รายละเอียดปลีกย่อย ของ รถไฟฟ้ามหานคร_สายฉลองรัชธรรม

ที่นั่งภายในขบวนรถไฟฟ้า
  • ระบบรถไฟฟ้า เป็นระบบรถไฟฟ้าขนาดหนัก (heavy rail transit) [7] ใช้ระบบรถไฟฟ้าที่ผลิตจากประเทศญี่ปุ่น ซึ่งทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพได้เซ็นต์สัญญาว่าจ้าง มารุเบนิ และ โตชิบา เป็นผู้รับผิดชอบในการจัดหาขบวนรถไฟฟ้า โดยได้ทำการผลิตจากโรงงาน J-TREC [8] โดยสัญญาดังกล่าวเป็นการสั่งซื้อรถไฟฟ้า 63 ตู้ 21 ขบวน (ต่อพ่วง 3 ตู้ - 1 ขบวนและสามารถเพิ่มได้สูงสุด 6 ตู้ - 1 ขบวนในอนาคต)[9] โดยมีความจุประมาณ 320 คนต่อตู้[10] สามารถรองรับผู้โดยสารได้ไม่น้อยกว่า 50,000 คนต่อชั่วโมงต่อทิศทาง[7]
  • ขนาดราง 1.435 เมตร (European standard guage) โดยมีรางที่ 3 ขนานไปกับรางวิ่งสำหรับจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับตัวรถ[7]
  • โครงสร้างทางวิ่ง เป็นแบบยกระดับ สูงประมาณ 17-19 เมตรจากผิวถนน เพื่อให้สามารถข้ามผ่านสะพานลอยคนข้ามถนน, สะพานลอยรถยนต์ และสะพานลอยกลับรถได้ มีตอม่ออยู่กลางถนน ระยะห่างตอม่อสูงสุด 40 เมตร เพื่อลดผลกระทบต่อการจราจรทั้งในระหว่างก่อสร้างและเมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จ ตอม่อมีลักษณะโปร่งบาง, สวยงาม, ไม่เทอะทะ และไม่ปิดบังอาคารบริเวณริมถนน[10]
  • ศูนย์ซ่อมบำรุงและศูนย์ควบคุมการเดินรถ บริเวณต้นทางสถานีคลองบางไผ่[7]

รูปแบบสถานี

ชั้นชานชาลาของสถานีคลองบางไผ่

สถานีรถไฟฟ้าในโครงการฯ ได้รับการออกแบบตามมาตรฐาน NFPA 101 และ NFPA 130 ที่เน้นในเรื่องความปลอดภัยในชีวิตทรัพย์สิน ความสะดวกสบายของผู้โดยสาร ผู้สัญจรไปมา ผู้อยู่อาศัยบริเวณสถานี รวมถึงการคำนึงถึงสภาพแวดล้อมของพื้นที่นั้นๆ พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ไว้คอยให้บริการ อาทิ ลิฟต์, บันไดเลื่อน และสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการ โดยเป็นสถานียกระดับ ยาวประมาณ 250 เมตร กว้าง 18 เมตร รูปแบบชานชาลากลาง การจัดพื้นที่ของสถานีประกอบด้วย[7]

  • ระดับถนน เป็นทางขึ้น-ลงสถานีจากทางเท้าทั้ง 2 ฝั่งถนน ที่ไม่กีดขวางการสัญจรของคนเดินเท้า และมีพื้นที่เพียงพอสำหรับพักคอย สามารถกันแดดกันฝนได้ และมีระบบป้องกันน้ำท่วม ผู้โดยสารสามารถเชื่อมต่อกับระบบขนส่งมวลชนอื่นระดับผิวถนนได้อย่างคล่องตัว
  • ชั้นออกตั๋วโดยสาร (concourse) เป็นชั้นบริการผู้โดยสาร มีลักษณะแบบเปิดโล่ง ประกอบด้วยตู้ขายตั๋วและเครื่องตรวจตั๋วอัตโนมัติ ผู้โดยสารสามารถใช้เป็นสะพานลอยข้ามถนนได้ และบางสถานียังสามารถเชื่อมต่อไปยังอาคารข้างเคียงหรืออาคารจอดรถของโครงการได้อีกด้วย
  • ชั้นชานชาลา เป็นชั้นสำหรับรถไฟฟ้าจอดรับ-ส่งผู้โดยสาร มีพื้นที่กว้างขวาง แบ่งตอนกลางเป็นช่องระบายอากาศเปิดโล่ง 2 ช่อง มีประตูกั้นชานชาลา (platform screen door) ที่สูงขึ้นมาจากพื้นระดับหนึ่ง (half height) มีบันไดสำหรับผู้โดยสารขึ้น-ลงที่ปลายชานชาลาทั้งสองด้าน และมีบันไดสำหรับหนีภัยในกรณีฉุกเฉิน

ใกล้เคียง

รถไฟฟ้าบีทีเอส รถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท รถไฟฟ้ามหานคร สายสีชมพู รถไฟฟ้ามหานคร สายสีเหลือง รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ รถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม รถไฟฟ้าในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล รถไฟฟ้า มาหานะเธอ

แหล่งที่มา

WikiPedia: รถไฟฟ้ามหานคร_สายฉลองรัชธรรม http://www.bkkmrtmasterplan.com http://www.fs-yellow-brown-pink.com/pink.htm http://www.mrta-purpleline.com/ http://www.railjournal.com/index.php/asia/bangkok-... http://www.ryt9.com/s/prg/1804702%7C http://www.skyscrapercity.com/showthread.php?t=113... http://www.skyscrapercity.com/showthread.php?t=113... http://www.skyscrapercity.com/showthread.php?t=234... http://www.thannews.th.com/detialnews.php?id=R3323... http://www.visitorstothailand.com/map-bkk-mrt-blue...