโอกาสเป็นนิ่วในทางเดินปัสสาวะได้เนื่องจากสารออกซาเลตที่มีอยู่มากในมะเฟืองจะไปจับตัวกับแคลเซียมตกเป็นผลึกในไต และยังทำให้เกิดอาการไตวายเฉียบพลันได้หากได้รับเข้าไปในปริมาณที่มาก ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับภาวะการขาดน้ำของร่างกายด้วย

การแปรรูป

  • มะเฟือง 3 รส