โครงสร้างสังคม ของ ยุคทองของเนเธอร์แลนด์

ภาพวาดการเต้นรำของชาวดัตช์ โดย ยาน สเตน ค.ศ. 1663

ในศตวรรษที่ 17 โครงสร้างสังคมของเนเธอร์แลนด์ถูกกำหนดด้วยรายได้เป็นหลัก ผู้ครองที่ดินมีความสำคัญน้อยลงเนื่องจากชนกลุ่มนี้อาศัยอยู่ในพื้นที่ชนบทห่างไกล แต่กลับเป็นชนชั้นพ่อค้าที่มีบทบาทโดดเด่นในสังคมชาวดัตช์ เคลอจีทางศาสนามีอิทธิพลทางสังคมน้อยลงเช่นกันอันเป็นผลจากสงครามแปดสิบปีกับสเปนที่เนเธอร์แลนด์เรียกร้องเสรีภาพในการดำเนินศาสนา

พ่อค้าที่ร่ำรวยมุ่งสู่การขยายอำนาจด้วยการซื้อที่ดินให้อยู่ในครอบครอง  ส่วนชนชั้นสูงหรือขุนนางเก่าปะปนอยู่กับชนชั้นอื่นๆในสังคม ด้วยการแต่งงานกับพ่อค้าที่มั่งคั่ง หรือผันตัวมาเป็นพ่อค้าเองหรือรับราชการทหารแทน พ่อค้าเริ่มหันมาทำมีส่วนร่วมกับสังคมเพื่อเพิ่มอำนาจทางเศรษฐกิจและยกระดับฐานะตัวเองผ่านทางมหาวิทยาลัย เช่น การส่งลูกหลานไปเรียนกับครูส่วนตัว(ซึ่งมักจะเป็นนักวิทยาศาสตร์ในมหาวิทยาลัย)และออกเดินทางเยี่ยมมหาวิทยาลัยต่างๆทั่วยุโรปเพื่อการท่องเที่ยว

เมื่อตระกูลขุนนางเก่าเริ่มกลายเป็นชนชั้นกลาง ประกอบอาชีพนักกฎหมาย แพทย์ พ่อค้า นักอุตสาหกรรม และเสมียนในองค์กรใหญ่ๆ อาชีพอื่นๆอาทิช่างฝีมือและนักการค้า เจ้าของร้าน และข้าราชการถูกมองเป็นชนชั้นที่รองลงมาในสังคม ส่วนแรงงานไร้ฝีมือ แม่บ้าน บริกร กะลาสี หรือกลุ่มอื่นๆเป็นกลุ่มชนชั้นรากหญ้าในสังคม อย่างไรก็ตาม แรงงานในเนเธอร์แลนด์ก็ยังได้รับค่าจ้างที่สูงกว่าที่อื่นในยุโรปและมีมาตรฐานการครองชีพที่ดีกว่าแม้จะเสียภาษีมากกว่าปกติ

ใกล้เคียง

ยุคทองของเนเธอร์แลนด์ ยุคทองของอิสลาม ยุคทองแดง ยุคเอโดะ ยุคออร์โดวิเชียน ยุคอาซูจิ–โมโมยามะ ยุคแอตติจูด ยุคอาณาจักรเหนือใต้ของเกาหลี ยุคที่สามแห่งอาร์ดา ยุคที่สองแห่งอาร์ดา

แหล่งที่มา

WikiPedia: ยุคทองของเนเธอร์แลนด์ http://www.17castles.00freehost.com/index.html http://www.holland-in-linien.de/index_eng.html http://www.willem-kalf.de/index_eng.html http://www.ucmp.berkeley.edu/history/leeuwenhoek.h... http://www.balticconnections.net/index.cfm?article... http://www.wereldexpat.nl/nl/typischNL/recepten/ko... http://www.culinaryhistoriansny.org/files/Newslett... https://books.google.com/books?id=30A5AAAAIAAJ https://books.google.com/books?id=30A5AAAAIAAJ&pg=... https://web.archive.org/web/20081223110810/http://...