รถจักรไอน้ำโมกุล_C56
รถจักรไอน้ำโมกุล_C56

รถจักรไอน้ำโมกุล_C56

รถจักรไอน้ำโมกุล C56 หรือ รถจักรไอน้ำ C56 (JNR Class C56) (ญี่ปุ่น: C56形) ส่วนใหญ่จะเรียกว่า รถจักรไอน้ำ C56 เป็นรถจักรไอน้ำที่สร้างขื้นในประเทศญี่ปุ่น สร้างโดยสมาคมอุตสาหกรรมรถไฟแห่งประเทศญี่ปุ่น นำมาใช้การครั้งแรกของ ประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2489[1] จุดประสงค์หลักของรถจักรไอน้ำในระยะแรกจะใช้โดยกองทัพญี่ปุ่นในเส้นทางทางรถไฟสายมรณะไปสู่ประเทศพม่า ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สองปัจจุบัน รถจักรไอน้ำโมกุล C56 ที่ผ่านการใช้งานในประเทศไทยคงเหลืออยู่ 11 คัน และคงเหลือล้อขับ 1 คู่ และในประเทศพม่าคงเหลืออยู่ 1 คัน แบ่งได้ดังนี้จอดเป็นอนุสรณ์ในประเทศไทย อยู่ 7 คัน คือหมายเลข 702 (C56-4) , 714 (C56-16) , 719 (C56-23) , 728 (C56-36) , 733 (C56-41) , 738 (C56-47) และ 744 (C56-53) จอดเป็นอนุสรณ์ในประเทศพม่า อยู่ 1 คัน หมายเลขของการรถไฟพม่าคือ C.0522 (C56-56) จัดแสดงล้อขับในประเทศญี่ปุ่น อยู่ 1 คู่ ของหมายเลข 722 (C56-26) [2]จอดเป็นอนุสรณ์ในประเทศญี่ปุ่น อยู่ 1 คัน คือหมายเลข 725 (C56-31) ใช้การในประเทศญี่ปุ่น อยู่ 1 คันคือหมายเลข 735 (C56-44) ใช้การในประเทศไทยโดย ร.ฟ.ท. อยู่ 2 คันคือหมายเลข 713 (C56-15) และ หมายเลข 715 (C56-17) ซึ่ง 2 คันนี้ ได้รับการบูรณะพร้อมๆกับรถจักรไอน้ำมิกาโดะ DX50 หมายเลข 953 และ 962 รถจักรไอน้ำแปซิฟิค CX50 หมายเลข 824 และ 850 ในต้นปี พ.ศ. 2529 ซึ่งรถจักรไอน้ำโมกุล C56 ทั้ง 2 คันนี้ยังคงใช้ฟืนเป็นเชื้อเพลิง และเคยทำการเดินขบวนเสด็จ หมายกำหนดการสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จะเสด็จไปยังปราสาทเมืองสิงห์ จังหวัดกาญจนบุรี ในปี พ.ศ. 2529 รวมถึงทำขบวนรถจักรไอน้ำพิเศษนำเที่ยวเป็นเวลาหลายปี ในปัจจุบันรถจักรไอน้ำโมกุล C56 ทั้ง 2 คันนี้ใช้ไม้หมอนรองรางรถไฟเก่ามาตัดเป็นท่อนๆในการใช้เป็นเชื้อเพลิง และจะใช้ในงานสัปดาห์สะพานข้ามแม่น้ำแคว จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งจะจัดงานในช่วงปลายเดือนพฤศจิกายนถึงต้นเดือนธันวาคมของทุกปี

รถจักรไอน้ำโมกุล_C56

ระบบห้องขับ มี 1 ห้องขับ,ฝั่ง
น้ำหนัก จอดนิ่ง 34.27 ตัน
ทำงาน 37.63 ตัน
กดเพลา 10.61 ตัน
จำนวนคันทั้งหมด 46 คัน
ผู้สร้าง สมาคมอุตสาหกรรมรถไฟแห่งประเทศญี่ปุ่น, ประเทศญี่ปุ่น
เริ่มใช้งาน พ.ศ. 2489
ความเร็วสูงสุด 75 กม./ชม.
ความจุ 10.02 มลบ.
หมายเลข 701-746
การจัดวางล้อ 2-6-0 (โมกุล)
จำนวนคันที่ถูกตัดบัญชี 44 คัน
พิกัดตัวรถ กว้าง 2,936 มม.
สูง 3,900 มม.
ยาว 14,325 มม.
ชื่อทางการ รถจักรไอน้ำแห่งการรถไฟแห่งประเทศญี่ปุ่น ชั้น C56
แรงม้า 592 แรงม้า
จำนวนคันที่คงเหลือใช้งาน 2 คัน
ชนิด รถจักรไอน้ำ
ระบบห้ามล้อ ลมอัด
จำนวนคันที่ปรับปรุง 2 คัน
ใช้งานใน ประเทศไทย โดย การรถไฟแห่งประเทศไทย และ ประเทศญี่ปุ่น โดย การรถไฟแห่งประเทศญี่ปุ่น
รวมระยะเวลาใช้งานทั้งหมด 74 ปี

ใกล้เคียง

รถจักรดีเซล DD51 รถจักรไอน้ำ รถจักร รถจักรดีเซลในประเทศไทย รถจักรยาน รถจักรไอน้ำ C56 รถจักรไอน้ำญี่ปุ่น มิกาโด รถจักรไอน้ำญี่ปุ่นแปซิฟิค ซีเอ็กซ์ 50 รถจักรยานยนต์ตำรวจ รถจักรยานยนต์