นิยาม ของ ยูเนียน

สมมติให้วงกลมสองวงเป็นเซต A กับ B พื้นที่สีม่วงคือการยูเนียนของเซตทั้งสอง

สมมติว่าเอกภพสัมพัทธ์ U ได้นิยามแล้ว กำหนดให้เซตสองเซต A และ B เป็นเซตย่อยของ U การยูเนียนจะให้ผลเป็นเซตใหม่ที่มีสมาชิกทั้งหมดที่ปรากฏอยู่ใน A หรือ B โดยไม่มีสมาชิกอื่นนอกเหนือจากนี้ นั่นคือ

A ∪ B = { x ∈ U | x ∈ A ∨ x ∈ B } {\displaystyle A\cup B=\{x\in \mathbf {U} \,|\,x\in A\lor x\in B\}}

หากทั้งสองเซตมีสมาชิกที่แตกต่างกัน นั่นคือสมาชิกของเซต A จะไม่ปรากฏในเซต B และในทางกลับกันด้วย ผลที่ได้จากการยูเนียนจะเป็นการนำสมาชิกทั้งหมดจากทั้งสองเซตมาใส่รวมกันทันที ตัวอย่างเช่น

A = { 1 , 2 , 3 , 4 } B = { 5 , 6 , 7 , 8 } A ∪ B = { 1 , 2 , 3 , 4 , 5 , 6 , 7 , 8 } {\displaystyle {\begin{aligned}A&=\{1,2,3,4\}\\B&=\{5,6,7,8\}\\A\cup B&=\{1,2,3,4,5,6,7,8\}\\\end{aligned}}}

ในกรณีที่ทั้งสองเซตมีสมาชิกบางส่วนซ้ำกัน การรวมสมาชิกจะไม่ส่งผลต่อภาวะเชิงการนับ (cardinality) ของเซต เนื่องจากสมาชิกตัวที่ซ้ำกันก็เสมือนมีอยู่เพียงตัวเดียวในเซต เช่นตัวอย่างนี้

A = { 1 , 2 , 3 } B = { 2 , 3 , 4 } A ∪ B = { 1 , 2 , 3 , 4 } {\displaystyle {\begin{aligned}A&=\{1,2,3\}\\B&=\{2,3,4\}\\A\cup B&=\{1,2,3,4\}\\\end{aligned}}}