ยุทธการที่วุร์สเตอร์ ของ ยุทธการที่วุร์สเตอร์

โอลิเวอร์ ครอมเวลล์

ขณะเดียวกันครอมเวลล์ก็ทิ้งจอร์จ มองค์ ดยุคแห่งอาลเบอมาร์ลที่ 1 กับกองกำลังที่มีสมรรถภาพด้อยที่สุดไว้ต่อสู้ต่อไปในสกอตแลนด์ ส่วนครอมเวลล์เดินทางไปถึงแม่น้ำไทน์ (river Tyne) ภายในเจ็ดวันซึ่งเป็นระยะทางราว 20 ไมล์ต่อวันในสภาวะอากาศที่ร้อนเต็มที่ของเดือนสิงหาคม กองทหารเข้าเฟอร์รีบริดจ์ (Ferrybridge) เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม ขณะที่แลมเบิร์ต, แฮร์ริสันและกองกำลังจากตะวันตกเฉียงเหนือไปถึงคองเกิลตัน (Congleton) และดูเหมือนว่ายุทธการใหญ่จะเกิดขึ้นในบริเวณระหว่างลิชฟีลด์กับคอเวนทรี ในวันที่หรือหลังจากวันที่25 สิงหาคม โดยมีทั้งครอมเวลล์, แลมเบิร์ต, แฮร์ริสัน และฟลีตวุดเข้าร่วม แต่การคาดการณ์ก็ต้องมีอันเปลี่ยนแปลงเพราะการเคลื่อนย้ายของกองทัพฝ่ายตรงข้าม หลังจากออกจากวอร์ริงตันแล้วพระเจ้าชาลส์ทรงเปลี่ยนแผนการที่จะเดินทัพตรงไปลอนดอนเป็นการเดินทางไปทางหุบเขาเซเวิร์น (Severn) แทนที่ ซึ่งที่เป็นบริเวณที่พระราชบิดาทรงได้รับการสนับสนุนในสงครามครั้งแรกและเป็นศูนย์กลางของขบวนการของผู้สนับสนุนฝ่ายกษัตริย์ในปี ค.ศ. 1648 เซอร์เอดเวิร์ด แมสซีย์ (Edward Massey) ผู้เดิมเป็นข้าหลวงฝ่ายรัฐสภาของกลอสเตอร์หันมาเข้าข้างพระเจ้าชาลส์ นอกจากนั้นพระเจ้าชาลส์ก็ทรงหวังว่าจะได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มเพรสไบทีเรียนด้วยกันในการลุกขึ้นจับอาวุธต่อต้านฝ่ายรัฐสภา คุณภาพของทหารฝ่ายนิยมกษัตริย์ในบริเวณเวลส์มีความแข็งแกร่งพอที่ให้พระเจ้าชาลส์ที่ 2 ใช้เป็นกองกำลังสนับสนุนพระองค์ได้

พระเจ้าชาลส์ที่ 2

พระเจ้าชาลส์ที่ 2 เสด็จมาถึงวุร์สเตอร์เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม และทรงพักอยู่ที่นั่นห้าวันเพื่อเตรียมตัวและรวบรวมกำลังเพิ่มขึ้น แต่การพำนักอยู่ที่วุร์สเตอร์คงจะมิได้ทำให้ผลของยุทธการเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับการเดินทัพโดยตรงไปลอนดอน

ขณะที่เดินทัพลงใต้ทางฝ่ายครอมเวลล์ก็ส่งนายพันโรเบิร์ต ลิลเบิร์น (Robert Lilburne) ไปปราบปรามฝ่ายนิยมกษัตริย์ที่แลงคาสเชอร์ภายใต้การนำของเจมส์ สแตนลีย์ เอิร์ลที่ 7 แห่งดาร์บี (James Stanley, 7th Earl of Derby) ลิลเบิร์นก็ผลักดันให้กองทหารแลงคาสเชอร์เดินทางไปสมทบกับกองทัพฝ่ายกษัตริย์กองหลักที่ยุทธการวิกันเลน (Battle of Wigan Lane) เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม แต่เหตุการณ์นี้เพียงแต่ทำให้ครอมเวลล์ย้ายบริเวณการเดินทัพไปทางตะวันตกเฉียงใต้ไปยังอีฟชัม (Evesham) เช้าวันที่ 28 สิงหาคม แลมเบิร์ตจู่โจมกองที่เดินทางที่เซเวิร์นที่อัปตัน-อะพอน-เซเวิร์น (Upton-upon-Severn) 6 ไมล์จากวุร์สเตอร์ที่เป็นผลให้แมสซีย์บาดเจ็บสาหัส ขณะเดียวกันฟลีตวุดก็ติดตามแลมเบิร์ตลงมา กองทัพพระเจ้าชาลส์ขณะนั้นเหลือเพียง 16,000 คนซึ่งเป็นจำนวนเพียงครึ่งหนึ่งของกองกำลังฝ่ายครอมเวลล์

เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม ครอมเวลล์ถ่วงเวลาในการเริ่มยุทธการเพื่อสร้างสะพานพอนทูนสองสะพาน สะพานหนึ่งข้ามแม่น้ำเซเวิร์น (pontoon bridge) อีกสะพานหนึ่งข้ามแม่น้ำทีมใกล้ปากน้ำ การถ่วงเวลาทำให้ยุทธการล่าไปถึงวันที่ 3 กันยายน หนึ่งปีหลังพอดีจากวันที่ได้รับชัยชนะในยุทธการดันบาร์ของครอมเวลล์[1]

ใกล้เคียง

ยุทธการที่เดียนเบียนฟู ยุทธการที่มอสโก ยุทธการที่อิเหลง ยุทธการที่ฝรั่งเศส ยุทธการที่เซี่ยงไฮ้ ยุทธการที่สตาลินกราด ยุทธการที่เกตตีสเบิร์ก ยุทธการที่เทอร์มอพิลี ยุทธการที่โอกินาวะ ยุทธการที่บะดัร