มีไธโอนีน
มีไธโอนีน

มีไธโอนีน

281 °C, 554 K, 538 °F มีไธโอนีน (อังกฤษ: methionine, ตัวย่อ Met หรือ M)[2] เป็นกรดอะมิโนชนิดแอลฟา มีสูตรเคมีคือ C5H11NO2S ลักษณะเป็นของแข็งสีขาว ละลายน้ำได้ มีมวลโมเลกุล 149.21 g/mol[3] โครงสร้างมีไธโอนีนประกอบด้วยแอมโมเนียที่ได้โปรตอน (−NH3+) และกรดคาร์บอกซิลิกที่เสียโปรตอน (−COO−) และมีโซ่ข้างเป็นไทโออีเทอร์ มีไธโอนีนและซิสตีอีนเป็นกรดอะมิโนโปรตีโนเจนิกสองชนิดที่มีอะตอมกำมะถัน มีไธโอนีนถูกเข้ารหัสในรหัสทางพันธุกรรมพื้นฐานเป็นโคดอน AUGมีไธโอนีนถูกสกัดครั้งแรกในปี ค.ศ. 1921 โดยจอห์น ฮาวเวิร์ด มูลเลอร์ นักเคมีชาวอเมริกัน[4] และได้ชื่อจากการผสมคำระหว่าง methyl, thion และ -ine[5] ชีวสังเคราะห์ของมีไธโอนีนในพืชและจุลชีพเริ่มต้นที่แอสปาร์เตตที่กลายสภาพเป็นแอสปาร์เตต-เบตา-เซมิแอลดีไฮด์แล้วเปลี่ยนเป็นฮอโมเซรีน ต่อมาฮอโมเซรีนจะถูกกระตุ้นร่วมกับหมู่ฟอสเฟต แอซิติลหรือซักซินิล ก่อนจะทำปฏิกิริยากับซิสตีอีน ไฮโดรเจนซัลไฟด์หรือเมทาเนธิออล หากทำปฏิกิริยากับซิสตีอีนหรือไฮโดรเจนซัลไฟด์จะได้กรดอะมิโนฮอโมซิสตีนซึ่งสามารถเปลี่ยนสภาพเป็นมีไธโอนีน แต่หากทำปฏิกิริยากับเมทาเนธิออล จะได้มีไธโอนีนโดยตรง[6][7]มีไธโอนีนเป็นกรดอะมิโนจำเป็นที่ร่างกายไม่สามารถสังเคราะห์ได้ แต่ได้รับจากอาหารจำพวกเนื้อสัตว์ ปลา และไข่[8] มีไธโอนีนเป็นตัวถูกเปลี่ยนของกรดอะมิโนอื่นอย่างซิสตีอีนและทอรีน มีไธโอนีนเป็นส่วนประกอบสำคัญของกลูตาไธโอน สารต้านอนุมูลอิสระที่สำคัญในสิ่งมีชีวิต และเอส-อะดีโนซิลมีไธโอนีน (SAM-e) โคแฟกเตอร์ที่มีส่วนสำคัญในการควบคุมฮอร์โมน ดีเอ็นเอและระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย[9][10]

แหล่งที่มา

WikiPedia: มีไธโอนีน http://www.chemspider.com/853 http://pubchem.ncbi.nlm.nih.gov/summary/summary.cg... //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4598287 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/24939187 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/26321661 http://www.genome.ad.jp/dbget-bin/www_bget?cpd:C00... //doi.org/10.1016%2Fj.cmet.2015.07.013 //doi.org/10.1099%2Fmic.0.077826-0 http://www.nasonline.org/publications/biographical... http://www.ebi.ac.uk/chebi/searchId.do?chebiId=CHE...