เบื้องหลัง ของ ยุทธนาวีริโอเดลาปลาตา

ก่อนเริ่มสงครามโลกครั้งที่สอง เมื่อวันที่ 3 กันยายน 1939 เยอรมันได้ส่งเรือ Pocket Battle Ship 2 ลำ ได้แก่ เรือด็อยทช์ลันท์ และ เรือแอดมิรัลกราฟชเป ไปคอยอยู่ในมหาสมุทรแอตแลนติกตอนเหนือและใต้ เพื่อเตรียมการรังควานเรือสินค้าของฝ่ายสัมพันธมิตร

เรือกราฟชเปในการบังคับบัญชาของ น.อ.แลงสดอร์ฟ ได้ออกจากเยอรมนีตั้งแต่ 21 สิงหาคม1939 และไปคอยอยู่ในบรเวณภาคใต้ของมหาสมุทรแอตแลนติก เรือกราฟชเปไม่ได้เริ่มทำลายเรือสินค้าของสัมพันธมิตรทันทีที่เกิดสงคราม เพราะฮิตเลอร์หวังว่า หลังจากที่เยอรมนีพิชิตโปแลนด์แล้ว อังกฤษกับฝรั่งเศสจะเจรจาสงบศึก แต่เมื่อเหตุการณ์ไม่ได้เป็นไปอย่างที่หวัง ฮิตเลอร์จึงสั่งให้เริ่มทำลายเรือสินค้าได้

เรือกราฟชเปได้เริ่มจับและทำลายเรือสินค้าตั้งแต่วันที่ 30 กันยายน 1939 และได้เปลี่ยนพื้นที่ปฏิบัติการ เพื่อให้อังกฤษติดตามได้ยาก และต้องกระจายกำลังค้นหา บางครั้ง เรือกราฟชเปออกมาปฏิบัติการจนถึงมหาสมุทรอินเดีย นับถึงเดือนธันวาคม 1939 เรือกราฟชเปจับและจมเรือสินค้า 9 ลำ รวมระวางขับน้ำ 50,000 ตัน ในระหว่างปฏิบัติการ เรือกราฟชเปได้รับการส่งกำลังบำรุงจากเรือลำเลียง อัลมาร์ค ที่ติดตามไปด้วย

กว่าอังกฤษจะทราบข่าวว่า มีเรือของเยอรมันออกปฏิบัติการรังควานเรือสินค้าในมหาสุมทรแอตแลนติก ก็ภายหลังจากที่ลูกเรือสินค้าที่ถูกเรือกราฟชเปจับและได้ปล่อยไปกับเรือชาติเป็นกลางไปแจ้งข่าว แต่อังกฤษก็ไม่แน่ใจว่าเป็นเรือลาดตระเวณหนักหรือเรือประจัญบานกระเป๋า แต่ภายหลังอังกฤษก็แน่ใจว่าเป็นเรือประจัญบานประเป๋าทั้ง 2 ลำ ดังนั้น อังกฤษและฝรั่งเศสจึงได้ส่งหน่วยเรือออกค้นหาและทำลายเรือเยอรมัน จำนวน 7 หมู่เรือ นอกจากนี้อังกฤษยังได้จัดเรือประจัญบานและเรือลาดตระเวนให้การคุ้มกันคอนวอยที่เดินทางระหว่างสหรัฐอเมริกา – อังกฤษอีกด้วย รวมทั้งยังคอยสกัดจับเรือสินค้าเยอรมัน ซึ่งจอดหลบอยู่ตามเมืองท่าประเทศเป็นกลางในทวีปอเมริการใต้ ที่พยายามหลบออกทะเลเพื่อหนีกลับเยอรมันหรือออกไปส่งกำลังบำรุงให้เรือรังควานในทะเล

ใกล้เคียง

ยุทธนาวีเกาะช้าง ยุทธนา เปื้องกลาง ยุทธนา ลอพันธุ์ไพบูลย์ ยุทธนา บุญอ้อม ยุทธนาวีที่อ่าวเลย์เต ยุทธนาวีที่มิดเวย์ ยุทธนาวีที่ซาลามิส ยุทธนาวีที่ทะเลชวา ยุทธนา มุกดาสนิท ยุทธนาวีที่ช่องแคบสึชิมะ