บทนำ ของ ยุทธนาวีที่ช่องแคบสึชิมะ

จักรวรรดิรัสเซียที่ต้องทำสงครามกับญี่ปุ่นอยู่แรมปี และตลอดมารัฐบาลแห่งพระเจ้าซาร์ที่กรุงมอสโก ต้องคอยรับแต่ข่าวการรบที่ฝ่ายตนเองเป็นฝ่ายเพลี่ยงพล้ำอยู่เสมอๆ ในที่สุด ตุลาคม ค.ศ. 1904 จักรพรรดิซาร์นีโคลัสที่ 2 แห่งรัสเซีย จึงส่งกองเรือบอลติกที่ประจำอยู่ที่ยุโรปมาสนับสนุนกองเรือตะวันออก กองเรือบอลติก (หรือ กองเรือแปซิฟิกที่ 2) อยู่ภายใต้การบัญชาการของ พลเรือตรี โรซเดสท์เวนสกี

ด้วยระยะทางกว่า 18,000 ไมล์ ทำให้กองเรือรัสเซีย อยู่ในสภาพที่อ่อนด้อยเกินกว่าจะต่อสู้ และกองเรือบอลติกนั้น มีเพียงเรือรบใหม่ ชั้น บอร์โอดิโน (Borodino) อยู่เพียงแค่ 4 ลำ ในขณะที่เรือรบที่เหลือทั้งหมดเป็นเรือที่มีการบำรุงรักษาไม่ดีพอ การเดินทางที่ยาวนาน ตลอดจนขาดการบำรุงรักษา ทำให้กองเรือรัสเซียพบกับปัญหามากมาย ซึ่งส่งผลให้เรือรบรัสเซียไม่สามารถแล่นได้อย่างเต็มความเร็ว ในขณะที่เรือรบของญี่ปุ่น สามารถแล่นได้ถึงความเร็วที่ 15 น็อต (28 กิโลเมตร/ชั่วโมง) ในขณะที่กองเรือรัสเซีย สามารถทำความเร็วได้สูงสุด 14 น็อต (26 กิโลเมตร/ชั่วโมง) เป็นช่วงเวลาสั้น ๆ

  • เส้นทางการเดินเรือของกองเรือบอลติก
  • แผนที่แสดงถึงเส้นทางของทั้งสองกองเรือ

ใกล้เคียง

ยุทธนาวีเกาะช้าง ยุทธนา เปื้องกลาง ยุทธนา ลอพันธุ์ไพบูลย์ ยุทธนา บุญอ้อม ยุทธนาวีที่อ่าวเลย์เต ยุทธนาวีที่มิดเวย์ ยุทธนาวีที่ซาลามิส ยุทธนาวีที่ทะเลชวา ยุทธนา มุกดาสนิท ยุทธนาวีที่ช่องแคบสึชิมะ