ส่วนต่อขยาย ของ รถไฟฟ้ามหานคร_สายฉลองรัชธรรม

โครงการส่วนใต้ (เตาปูน-ราษฎร์บูรณะ-ครุใน) (อยู่ระหว่างเวนคืนที่ดิน)

โครงการช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ-ครุใน เป็นเส้นทางรถไฟฟ้าที่เกิดขึ้นจากการปรับแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางราง พ.ศ. 2538 มาสู่แผนแม่บทฯ พ.ศ. 2547 โดยแก้ไขแนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีส้มเดิม (บางกะปิ-สามเสน-ราษฎร์บูรณะ) ช่วงสามเสน (หอสมุดแห่งชาติ)-ราษฎร์บูรณะ และแนวเส้นทางสายสีม่วงเดิม (หอสมุดแห่งชาติ-เตาปูน-บางพูด) ช่วงเตาปูน-หอสมุดแห่งชาติ นำมารวมกันเป็นเส้นทางสายสีม่วงที่เกิดขึ้นใหม่ และไปเชื่อมต่อกับเส้นทางสายสีม่วงส่วนแรกในช่วงบางใหญ่-เตาปูน

แนวเส้นทาง

เส้นทางส่วนใหญ่เป็นโครงสร้างอุโมงค์ใต้ดินผสมผสานกับโครงสร้างยกระดับ เริ่มต้นจากโครงสร้างยกระดับของสถานีเตาปูนที่แยกเตาปูนตามแนวถนนกรุงเทพฯ-นนทบุรี ซึ่งเป็นจุดสิ้นสุดเส้นทางช่วงเตาปูน-บางใหญ่ และเป็นจุดเชื่อมต่อรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ส่วนต่อขยายบางซื่อ-ท่าพระ จากนั้นมุ่งหน้าลงมาทางทิศใต้โดยลดระดับลงมาใต้ดิน แล้วเบี่ยงไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้เข้าใกล้แนวถนนประชาราษฎร์ สาย 1 เข้าสู่แนวถนนสามเสนที่แยกเกียกกาย ลงมาทางทิศใต้ ผ่านแยกบางกระบือ, แยกศรีย่าน เชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงอ่อน โครงข่ายในเมือง ช่วงบางบำหรุ-มักกะสันที่สถานีสามเสน, (แยกซังฮี้) ผ่านหอสมุดแห่งชาติ, แยกเทเวศร์, แยกบางขุนพรหม เลี้ยวซ้ายที่แยกบางลำพูเข้าสู่ถนนพระสุเมรุ เลียบคลองรอบกรุงไปเชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม ที่สถานีผ่านฟ้าลีลาศ เชิงสะพานผ่านฟ้าลีลาศ ก่อนเข้าสู่ถนนมหาไชย ผ่านแยกสำราญราษฎร์ (ประตูผี), แยกเรือนจำ เชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ส่วนต่อขยายช่วงหัวลำโพง-ท่าพระ ที่สถานีสามยอด ก่อนเข้าสู่ถนนจักรเพชร ผ่านย่านการค้าสะพานหัน และพาหุรัด จากนั้นเส้นทางจะลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยาในแนวเดียวกับสะพานพระปกเกล้าเข้าสู่ถนนประชาธิปก ผ่านวงเวียนใหญ่ เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าชานเมือง สายสีแดงเข้ม ที่สถานีรถไฟวงเวียนใหญ่ และรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลม ที่สถานีวงเวียนใหญ่ แล้วมุ่งหน้าไปตามถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน ผ่านสำเหร่ แยกมไหสวรรย์ จากนั้นจะยกระดับขึ้นเหนือผิวดินเข้าสู่แยกดาวคะนอง, ถนนสุขสวัสดิ์ ผ่านแยกบางปะแก้ว ซึ่งเป็นจุดตัดถนนพระรามที่ 2, ผ่านย่านบางปะกอก, แยกประชาอุทิศ (กม.9) ไปสิ้นสุดเส้นทางบนถนนสุขสวัสดิ์ ก่อนเข้าเขตอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ผ่านหน้าห้างสรรพสินค้าบิ๊กซีสาขาสุขสวัสดิ์ สิ้นสุดที่ครุใน (บริเวณใต้สะพานกาญจนาภิเษก) รวมระยะทางทั้งสิ้น 23.6 กิโลเมตร เป็นเส้นทางใต้ดินประมาณ 12.6 กิโลเมตร และเส้นทางยกระดับประมาณ 11 กิโลเมตร[18]

รายละเอียด

  • สถานี มี 17 สถานี (ไม่รวมสถานีเตาปูน)
    • สถานีใต้ดิน 10 สถานี (ตั้งแต่สถานีรัฐสภาถึงสถานีสำเหร่) ยาวประมาณ 250 เมตร กว้าง 20 เมตร มีประตูกั้นชานชาลา (Platform Screen Doors)
    • สถานียกระดับ 7 สถานี (ตั้งแต่สถานีดาวคะนองถึงสถานีครุใน) ยาวประมาณ 250 เมตร กว้าง 18 เมตร มีประตูกั้นชานชาลา (Platform Screen Doors) ที่สูงขึ้นมาจากพื้นระดับหนึ่ง (half height)
  • ระบบรถไฟฟ้า เป็นระบบรถไฟฟ้าขนาดหนัก (Heavy Rail Transit) มีความจุประมาณ 320 คนต่อตู้ สามารถรองรับผู้โดยสารได้ไม่น้อยกว่า 50,000 คนต่อชั่วโมงต่อทิศทาง[7]
  • ขนาดราง 1.435 เมตร (European Standard Gauge) โดยมีรางที่ 3 ขนานไปกับรางวิ่งสำหรับจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับตัวรถ[7]

รายชื่อสถานี

ตัวตรง คือโครงการก่อสร้าง

รหัสชื่อสถานีโครงสร้างเชื่อมต่อกับที่ตั้ง
PP16เตาปูนยกระดับ สายเฉลิมรัชมงคล  (สถานีร่วม)กรุงเทพมหานคร
PP17รัฐสภาใต้ดิน
PP18ศรีย่าน
PP19วชิรพยาบาล
PP20หอสมุดแห่งชาติ
PP21บางขุนพรหม
PP22ผ่านฟ้า สายสีส้ม  สถานีอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย (โครงการ)
 เรือโดยสารคลองแสนแสบ  ท่าผ่านฟ้าลีลาศ
PP23สามยอด สายเฉลิมรัชมงคล  (สถานีร่วม)
อุโมงค์ลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยา
PP24สะพานพุทธใต้ดิน สายสีทอง  ประชาธิปก (โครงการ)กรุงเทพมหานคร
PP25วงเวียนใหญ่ สายสีแดงเข้ม  วงเวียนใหญ่ (โครงการ)
 สายสีลม  วงเวียนใหญ่
PP26สำเหร่
PP27ดาวคะนองยกระดับ
PP28บางปะแก้ว
PP29บางปะกอก
PP30สะพานพระราม 9
PP31ราษฎร์บูรณะ
PP32พระประแดงสมุทรปราการ
PP33ครุใน

ความคืบหน้า

  • วันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2548 นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในฐานะประธานคณะกรรมการอำนวยการโครงการระบบขนส่งมวลชนได้ยืนยันว่าจะนำเส้นทางช่วงบางซื่อ-วังบูรพาออกจากแผนงาน ส่วนช่วงวังบูรพา-ราษฎร์บูรณะยังไม่มีความชัดเจน ต้องใช้เวลาศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม ส่วนแนวทางเลือกโครงการทดแทนรถไฟฟ้าสายสีม่วงด้วยระบบบีอาร์ทีที่รัฐมนตรีฯ ได้เสนอไว้ก่อนหน้านี้ ในเส้นทางสะพานพระราม 7ถนนสามเสน-สนามหลวง และเส้นทางวงเวียนใหญ่-ถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน-ถนนสุขสวัสดิ์-ราษฎร์บูรณะ ที่ได้เสนอพร้อมกับเส้นทางบางใหญ่-รัตนาธิเบศร์-งามวงศ์วาน-บางเขน ไม่มีปรากฏในแผนงานอื่นอีก
  • พ.ศ. 2551 นายกรัฐมนตรีนายสมัคร สุนทรเวชพยายามปรับเปลี่ยนแผนแม่บท โดยต่อขยายเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางซื่อ-ราษฎร์บูรณะ ออกไปเป็นบางซื่อ-ราษฎร์บูรณะ-ป้อมพระจุลฯ แต่ส่วนต่อขยายดังกล่าวยังไม่เคยมีการศึกษาความเหมาะสมมาก่อน และทาง สนข. ยังไม่เห็นความเหมาะสมจึงไม่บรรจุไว้ในแผนการศึกษาโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้า[19]
  • 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 ที่ประชุมคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) ครั้งที่ 1/2553 ได้เห็นชอบแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ตามที่ สนข. เสนอ โดยให้เส้นทางสายสีม่วง ช่วงบางซื่อ-ราษฎร์บูรณะ อยู่ในแผนโครงข่ายเพิ่มเติมระยะ 15 ปี
  • พ.ศ. 2556 มีการปรับเปลี่ยนแนวเส้นทางช่วงต้น จากเดิมที่ผ่านหมู่บ้านเสริมสิน ไปใช้แนวโครงการถนน ง.8 ผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร (ฉบับ พ.ศ. 2556) ตัดผ่านเขตทหาร เพื่อมุ่งหน้าสู่ สถานีรัฐสภา และทำการขยายปลายทางและย้ายศูนย์ซ่อมบำรุง จากเดิมบริเวณตำบลบางพึ่ง ไปเป็นบริเวณครุใน (บริเวณถนนวงแหวนด้านใต้ข้างด่านเก็บค่าผ่านทางบางพลี-สุขสวัสดิ์ด้านขาเข้าเมือง) และทำการเพิ่มสถานีอีก 2 สถานีคือ สถานีพระประแดง และสถานีครุใน
  • 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติการดำเนนโครงการ รถไฟฟ้าสายสีม่วง ส่วนต่อขยาย ระยะทาง 23.6 กิโลเมตร กรอบวงเงินงบประมาณ 101,112 ล้านบาท คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างได้ใน พ.ศ. 2561 และเปิดให้บริการได้ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2567
  • ตุลาคม พ.ศ. 2561 บอร์ด รฟม.เปิดให้เอกชนร่วมลงทุน (PPP) ในสายสีม่วงใต้ รูปแบบเดียวกับสายสีม่วง เตาปูน-คลองบางไผ่ [20][21]
  • พ.ศ. 2562 อยู่ระหว่างรอการพิจารณาอนุญาตขอใช้ที่ดินทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ในการก่อสร้างโครงการบางส่วน จึงจะสามารถที่จะออกพรฎ เวนคืน และเตรียมเวนคืนได้ [22][23]
  • 20 มกราคม พ.ศ. 2563 รฟม. เตรียมเปิดประมูลงานก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ ภายใต้กรอบวงเงินลงทุน 124,959 ล้านบาท โดยจะแบ่งประมูลงานโยธาออกเป็น 6 สัญญา วงเงิน 77,385 ล้านบาท ประกอบด้วย งานใต้ดิน 4 สัญญา ทางยกระดับ 1 สัญญา และระบบราง 1 สัญญา ส่วนงานระบบรถไฟฟ้า 23,064 ล้านบาท ยังอยู่ในระหว่างการหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เนื่องจาก บอร์ด รฟม.​ ชุดที่แล้วมีมติให้ รฟม. พิจารณาเปลี่ยนรูปแบบสัญญาเป็นแบบ PPP-Netcost แทนการจ้างเดินรถระยะยาว คาดว่าจะมีการประมูลสายนี้ภายในเดือนมีนาคม 2564[24]

โครงการส่วนเหนือ (บางใหญ่ - บางบัวทอง)

โครงการช่วงบางใหญ่ - บางบัวทอง เป็นแนวเส้นทางรถไฟฟ้าที่ได้รับการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อบรรจุลงในแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนในกรุงเทพมหานครและพื้นที่ต่อเนื่อง ระยะที่ 2 หรือ M-Map Phase 2 ซึ่งโครงการส่วนนี้จะมีระยะทาง 3.7 กิโลเมตร ต่อขยายจากปลายสายบริเวณสถานีคลองบางไผ่ ให้ไปบรรจบกับรถไฟฟ้า ช่วงปากเกร็ด - กาญจนาภิเษก บนถนนกาญจนาภิเษก ทั้งนี้เส้นทางดังกล่าวเคยได้รับการพิจารณาในช่วงสมัยที่ นายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรี เพื่อเป็นการรองรับการขยายตัวของเมืองในพื้นที่อำเภอบางบัวทอง

ส่วนต่อขยายอื่นๆ

แต่หลังจากที่นายสมัคร สุนทรเวช พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ส่วนต่อขยายเพิ่มเติมทั้ง 2 ช่วงก็ไม่มีความคืบหน้า มีความเคลื่อนไหวเฉพาะช่วงคลองบางไผ่-บางซื่อ เท่านั้น

  • เส้นทางช่วง เตาปูน-วังบูรพา ระยะทาง 8 กิโลเมตร รองรับการเดินทางไปยังอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ย่านเกียกกาย และไปเชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ซึ่งล่าสุดคาดว่าเส้นทางนี้มีแนวโน้มสูงสุดที่จะได้รับเลือกเป็นส่วนต่อขยาย โดยคาดว่าจะใช้วงเงินประมาณ 20,000-24,000 ล้านบาท และจะเสนอ ครม.เพื่ออนุมัติภายในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2553

ใกล้เคียง

รถไฟฟ้าบีทีเอส รถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท รถไฟฟ้ามหานคร สายสีชมพู รถไฟฟ้ามหานคร สายสีเหลือง รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ รถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม รถไฟฟ้าในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล รถไฟฟ้า มาหานะเธอ

แหล่งที่มา

WikiPedia: รถไฟฟ้ามหานคร_สายฉลองรัชธรรม http://www.bkkmrtmasterplan.com http://www.fs-yellow-brown-pink.com/pink.htm http://www.mrta-purpleline.com/ http://www.railjournal.com/index.php/asia/bangkok-... http://www.ryt9.com/s/prg/1804702%7C http://www.skyscrapercity.com/showthread.php?t=113... http://www.skyscrapercity.com/showthread.php?t=113... http://www.skyscrapercity.com/showthread.php?t=234... http://www.thannews.th.com/detialnews.php?id=R3323... http://www.visitorstothailand.com/map-bkk-mrt-blue...