เหตุการณ์ ของ ยุทธนาวีที่ช่องแคบสึชิมะ

ด้วยสภาพของกองเรือที่ย่ำแย่และไม่พร้อมออกรบ พลเรือตรี โรซเดสท์เวนสกี ต้องการที่จะนำกองเรือเข้าเทียบท่าที่ฐานทัพเรือในวลาดีวอสตอค ให้เร็วที่สุด จึงตัดสินใจเลือกเดินเรือผ่านช่องแคบสึชิมะที่ใกล้กว่า แต่ก็มีความอันตรายกว่า ในคืนวันที่ 26 พฤษภาคม 1905 กองเรือบอลติกได้อาศัยช่วงเวลากลางคืนเคลื่อนพลผ่านช่องแคบสึชิมะ คืนนั้นเป็นคืนที่หมอกลงซึ่งเอื้อต่อการพรางตัวของกองเรือรัสเซีย แต่เวลา 02:45 น. เรือลาดตระเวน ชินาโนมารุ ขนาด 6,300 ตันของญี่ปุ่นตรวจพบดวงไฟสามดวงในแนวระนาบ จึงได้เข้าไปใกล้เพื่อตรวจสอบ แล้วก็พบว่าเป็นเรือพยาบาลโอเร ของรัสเซีย ซึ่งสามารถแล่นผ่านไปได้ตามกฎหมายสงคราม เรือชินะโนะมะรุตามติดอยู่ห่างๆโดยไม่ให้เรือพยาบาลรับรู้ จนกระทั่งเมื่อเวลา 04:30 เรือชินาโนมารุก็แสดงตนเข้าหาเรือพยาบาล เมื่อเรือโอเรเห็นเรือชินาโนมารุ ก็เข้าใจผิดว่านั่นคือเรือรบลำอื่นของรัสเซีย จึงส่งสัญญาณเพื่อยืนยันไปยังเรือชินะโนะมะรุ ทำให้ทราบว่ามีเรือลำอื่นของรัสเซียอยู่ใกล้ๆ เรือชินะโนะมะรุรีบส่องไฟดูโดยรอบและพบเงาเรือรัสเซียนับสิบลำในสายหมอก เรือชินาโนมารุจึงรีบวิทยุแจ้งไปยังพลเรือเอกโทโงในเวลา 04:55 น. ว่าพบกองเรือรัสเซีย โอกาสของกองเรือรัสเซียที่จะไปถึงวลาดีวอสตอคจึงมลายหายไปในทันใด

ก่อนปะทะ

เวลา 06:34 น. ก่อนที่กองเรือผสมของพลเรือเอกโทโงจะออกจากฐานทัพ นายพลโทโงได้ส่งโทรเลขแจ้งไปยังเสนาบดีกองทัพเรือที่กรุงโตเกียวว่า

ตามที่ได้มีการแจ้งเตือนการตรวจพบกองเรือข้าศึกแล้วนั้น บัดนี้ กองเรือผสมจะเริ่มปฏิบัติการ โจมตีและทำลายเป้าหมายในทันที วันนี้สภาพอากาศดีแต่มีคลื่นสูง[2]

ประโยคสุดท้ายของโทรเลข "...วันนี้สภาพอากาศดีแต่มีคลื่นสูง" เป็นการเปรยถ่ายทอดความรู้สึกของนายพลโทโง ที่ว่า ผลการรบในวันนี้คงจะเป็นที่ยินดี แต่ถึงอย่างไร การออกรบย่อมมีความเสี่ยง

ในขณะที่ที่นายพลโทโงกับเรือธง มิกาซะ ของเขา กำลังนำกองเรือแห่งองค์จักรพรรดิออกสู่ทะเลเพื่อเผชิญหน้ากองเรือรัสเซีย ขณะเดียวกัน กองเรือลาดตระเวนญี่ปุ่นที่สอดแนมอยู่ ได้รายงานสถานการณ์ทางวิทยุแทบจะทุกนาที ถึงการวางตำแหน่งเรือและข้อมูลต่างๆของกองเรือรัสเซีย ขณะนั้นมีมีหมอกลงทำให้ทัศนวิสัยในการมองเห็นลดลง มีผลต่อการส่งสัญญาณธงและสัญญาณไฟสื่อสารระหว่างเรือเป็นไปอย่างลำบากขึ้น กองเรือญี่ปุ่นที่มีระบบวิทยุในการสื่อสาร จึงมีความได้เปรียบในเรื่องนี้ ตามบันทึกของพลเรือเอกโทโงที่ว่า

ธงสัญญาณ Z

แม้ว่าจะมีหมอกหนาปกคลุมท้องทะเลซึ่งทำให้ไม่สามารถมองเห็นสิ่งใดเกินกว่าห้าไมล์ แต่เราก็ทราบถึงสภาวะทั้งหมดของกองเรือศัตรูที่อยู่ห่างออกไป 30 หรือ 40 ไมล์อย่างชัดเจนแล้ว ประหนึ่งว่าพวกเขากำลังถูกเราจับจ้องด้วยสายตามากมาย[3]

เวลา 13:40 น. กองเรือทั้งสองสามารถมองเห็นกันและกัน และต่อมา เวลา 13:55 น. นายพลโทโงได้สั่งให้แปรธง Z ขึ้น เพื่อประกาศแก่กองเรือทั้งหมดว่า:

ชะตากรรมของจักรวรรดิเรา ขึ้นอยู่กับผลลัพธ์ของศึกครั้งนี้ ขอให้ทหารทุกนายปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ถึงที่สุด[4]

เวลา 14:45 น. นายพลโทโง ได้กระทำการ ตัดกระบวนเรือรูปตัว T กับกองเรือรัสเซีย เพื่อที่กองเรือญี่ปุ่นจะได้สามารถโจมตีด้วยหมู่ปืนรองจากด้านข้างที่มีจำนวนมากกว่า ในขณะที่เรือรัสเซียจะสามารถตอบโต้จากปืนหลักไม่กี่กระบอกที่อยู่หน้าเรือได้เท่านั้น

ใกล้เคียง

ยุทธนาวีเกาะช้าง ยุทธนา เปื้องกลาง ยุทธนา ลอพันธุ์ไพบูลย์ ยุทธนา บุญอ้อม ยุทธนาวีที่อ่าวเลย์เต ยุทธนาวีที่มิดเวย์ ยุทธนาวีที่ซาลามิส ยุทธนาวีที่ทะเลชวา ยุทธนา มุกดาสนิท ยุทธนาวีที่ช่องแคบสึชิมะ