เหตุการณ์ต่อมา ของ ยุทธการที่ทุ่งราบอู่จั้ง

หลังจากขงเบ้งสิ้นไปแล้ว ผู้ที่เป็นอัครมหาเสนาบดีแห่งจ๊กก๊ก ก็คือ เจียวอ้วน และผู้ที่รับตำแหน่งแม่ทัพใหญ่ คือ เกียงอุย ซึ่งยึดถือในปณิธานบุกขึ้นเหนือเพื่อรวบรวมแผ่นดินเป็นหนึ่งเดียวต่อไป ในส่วนร่างของขงเบ้งนั้นถูกฝังบนยอดเขาเตงกุนสัน หนึ่งในสถานที่ ๆ เคยเกิดศึกสงครามระหว่างวุยก๊กและจ๊กก๊กในอดีต (ค.ศ. 219) ซึ่งจ๊กก๊กเป็นฝ่ายชนะ โดยเป็นสุสานอยู่กลางแจ้ง ไม่มีศาลาตามคำสั่งเสียก่อนสิ้นใจ

โดยสถานที่ ๆ ขงเบ้งสิ้นใจนั้น คือ ทุ่งอู่จั้ง หรือที่ราบอู่จั้ง เป็นที่ราบสูงอยู่ใกล้กับแม่น้ำเว่ย อยู่ห่างประมาณ 56 กิโลเมตรจากตัวเมืองเปาจี มณฑลส่านซีในปัจจุบัน และอยู่ห่างจากเมืองซีอานไปทางตะวันตกประมาณ 150 กิโลเมตร ทุ่งอู่จั้งเป็นที่ราบสูงแห่งหนึ่งในประเทศจีน มีความสูงประมาณ 150 ฟุต ปัจจุบันได้มีศาลเจ้าขงเบ้งตั้งอยู่ ภายในศาลประกอบด้วยรูปเคารพขงเบ้ง พร้อมกับนายทหารคู่ใจอีกสี่นาย คือ กวนหิน, อองเป๋ง, เตียวเปา และเลียวฮัว โดยมีม้าต้ายเป็นทวารบาล และ ณ ที่นี่ยังมีสุสานฝังชุด, หมวก และพัดขนนกของขงเบ้งอยู่ด้วย[2][3][4][5][6]

ใกล้เคียง

ยุทธการที่เดียนเบียนฟู ยุทธการที่มอสโก ยุทธการที่อิเหลง ยุทธการที่ฝรั่งเศส ยุทธการที่เซี่ยงไฮ้ ยุทธการที่สตาลินกราด ยุทธการที่บะดัร ยุทธการที่อู่ฮั่น ยุทธการที่โอกินาวะ ยุทธการที่เทอร์มอพิลี