ขอบเขตของมานุษยวิทยา ของ มานุษยวิทยา

  • มานุษยวิทยากายภาพ ศึกษาสรีรวิทยาทางชีวภาพที่ประกอบกันขึ้นเป็นตัวมนุษย์ สาขานี้สนใจการก่อกำเนิดเผ่าพันธุ์ของมนุษย์ ศึกษาการเปลี่ยนแปลงของขนาดรูปแบบโครงสร้างทางร่างกาย รูปร่างหน้าตาสีผิว และมันสมองที่มีผลต่อระดับสติปัญญาและการแสดงพฤติกรรม
  • มานุษยวิทยาภาษา หรือ ภาษาศาสตร์ ศึกษามนุษย์ผ่านภาษา ตัวอักษร พยัญชนะ การประดิษฐ์คำ การพูดการออกเสียง ระบบไวยกรณ์ และการใช้สัญลักษณ์ต่างๆในฐานะเป็นเครื่องมือสื่อสารทางสังคมและการให้ความหมายต่อสิ่งต่างๆในโลก 
  • โบราณคดี ศึกษาสังคมและวัฒนธรรมของมนุษย์ในอดีต โดยวิเคราะห์จากหลักฐานทางวัตถุและสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น ซึ่งอาจเป็นวัตถุชิ้นเล็กๆไปจนถึงอาคารสถานที่ขนาดใหญ่ รวมไปถึงสภาพแวดล้อมในอดีต
  • มานุษยวิทยาสังคมหรือมานุษยวิทยาวัฒนธรรม ศึกษาชีวิตของมนุษย์ปัจจุบันที่ยังมีลมหายใจ โดยศึกษาความสัมพันธ์ทางสังคมที่ปรากฏอยู่ในชีวิตประจำวัน ในหมู่นักวิชาการชาวอเมริกันและเรียกองค์ความรู้ในสาขานี้ว่า "มนุษยวิทยาวัฒนธรรม (Cultural Anthropology)" แต่สำหรับนักวิชาการชาวอังกฤษ มักเน้นศึกษาเนื้อหาสาระด้านความสัมพันธ์ของคนในแต่ละสังคมที่ร่วมกันสร้างและประพฤติปฏิบัติต่อกันในกิจกรรมทางสังคมในแง่ครอบครัว เศรษฐกิจ การเมือง ศาสนาและความเชื่อ การศึกษาและฝึกฝนอบรมการเรียนรู้ทางสังคม และนันทนาการ โดยเรียกองค์ความรู้ในสาขานี้ว่า "มานุษยวิทยาสังคม (Social Anthropology)"

ถึงแม้ว่าสายาย่อยเหล่านี้จะมีโจทย์เฉพาะของตนเอง แต่จุดร่วมเดียกันก็คือความต้องการที่จะรู้ว่ามนุษย์ดำรงชีวิตอยู่ในโลกนี้อย่างไร  ดังนั้น “วัฒนธรรม” จึงเป็นกุญแจสำคัญที่ทำให้มนุษย์แตกต่างจากสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆ นักมานุษยวิทยาที่ทำงานภายใต้สาขาย่อยจึงมิได้ตัดขาดออกจากกันอย่างสิ้นเชิง หากแต่จะทำงานภายใต้ร่มเดียวกันที่ต่างค้นหาความหมายของ “วัฒนธรรม” จากมุมมองที่หลากหลาย

ใกล้เคียง

มานุษยรูปนิยม มานุษยวิทยา มานุษยรูปนิยมแบบโมเอะ มานุษยวิทยาศาสนา มานุษยวิทยาสังคม มานุษยวิทยาเมือง มานุษยวิทยาวัฒนธรรม มานุษยดนตรีวิทยา มานุษยวิทยาการแพทย์ มานุษยวิทยากายภาพ