ก่อนการรบ ของ ยุทธการที่เคียฟ_(ค.ศ._1941)

หลังจากการรุกอย่างรวดเร็วของกองทัพกลุ่มกลาง มุ่งไปสู่การทำลายส่วนกลางของ แนวรบด้านตะวันออก โดยโจมตีจุดยุทธศาสตร์สำคัญ ร่วมกับ กองทัพกลุ่มใต้ ในช่วงปลายเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1941 ทหารโซเวียตก็ถูกแบ่งออกเป็นสองส่วน จุดยุทธศาสตร์สำคัญเกือบทั้งหมดของกองพลตะวันตกเฉียงใต้ ในรอบเมืองเคียฟ [5][6] ซึ่งกำลังขาดแคลนยานเกราะและรถถัง

ในวันที่ 3 สิงหาคม ฮิตเลอร์ออกคำสั่งให้หยุดการรุกสู่มอสโกเป็นการชั่วคราวและสั่งให้เคลื่อนทัพลงใต้และโจมตีเคียฟในยูเครน[7] อย่างไรก็ตามในวันที่ 12 สิงหาคม ค.ศ. 1941 คำสั่งส่งกำลังเสริมครั้งที่ 34 ก็ถูกดำเนินการแต่ก็ถูกต่อต้านโดยนายทหารภาคสนามบางส่วน แต่ฮิตเลอร์ก็มีความมั่นใจและเชื่อว่าจะสามารถทำลายจุดยุทธศาสตร์สำคัญของทหารโซเวียตได้ในทางด้านปีกขวาของกองทัพกลุ่มกลาง ในแถบรอบเมืองเคียฟ ก่อนจะทำการรุกสู่มอสโก และมีจอมพลที่ต่อต้านคือฟรันซ์ ฮัลเดอร์, เฟดอร์ ฟอน บอค, ไฮนซ์ กูเดเรียน ว่าควรรุกสู่มอสโกต่อไปแต่ฮิตเลอร์ไม่ฟังและสั่งให้ กลุ่มพันเซอร์ที่สอง และ กลุ่มพันเซอร์ที่สาม ของกองทัพกลุ่มกลาง ได้ถูกปรับเปลี่ยนให้ได้รับคำสั่งช่วยเหลือกองทัพกลุ่มเหนือ และ กองทัพกลุ่มใต้ ตามลำดับก่อนที่จะกลับมาอยู่กองทัพกลุ่มกลางร่วมกับกลุ่มพันเซอร์ที่สี่ ของกองทัพกลุ่มเหนือ ครั้งหนึ่งจุดประสงค์ของแม่ทัพกองทัพกลุ่มกลางเคยประสบความสำเร็จในการที่มีกลุ่มพันเซอร์สามกลุ่มภายใต้การควบคุมของ กองทัพกลุ่มกลาง ในการรุกสู่มอสโก[8] ในขั้นต้น จอมพลฮัลเดอร์หัวหน้าของกองบัญชาการทหารสูงสุดของเยอรมัน ฝ่ายพนักงานทั่วไปและจอมพลบอค นายพลแห่งกองทัพกลุ่มกลาง เกิดความพึงพอใจในแผนการนี้แต่ก็ถูกต่อต้านเมื่อนำไปเทียบกับความเป็นจริง[9]

ในวนที่ 18 สิงหาคม กองบัญชาการทหารสูงสุดเยอรมัน ส่งจดหมายการพิจารณาเกี่ยวกับจุดยุทธศาสตร์ถึงฮิตเลอร์ เกี่ยวกับปฏิบัติการในปฏิบัติการบาร์บารอสซา ในกระดาษเขียนเกี่ยวกับเรื่องการรุกสู่มอสโกและการโต้เถียงเกี่ยวกับว่าการที่กองทัพกลุ่มเหนือและกองทัพกลุ่มใต้มีความแข็งแกร่งพอที่จะบรรลุเป้าหมายหรือไม่ การที่กองทัพกลุ่มกลางขาดการสนับสนุน และ การชี้ถึงเวลาว่าจะสามารถยึดมอสโกได้อย่างเด็ดขาดในช่วงก่อนฤดูหนาวหรือไม่[9]

วันที่ 20 สิงหาคม ฮิตเลอร์ปฏิเสธแผนการทำลายเขตอุตสาหกรรมที่สำคัญของโซเวียต ในวันที่ 21 สิงหาคม อัลเฟรด โยเดิล แห่ง กองบัญชาการกองทัพบกเยอรมัน ได้ออกคำสั่งของฮิตเลอร์ถึงจอมพล วัลเทอร์ ฟอน เบราชิทช์ ผู้บัญชาการกองทัพบก คำสั่งนั้นย่ำว่าต้องยึดมอสโกให้ได้ก่อนฤดูหนาวเท่านั้นและเป็นคำสั่งที่ค่อนข้างสำคัญมากก่อนจะนำทัพไปยึดคาบสมุทรไครเมีย กับแหล่งอุตสาหกรรมและถ่านหินในแถบลุ่มแม่น้ำแม่น้ำดอน ก่อนจะแยกกำลังไปยึดแหล่งน้ำมันในคอเคซัส ก่อนจะค่อยยึดส่วนที่เหลือของสหภาพโซเวียตต่อไปและทางด้านเหนือก็โอบล้อมเลนินกราด และเชื่อมกับทหารฟินแลนด์ส่วนอุตสาหกรรมอื่นๆจะเป็นหน้าที่ของกองทัพกลุ่มกลาง คือ การจัดสรรทรัพยากรกับทำลายกองพลรัสเซียที่ 5 และป้องกันการโต้กลับของโซเวียตในแถบภาคกลาง[10] [11] ฟรานซ์ ฮอลเดอร์ ถึงกับตกตะลึงและไปอธิบายกับฮิตเลอร์ในภายหลังว่า"มันเพ้อฝันเกินไปและมันเป็นไปไม่ได้"แต่คำสั่งก็ถูกสั่งการออกไปและฮิตเลอร์เป็นคนเดียวที่ต้องรับความผิดชอบในคำสั่งนี้และทำให้เกิดความขัดแย้งภายในมากขึ้นและมันก็เป็นการสะท้อนในเจตนาของฮิตเลอร์ปฏิบัติการบาร์บารอสซา ที่กองบัญชาการทหารสูงสุดเยอรมัน ตระหนักมาตลอด[12] เจอฮาร์ด เอนเจิล ในไดอารี่ของเขาลงวันที่ 21 สิงหาคม ค.ศ. 1941"มันเป็นวันที่เลวร้ายที่สุดของกองทัพบก".[13] ฮอลเดอร์ประกาศลาออกและให้คำแนะนำแก่เบราชิทช์ แต่อย่างไรก็ตามแก่เบราชิทช์ก็ปฏิเสธและฮิตเลอร์ก็นิ่งเฉยต่อการกระทำของเขาจนในที่สุดฮอลเดอร์ก็ถอนใบลาออก [12]

ในวันที่ 23 สิงหาคม ฟรานซ์ ฮอลเดอร์ เรียกประชุมกับจอมพลบอค และจอมพลกูเดเรียนใน บารีซอฟ (ใน สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตเบียโลรัสเซีย) และหลังจากการไปพบฮิตเลอร์ที่ฐานทัพในปรัสเซียตะวันออกกับจอมพลกูเดเรียนและระหว่างการพบ ฮิตเลอร์ และ กูเดเรียน[14] และต่อต้านข้อเสนอของฟรานซ์ ฮอลเดอร์ และ วัลเทอร์ ฟอน เบราชิทช์ และกูเดเรียนได้รับอนุญาตจากฮิตเลอร์ให้นำทัพในการรุกสู่มอสโก และปฏิเสธการต่อต้าน ฮิตเลอร์อ้างว่าการตัดสินใจของตนจะทำให้ภาคเหนือ (รัฐบอลติก) กับ ภาคใต้ (ยูเครน) ในโซเวียตตะวันตก และยังพูดว่า "การยึดมอสโก มีความสำคัญมากกว่าปัญหาอื่นๆ" และยังพูดอีกว่า "มันไม่ใช่ปัญหาใหม่เลยแต่ความเป็นจริงมันบอกว่ามันมีโอกาสตั้งแต่เราเริ่ม (ปฏิบัติการบาร์บารอสซา) แล้ว" นอกจากนี้ยังมีการโต้แย้งว่าตอนนี้อยู่ในสภาวะขั้นวิกฤตเพราะโอกาสในการโอบล้อมทหารโซเวียตในจุดยุทธศาสตร์แทบเรียกว่า"เป็นเพียงแค่ความไม่คาดฝันเท่านั้น และมันเป็นการบรรเทาจากถูกทหารโซเวียตถ่วงเวลาในภาคใต้เท่านั้น"[12] ฮิตเลอร์ประกาศว่า "คัดค้านในการที่เสียเวลาไปทำลายทหารโซเวียตทางยูเครน จนทำให้การรุกสู่มอสโกล่าช้าหรือการที่ยานเกราะขาดการสนับสนุนตามเทคนิคสามารถส่งไปได้แต่ไม่สมบูรณ์" ฮิตเลอร์ ย้ำว่าครั้งหนึ่งปีกของกองทัพกลุ่มกลางทำลายจุดยุทธศาสตร์สำคัญโดยเฉพาะทางภาคใต้และได้รับอนุญาตให้กลับไปนำการรุกสู่มอสโกและการรุกครั้งนี้สรุปโดยความว่า"ต้องไม่พลาด"[13] ในความเป็นจริงฮิตเลอร์เตรียมออกคำสั่งย้ายกลุ่มพันเซอร์ของจอมพลกูเดเรียนไปทางภาคใต้[15] กูเดเรียนกลับไปยังกลุ่มพันเซอร์ของเขากลุ่มพันเซอร์ที่สอง และเริ่มการรุกสู่ภาคใต้และเริ่มความพยายามในการปิดล้อมจุดยุทธศาสตร์สำคัญของโซเวียต[12]

กองทัพส่วนใหญ่ของ กลุ่มพันเซอร์ที่สอง และ กองพลที่สอง ถูกโดดเดี่ยวจากกลุ่มกองทัพกลางและถูกส่งไปยังแนวรบด้านใต้[16] และภารกิจในการโอบล้อมIts mission was to encircle the กองพลตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งถูกควบคุมโดยบูดิออนนืยและเชื่อมต่อกับกลุ่มพันเซอร์ที่หนึ่ง แห่ง กองทัพกลุ่มใต้ ภายใต้การควบคุมของนายพลฟอน ไคลสท์ ที่เคลื่อนพลมาจากทางด้านตะวันออกเฉียงใต้[17]

ใกล้เคียง

ยุทธการที่เดียนเบียนฟู ยุทธการที่มอสโก ยุทธการที่อิเหลง ยุทธการที่ฝรั่งเศส ยุทธการที่เซี่ยงไฮ้ ยุทธการที่สตาลินกราด ยุทธการที่เกตตีสเบิร์ก ยุทธการที่เทอร์มอพิลี ยุทธการที่โอกินาวะ ยุทธการที่บะดัร