ความหลากหลายของมาการง ของ มาการง

มาการงสีต่าง ๆมาการงในปารีส (จานหน้าสุด)Macarons from La Grande Épicerie, the deli department of Le Bon Marché, ParisMacaron cookie base

ฝรั่งเศส

ในหลาย ๆ เมืองของฝรั่งเศสต่างมีประวัติที่หลากหลายและมีความเป็นมายาวนานมาก อย่างเช่นที่แคว้นลอแรนมีความโดดเด่นมาก (น็องซีและบูแล), ภูมิภาคบาสก์ (แซ็ง-ฌ็อง-เดอ-ลุซ), แซ็งเตมีลียง, อาเมียง, มงมอรียง, เลอโดรา, โซ (Sault), ชาทร์, กอร์เมอรี, ฌัวเยิซ และแซ็งต์-ครัวในเบอร์กันดี

มาการงดาเมียง (Macarons d'Amiens) ในอาเมียงมีขนาดเล็ก รูปร่างกลมแบบมาการงทั่ว ๆ ไป ทำมาจากแอลมอนด์ เพสท์ (เมล็ดแอลมอนด์บดผสมรวมกับน้ำตาล และไข่), ผลไม้และน้ำผึ้ง ซึ่งค้นพบครั้งแรกในปี ค.ศ. 1855[13]

ส่วนในเมืองมงมอรียง มาการงเลื่องชื่อมากขนาดมีการสร้างพิพิธภัณฑ์โดยเฉพาะ ย้อนกลับไปในปี ค.ศ. 1920 ที่เมืองนี้มีร้านเบเกอรีมาการงที่เก่าแก่ที่สุดตั้งอยู่ ชื่อว่า แมซงรานู-เมตีวีเย (Maison Rannou-Métivier) มาการงของมงมอรียงนี้เป็นสูตรดั้งเดิมที่สืบทอดกันมากว่า 150 ปีแล้ว[14]

ในเมืองน็องซีที่แคว้นลอแรน มาการงเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์เมืองนี้เลยทีเดียว เป็นที่เล่าขานกันมาว่า หัวหน้าแม่ชีท่านหนึ่งจากเมืองเรอมีร์มง (Remiremont) ตั้งกฎขึ้นมาปกครองแม่ชีทั้งหมด กฎนี้ชื่อว่า "ดามดูว์แซ็ง-ซาเครอม็อง" (Dames du Saint-Sacrement) เป็นกฎห้ามแม่ชีไม่ให้รับประทานเนื้อทุกชนิด และต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด ซึ่งมีแม่ชีสองท่าน (ซิสเตอร์มาร์เกอริตและมารี-เอลีซาแบ็ต) ที่เชื่อกันว่าคือผู้ที่คิดค้นวิธีการทำมาการงขึ้นมา เพื่อจะได้รับประทานอาหารที่เหมาะสมและเป็นไปตามกฎนั้น ต่อมาท่านทั้งสองเป็นที่รู้จักกันในชื่อ "ซิสเตอร์มาการง" (เลเซอร์มาการง) ในปี ค.ศ. 1952 เมืองน็องซีนำชื่อของท่านมาใช้ตั้งชื่อถนนบางส่วนของรูว์เดอลาอาช (Rue de la Hache) (สถานที่ที่พวกท่านคิดค้นมาการงขึ้นมา) เพื่อเป็นการให้เกียรติ[15]

สวิตเซอร์แลนด์

ในสวิตเซอร์แลนด์ มียี่ห้อลุกเซิมบัวร์เกอร์ลี (Luxemburgerli) เป็นขนมที่ผสมผสานงานศิลปะขนมหวานของร้านกงฟีซรีชปรึงลี (Confiserie Sprüngli) ที่ตั้งอยู่ในเมืองซูริก มาการงของยี่ห้อลุกเซิมบัวร์เกอร์ลีนี้[16][17][18] ประกอบไปด้วยเมอแร็งก์แอลมอนด์สองแผ่น[19] สอดไส้บัตเตอร์ครีม[20][21] ขนาดชิ้นมาการงจะเล็กกว่า เบากว่ามาการงของเจ้าอื่น ๆ ว่ากันว่า ส่วนผสมเบามาก สัมผัสเหมือนอากาศ[22] รสชาติที่มีจำหน่าย ได้แก่ วานิลลา, ช็อกโกแลต, สตรัชชาเตลลา (ช็อกโกแลตชิป), คาราเมล, ถั่วเฮเซล, แชมเปญ, เหล้าอามาเรตโต, เกาลัด, มอคา, อบเชย, เลมอน, ส้มจีน และราสป์เบอร์รี รสชาติบางแบบก็มีเฉพาะบางเทศกาลเท่านั้น มาการงวางขายในตู้โชว์แช่เย็นซึ่งจะอยู่ได้นานราว 3-5 วัน

Zurich, Switzerland, Sprüngli confectionery shop display with Luxemburgerli.

ลุกเซิมบัวร์เกอร์ลีได้รับการสร้างสรรค์ขึ้นโดยกามีย์ ชตูเดอร์ นักศิลปะขนมหวานซึ่งนำสูตรมาที่ซูริกหลังจากที่ได้คิดค้นขนมชนิดนี้ในร้านขนมหวานแห่งหนึ่งในลักเซมเบิร์ก (กงฟีซรีนามูร์) เมื่อปี ค.ศ. 1957 ที่นั่นเธอปรับปรุงสูตรเพื่อเข้าแข่งขันการทำศิลปะขนมหวาน คำว่า ลุกเซิมบัวร์เกอร์ลี (Luxemburgerli) คือชื่อเล่นที่เพื่อน ๆ ตั้งให้เขา เพราะครอบครัวเธอแต่เดิมมาจากลักเซมเบิร์ก แต่แรกเลยใช้ชื่อว่า แบเซเดอมุส" (Baiser de Mousse) (ภาษาฝรั่งเศสแปลว่า โฟม คิส (foam kiss)) ต่อมาเปลี่ยนเป็น "เกอเบ็คเด็สลุกเซิมบัวร์เกิร์ส" (Gebäck des Luxemburgers) ("ขนมหวานของชาวลักเซมเบิร์ก") ให้ดูเข้ากับขนมมากขึ้น ซึ่งท้ายที่สุดเปลี่ยนมาเป็นชื่อในภาษาเยอรมันแบบสวิสคือ "ลุกเซิมบัวร์เกอร์ลี" (Luxemburgerli) แปลว่า "ชาวลักเซมเบิร์กตัวน้อย"

เกาหลีใต้

มาการงเป็นที่นิยมมากในเกาหลีใต้[23] ที่นี่เรียกว่า "มาคารง" (ออกเสียงแบบภาษาเกาหลี) มีการนำผงชาเขียวหรือใบชาเขียวมาทำมาการงรสชาเขียว[24][25]

ญี่ปุ่น

มาการงในญี่ปุ่นก็เป็นที่นิยมมาก ที่นี่เรียกกันว่า "มะกะรง"[26] มีการใช้แป้งถั่วลิสงแทนแอลมอนด์และแต่งรสชาติแบบวะกะชิ (ขนมหวานดั้งเดิมของญี่ปุ่น) มีวางจำหน่ายอย่างแพร่หลายทั่วประเทศ

แหล่งที่มา

WikiPedia: มาการง http://www.smh.com.au/news/good-living/heaven-on-e... http://www.delikatessenschweiz.ch/index.php?db=del... http://www.nzz.ch/aktuell/startseite/wer-macht-die... http://www.spruengli.ch/collection/luxemburgerli-e... http://www.tagesanzeiger.ch/zuerich/stadt/Auf-der-... http://www.achat-nancy.com/pro19-Notre-Histoire-MA... http://www.canada.com/cityguides/montreal/story.ht... http://desserteater.com/macaron/134/ http://www.eggzmacaron.com http://www.foodpr0n.com/2010/02/26/macaron-vs-maca...