บริการ ของ รถไฟฟ้ามหานคร_สายเฉลิมรัชมงคล

อัตราค่าโดยสาร

  1. อัตราค่าโดยสารสำหรับเหรียญโดยสาร
    • บุคคลทั่วไป เริ่มต้น 16 บาท สูงสุด 42 บาท กรณีเดินทางในสาย และ 48 บาท กรณีเดินทางข้ามสาย โดยคิดจากระยะทางที่สั้นที่สุด
    • เด็ก/ผู้สูงอายุ เริ่มต้น 8 บาท สูงสุด 21 บาท กรณีเดินทางในสาย และ 24 บาท กรณีเดินทางข้ามสาย โดยคิดจากระยะทางที่สั้นที่สุด
  2. อัตราค่าโดยสารสำหรับบัตร M และ MRT Plus+
    • บุคคลทั่วไป เริ่มต้น 16 บาทสูงสุด 42 บาท กรณีเดินทางในสาย และ 48 บาท กรณีเดินทางข้ามสาย โดยคิดจากระยะทางที่สั้นที่สุด
    • นักเรียน นักศึกษา เริ่มต้น 13 บาท สูงสุด 38 บาทกรณีเดินทางในสาย และ 43 บาท กรณีเดินทางข้ามสาย โดยคิดจากระยะทางที่สั้นที่สุด
    • เด็ก/ผู้สูงอายุ เริ่มต้น 8 บาท สูงสุด 21 บาทกรณีเดินทางในสาย และ 24 บาท กรณีเดินทางข้ามสาย โดยคิดจากระยะทางที่สั้นที่สุด
    • อัตราค่าโดยสารพิเศษ ใช้จนกว่าจะมีประกาศเปลี่ยนแปลงจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
  3. อัตราค่าโดยสารสำหรับบัตรแมงมุม
    • บุคคลทั่วไป เริ่มต้น 16 บาทสูงสุด 42 บาท กรณีเดินทางในสาย และ 48 บาท กรณีเดินทางข้ามสาย โดยคิดจากระยะทางที่สั้นที่สุด
    • นักเรียน นักศึกษา เริ่มต้น 13 บาท สูงสุด 38 บาทกรณีเดินทางในสาย และ 43 บาท กรณีเดินทางข้ามสาย โดยคิดจากระยะทางที่สั้นที่สุด
    • ผู้สูงอายุ เริ่มต้น 8 บาท สูงสุด 21 บาทกรณีเดินทางในสาย และ 24 บาท กรณีเดินทางข้ามสาย โดยคิดจากระยะทางที่สั้นที่สุด
    • บัตรสวัสดิการแห่งรัฐฯ เริ่มต้น 16 บาทสูงสุด 42 บาท กรณีเดินทางในสาย และ 48 บาท กรณีเดินทางข้ามสาย โดยคิดจากระยะทางที่สั้นที่สุด และในบัตรมีงบค่าโดยสารในบัตรให้เดือนละ 500 บาท
    • ผู้โดยสารต้องเปิดใช้งานบัตรแมงมุมมาจากสายฉลองรัชธรรมก่อนนำมาใช้เดินทางในสายเฉลิมรัชมงคล
  4. เงื่อนไขการใช้บัตรนักเรียน นักศึกษา
    • ผู้ที่มีสิทธิ์ใช้บัตรนักเรียน นักศึกษา จะต้องมีอายุไม่เกิน 23 ปี และ/หรือไม่เกินวันเกิดอายุครบ 23 ปี ในสังกัดสถาบันการศึกษา ขอสงวนสิทธิ์ให้ใช้ร่วมกับบัตรนักเรียน/นักศึกษาและบัตรประชาชน หรือบัตรอื่นที่แสดงอายุได้ กรณีที่ไม่สามารถแสดงหลักฐานดังกล่าวเมื่อได้รับการร้องขอจากเจ้าหน้าที่ หรือใช้บัตรโดยสารผิดประเภทบริษัทขอสงวนสิทธิ์ในการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจากผู้โดยสารในอัตราไม่เกิน 20 เท่าของอัตราค่าโดยสารสูงสุดที่ บริษัทเรียกเก็บ ณ เวลานั้นๆ
หมายเหตุ:
  • การเดินทางข้ามสาย หมายถึง การเดินทางระหว่างรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล (สายสีน้ำเงิน) และรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม (สายสีม่วง) ทั้งนี้ ผู้โดยสารที่ต้องการเดินทางข้ามสาย สามารถใช้เหรียญหรือบัตรโดยสารในการเดินทางได้โดยไม่ต้องออกจากระบบระหว่างการเปลี่ยนสายรถไฟฟ้าที่สถานีเตาปูน
  • ระยะทางที่สั้นที่สุด หมายถึง การคิดค่าโดยสารจากสถานีต้นทางไปยังสถานีปลายทางผ่านเส้นทางที่สั้นที่สุด โดยตัดจุดกึ่งกลางระบบภายในเส้นวงกลมที่สถานีสุทธิสาร ตัวอย่างเช่น จากสถานีหลักสอง - สถานีจรัญฯ 13 จะคิดค่าโดยสารจากสถานีหลักสองขึ้นมาจนถึงสถานีท่าพระ แล้วลัดไปคิดค่าโดยสารฝั่งจรัญสนิทวงศ์ทันที แม้ผู้โดยสารเลือกเดินทางอ้อมเส้นทางก็ตาม

สิทธิประโยชน์เพิ่มเติม

  1. สำหรับเด็กที่มีอายุไม่เกิน 14 ปี และ/หรือ ไม่เกินวันเกิดอายุครบ 14 ปี และมีช่วงความสูงไม่เกิน 90 ซม. ได้รับการยกเว้นค่าโดยสาร
  2. ผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป และ/หรือตั้งแต่วันเกิดอายุครบ 60 ปี จะได้รับสิทธิลดหย่อนค่าโดยสารเช่นเดียวกับผู้สูงอายุ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 ถึง 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
  3. สำหรับประชาชนทุกคนในโอกาสวันสำคัญทางราชการ เช่นการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในประเทศไทย พ.ศ. 2554 ฯลฯ สามารถโดยสารรถไฟฟ้าได้โดยได้รับการยกเว้นค่าโดยสาร ตามเวลาที่ประกาศกำหนด
  4. สำหรับประชาชนทุกคนในพิธีการสำคัญระดับประเทศ เช่น พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ฯลฯ สามารถโดยสารรถไฟฟ้าได้โดยได้รับการยกเว้นค่าโดยสาร ตามเวลาที่ประกาศกำหนด
  5. สำหรับประชาชนที่เป็นบิดาหรือมารดาในวันพ่อแห่งชาติ และ วันแม่แห่งชาติ
  6. ผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปได้รับการยกเว้นค่าโดยสารช่วงวันสงกรานต์ 13-15 เมษายน

มาตรการความปลอดภัยและเวลาเร่งด่วน

ข้อกำหนด ออกตามกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ว่าด้วยความปลอดภัยในชีวิตร่างกายและทรัพย์สิน การรักษาความสงบเรียบร้อยความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยภายในเขตระบบรถไฟฟ้า พ.ศ. 2547[14] รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคลด้วยปรากฏว่ามีการโดยสารที่แออัดในเวลาเช้าทางรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคลจึงประกาศข้อกำหนดดังต่อไปนี้

  1. ผู้โดยสารทุกคนมีความจำเป็นต้องเปลี่ยนรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ณ สถานีจตุจักร เฉพาะผู้เดินทางไปยังปลายทางสถานีบางซื่อ ในเวลา 6.50-9.15 ในบางขบวนผู้โดยสารกรุณาให้ความร่วมมือลงจากรถ ณ สถานีดังกล่าว และผู้โดยสารที่จะเดินทางไปปลายทางหัวลำโพงจากสถานีบางซื่อ, กำแพงเพชร และสถานีจตุจักร จะต้องรอรถโดยสารประมาณ 7 นาที
  2. เฉพาะสถานีเตาปูนและสถานีหลักสองจะไม่อนุญาตให้ผู้โดยสารเข้าไปในตัวรถโดยสารโดยเด็ดขาดจนกว่าจะได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่
  3. อาศัยอำนาจตาม กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ว่าด้วยความปลอดภัยในชีวิตร่างกายและทรัพย์สิน การรักษาความสงบเรียบร้อยความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยภายในเขตระบบรถไฟฟ้า พ.ศ. 2547 มาตรา ๓ ที่กำหนดไว้คนโดยสารหรือบุคคลอื่นในเขตระบบรถไฟฟ้ามีหน้าที่ปฏิบัติตามเครื่องหมาย, ประกาศ, ป้าย หรือสัญญาณอื่นใด ตลอดจนคำแนะนำและคำตักเตือนของพนักงานเจ้าหน้าที่ เป็นการบังคับตามข้อกำหนดนี้
  4. ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดซึ่งออกตามกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ว่าด้วยความปลอดภัยในชีวิตร่างกายและทรัพย์สิน การรักษาความสงบเรียบร้อยความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยภายในเขตระบบรถไฟฟ้า พ.ศ. 2547 มาตรา 3 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับทั้งนี้อาศัยอำนาจตาม มาตรา 62 มาตรา 77 พรบ.การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2543 บัญญัติให้สามารถกระทำได้[15]

ข้อกำหนดต่างๆมีเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้โดยสารอาทิเช่นมีการวิจัยว่าผู้โดยสารตั้งแต่สถานีจตุจักรไปยังสถานีหัวลำโพงมีจำนวนในช่วงเช้าจึงจำเป็นต้องให้ผู้โดยสารในสถานีต้นสาย เสียสละเวลาเล็กน้อย เพื่อลดความหนาแน่นในขบวนรถไฟในช่วงเช้าและจะได้มีความปลอดภัยในทรัพย์สินมากขึ้นเนื่องจากมักมีการปล้นทรัพย์โดยอาศัยความหนาแน่นของจำนวนผู้โดยสารซึ่งเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปว่ามีโอกาสเกิดได้มากกว่ากรณีที่ผู้โดยสารเบาบาง เจ้าหน้าที่จำเป็นต้องให้ผู้โดยสารออกนอกตัวรถเนื่องจากรถจะทำการกลับไปยังสถานีเดิม จึงต้องทำการตรวจรถโดยสารแต่ไม่ตรวจผู้โดยสาร และเชิญผู้โดยสารออกนอกรถด้วยวาจาสุภาพ อย่างไรก็ตามหากผู้โดยสารไม่ให้ความร่วมมืออาจมีความผิดฐานขัดขวางการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่มีโทษจำคุก 1 ปี ปรับ 2,000 บาท และผู้โดยสารมีสิทธิฟ้องร้องเจ้าหน้าที่ที่ดำเนินการด้วยวาจาไม่สุภาพ, ข่มขู่, ทำร้าย หรือคุกคามได้ เฉพาะข้อหนึ่งของประกาศมีผลบังคับใช้ ตั้งแต่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป

การสนับสนุนภาครัฐ

คนพิการขึ้นรถไฟฟ้าฟรี

รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล เป็นเพียงรถไฟฟ้าบริษัทเดียวเท่านั้นที่ สนับสนุนโยบายภาครัฐในการลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางของผู้ถือบัตรผู้พิการ โดยไม่คิดค่าโดยสารกับผู้ถือบัตรผู้พิการและไม่จำกัดการใช้งานและระยะทางรวมถึงระยะเวลาในการใช้สิทธิ หรือตลอดชีวิตจนกว่าผู้พิการจะถึงแก่ความตาย รวมถึงสนับสนุนการใช้ลิฟต์เพื่อผู้พิการ การลัดคิว ในกรณีเร่งเด่น ทั้งนี้ผู้พิการจำเป็นต้องแสดงบัตรทุกครั้งก่อนใช้สิทธิเหล่านี้ เพื่อให้พนักงานจดบันทึกและบอกสถานีปลายทาง อย่างไรก็ตามหากประสงค์จะเปลี่ยนสถานีกะทันหันก็สามารถกระทำได้ ผู้พิการจะมีผู้ดูแลหรือไม่ดูแลมาด้วยหรือไม่ก็ได้เพียงแต่สิทธิจะให้เพียงแต่ผู้ถือบัตรผู้พิการที่ ออกโดยกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เท่านั้น ทั้งนี้อาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 269/1 ผู้ใดทำบัตรอิเล็กทรอนิกส์ปลอมขึ้นทั้งฉบับหรือแต่ส่วนหนึ่งส่วนใด เติมหรือตัดทอนข้อความ หรือแก้ไขด้วยประการใดๆ ในบัตรอิเล็กทรอนิกส์ที่แท้จริง โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน ถ้าได้กระทำเพื่อให้ผู้หนึ่งผู้ใดหลงเชื่อว่าเป็นบัตรอิเล็กทรอนิกส์ที่แท้จริงหรือเพื่อใช้ประโยชน์อย่างหนึ่งอย่างใด ผู้นั้นกระทำความผิดฐานปลอมบัตรอิเล็กทรอนิกส์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1-5 ปี และปรับตั้งแต่ 20,000-100,000 บาท มาตรา 269/4 ผู้ใดใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ซึ่งสิ่งใดๆ ตาม มาตรา 269/1 อันได้มาโดยรู้ว่าเป็นของที่ทำปลอมหรือแปลงขึ้น ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1-7 ปี หรือปรับตั้งแต่ 20,000-140,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ผู้ใดจำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งสิ่งใดๆ ที่ทำปลอมหรือแปลงขึ้นตาม มาตรา 269/1 ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1-10 ปี หรือปรับตั้งแต่ 20,000-200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ถ้าผู้กระทำความผิดตามวรรคแรกหรือวรรคสองเป็นผู้ปลอมซึ่งบัตรอิเล็กทรอนิกส์ตาม มาตรา 269/1 ให้ลงโทษตามมาตรานี้แต่กระทงเดียว[16]ทั้งนี้ตั้งแต่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2552 เป็นต้นไป

ผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐฯ ขึ้นรถไฟฟ้าฟรี

ตามนโยบายของภาครัฐฯ ที่ต้องการสนับสนุนสวัสดิการในการเดินทางด้วยระบบขนส่งมวลชนทุกประเภทโดยไม่คิดค่าโดยสารกับผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ธนาคารกรุงไทยจึงได้ผนวกบัตรแมงมุมเข้าไปในบัตรสวัสดิการแห่งรัฐของประชาชนในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมมณฑล รวมถึงจังหวัดบริวารโดยรอบ และกำหนดให้มีงบค่าโดยสารในบัตรเดือนละ 500 บาท โดยผู้ถือบัตรสามารถนำบัตรไปใช้งานที่สถานีรถไฟฟ้ามหานคร สถานีรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ และสถานีรถไฟฟ้าชานเมืองได้ทันทีเมื่อเปิดใช้บริการ ทั้งนี้ตั้งแต่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป บัตรสวัสดิการแห่งรัฐสามารถใช้งานได้เฉพาะการเดินทางในสายเฉลิมรัชมงคล และสายฉลองรัชธรรมเท่านั้น

การช่วยเหลือคนที่มีความต้องการพิเศษ

พนักงานของรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล รวมถึงพนักงานรักษาความปลอดภัยมีความเต็มใจที่จะช่วยเหลือผู้มีความพิการ อาทิการจูงผู้พิการทางสายตาไปยังสถานี การให้บริการติดตามผู้โดยสารที่ต้องการการดูแลเป็นพิเศษโดยให้พนักงานเดินทางไปด้วย เช่นผู้โดยสารที่เดินทางครั้งแรก ฯลฯ เพียงท่านแจ้งให้พนักงานสถานีทราบเท่านั้น

การรักษาความปลอดภัยให้ประชาชน

รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคลในทุกสถานีมีบริการเพื่อการรักษาความปลอดภัยให้ประชาชนดังต่อไปนี้

  1. บริการปุ่มหยุดฉุกเฉินบันไดเลื่อน
  2. บริการปุ่มแจ้งเหตุไฟไหม้
  3. บริการโทรศัพท์แจ้งเหตุด่วนเหตุร้าย
  4. บริการทางออกฉุกเฉินในสถานี
  5. บริการแจ้งเหตุกับตำรวจผ่านตู้รับเรื่องร้องเรียน
  6. บริการคันโยกฉุกเฉินภายในรถไฟฟ้าเพื่อเปิดประตูรถกรณีฉุกเฉิน
  7. บริการอุปกรณ์ดับเพลิง
  8. บริการกล้องวงจรปิดเพื่อความปลอดภัยของผู้โดยสาร

หมายเหตุ:

  • ผู้โดยสารที่ใช้บริการตาม ข้อ 1-5 โดยไม่มีสถานการณ์ฉุกเฉินระวางโทษปรับ 1,000 บาท
  • ผู้โดยสารที่ใช้บริการตาม 6-7 โดยไม่มีสถานการณ์ฉุกเฉินหรือใช้ตามสถานการณ์ฉุกเฉินแต่ไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำในการใช้อุปกรณ์ ระวางโทษปรับ 1,000 บาท และ จำคุก 1 เดือน
  • ผู้โดยสารที่ใช้บริการตามข้อ 1-7 หากมีผู้ใดฟ้องร้องในความผิดอื่นใดระวางโทษตามประมวลกฎหมายอาญา
  • หากมีสถานการณ์ฉุกเฉินเกิดขึ้นห้ามใช้ลิฟต์โดยเด็ดขาด ผู้ใดฝ่าฝืนข้อบังคับนี้จนเป็นเหตุให้ถึงแก่ความเดือดร้อนแก่ผู้อื่น ระวางโทษจำคุก 1 เดือน ปรับ 1,000 บาท
  • อาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 374 หากมีสถานการณ์ฉุกเฉินเกิดขึ้นผู้ใดเห็นผู้อื่นตกอยู่ในภยันตรายแห่งชีวิต ซึ่งตนอาจช่วยได้โดยไม่ควรกลัวอันตรายแก่ตนเองหรือผู้อื่น ระวางโทษจำคุก 1 เดือน ปรับ 1,000 บาท
  • อาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 372 ห้ามผู้ใดทะเลาะกันอย่างอื้ออึงเสียในทางสาธารณะ หรือสาธารณสถาน หรือกระทำการอื่นใดให้สูญเสียความสงบเรียบร้อย หากฝ่าฝืน มีโทษปรับ 500 บาท
  • อาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 393 หากการกระทำนั้น เป็นการดูหมิ่นผู้อื่นซึ่งหน้า ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน ปรับ 1,000 บาท
  • อาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 370 ถ้าการกระทำอันเป็นการทะเลาะกัน หรือจงใจก่อให้เกิดเสียงอื่นใดนั้นส่งผลให้ประชาชนตกใจหรือเดือดร้อน ปรับ 100 บาท
  • อาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 373 ห้ามผู้ใดที่ควบคุมบุคคลวิกลจริต ปล่อยปละละเลยให้บุคคลวิกลจริตออกเที่ยวตามลำพัง หากฝ่าฝืน มีโทษปรับ 500 บาท
  • ผู้โดยสารที่ ถูกประทุษร้าย ถูกโจรโจรกรรม ถูกกระทำอนาจารต่อหน้าธารกำนัล สามารถขอใช้บริการตรวจกล้องวงจรปิดได้

พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554

รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล จัดบริการสารคดี พระราชอารมณ์ขัน ให้แก่ผู้โดยสารชมฟรี ทุกขบวนรถ และสนับสนุนการประชาสัมพันธ์ พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554 ด้วยการติดสติ๊กเกอร์ ตราสัญลักษณ์ งานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554 ที่บริเวณกระจกกั้นชานชาลาทุกสถานี

การรักษาความสะอาด

รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล อยู่ภายใต้กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ว่าด้วยความปลอดภัยในชีวิตร่างกายและทรัพย์สิน การรักษาความสงบเรียบร้อยความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยภายในเขตระบบรถไฟฟ้า พ.ศ. 2547 หากผู้ใดฝ่าฝืนมีโทษจำคุก 1 เดือน ปรับ 1,000 บาท และพระราชบัญญัติ รักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2535[17] ซึ่งหากมีผู้ใดฝ่าฝืนจะมีโทษปรับ 2,000 บาท

ทั้งนี้อาจมีข้อบังคับอื่น ๆ เช่น ห้ามนำอาหารที่มีกลิ่นแรงเข้าภายในสถานีรถไฟฟ้า ห้ามรับประทานอาหารและเครื่องดื่มภายในพื้นที่ชำระเงินแล้ว, ห้ามดื่มสุราภายในสถานี, ห้ามทิ้งสิ่งปฏิกูล, ห้ามถ่มน้ำลาย, น้ำมูก, เสมหะ, อาเจียน, ปัสสาวะ และคายหมากฝรั่งภายในสถานีบริเวณสถานีอย่างเด็ดขาดหากฝ่าฝืน จะมีโทษ ตามกฎกระทรวง และพรบ.ความสะอาด จำคุก 1 เดือน ปรับ 3,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับการสูบบุหรี่ภายในสถานีถือว่ามีความผิด มีโทษปรับ 2,000 บาท และหากทิ้งบุหรี่ภายในสถานีจะมีโทษปรับเพิ่ม 2,000 บาท อาศัยอำนาจตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 19 พ.ศ. 2553 [18]และพระราชบัญญัติ รักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2535

พันธมิตรธุรกิจ

รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ร่วมกับสหพัฒนพิบูล จัดรายการ ให้ผู้โดยสารได้มีโอกาสรับประทานมาม่าฟรีตลอดทั้งปี โดยเริ่มครั้งแรกเมื่อ ปี พ.ศ. 2553 และยังคงมีจัดปีละครั้งนอกจากนั้นยังมีพันธมิตรธุรกิจลดราคาค่าโดยสารโดยมีเงื่อนไขเช่นเติมเงินทุก 300 บาท ฯลฯ หรือลดราคาให้ลูกค้าที่ใช้บริการกับพันธมิตรธุรกิจของบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน)

การตรวจค้นกระเป๋า

อาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2543 มาตรา 63 ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญามีหน้าที่รักษาความปลอดภัยและความสงบเรียบร้อยในเขตระบบไฟฟ้าตามกฎกระทรวงหรือตามที่ผู้ว่าการมอบหมาย และให้มีอำนาจดังต่อไปนี้ 1.ค้นหรือจับกุมผู้กระทำความผิดซึ่งหน้าตามพระราชบัญญัตินี้ เพื่อส่งให้พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจดำเนินคดีตามกฎหมาย[19]พนักงานเจ้าหน้าที่รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล จึงมีอำนาจตามกฎหมายดังกล่าว ทั้งนี้อาศัยอำนาจตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 93 การตรวจค้นสิ่งของในความครอบครองของบุคคลในที่สาธารณะจะกระทำไม่ได้เลย เว้นแต่เจ้าพนักงานปกครองหรือตำรวจเป็นผู้ค้นเมื่อมีเหตุอันควรสงสัยว่าบุคคลนั้นมีสิ่งของในความครอบครองเพื่อจะใช้ในการกระทำความผิด หรือซึ่งได้มาโดยการกระทำความผิดหรือซึ่งมีไว้เป็นความผิด[20]
เจ้าหน้าที่ รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญาจึงอาศัยอำนาจตามมาตรา 93 ตรวจค้นบุคคลที่เครื่องตรวจจับโลหะชนิดเดินผ่าน[21]ส่งสัญญาณเนื่องจากเจ้าหน้าที่มีความเห็นว่า มีเหตุอันควรสงสัยว่าบุคคลนั้นมีสิ่งของในความครอบครองเพื่อจะใช้ในการกระทำความผิด หรือซึ่งได้มาโดยการกระทำความผิดหรือซึ่งมีไว้เป็นความผิด [22]

บริการอื่นๆ

ศูนย์การค้าเมโทรมอลล์ที่สถานีพหลโยธินอาคารที่จอดรถบริเวณสถานีลาดพร้าว ใกล้แยกรัชดา-ลาดพร้าว
  • ที่จอดรถสำหรับผู้โดยสาร มีพื้นที่จอดรถสำหรับการจอดรถรายวันให้ในบริเวณสถานีรัชดาภิเษก สถานีห้วยขวาง สถานีพระราม 9 สถานีเพชรบุรี สถานีศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ สถานีสามย่าน และสถานีอิสรภาพ นอกเหนือจากนั้นจำเป็นจะต้องใช้ที่จอดรถของอาคารข้างเคียง และยังมีพื้นที่พิเศษซึ่งเตรียมไว้สำหรับการจอดรถเป็นจำนวนมาก ได้แก่ สถานีสวนจตุจักร บริเวณขนส่งหมอชิตเดิม หรือด้านหน้าศูนย์ซ่อมบำรุงรถไฟฟ้าบีทีเอส สามารถจอดได้ถึง 1,250 คัน และสถานีเพชรบุรี ที่บริเวณใต้ทางพิเศษศรีรัช (ด่านอโศก 1) ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย สามารถจอดได้ 300 คัน และพื้นที่ภายในสถานีรับส่งผู้โดยสารอากาศยานกรุงเทพมหานคร ของการรถไฟแห่งประเทศไทย ซึ่งสามารถจอดได้ประมาณ 500 คัน
  • อาคารจอดแล้วจร รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล มีบริการอาคารจอดรถและจุดจอดรถจักรยานยนต์ 3 แห่ง ได้แก่ อาคารจอดรถ 9 ชั้นบริเวณสถานีลาดพร้าว อาคารจอดรถ 3 ชั้นบริเวณสถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย และอาคารจอดแล้วจร 1-2 บริเวณสถานีหลักสอง ซึ่งบริการทั้งแบบรายวันและรายเดือน[23] ทั้งนี้ผู้ที่ใช้บริการจะได้รับบัตร MRT Plus "Park n' Ride" ซึ่งเป็นบัตรสำหรับจอดรถและบัตรโดยสารรถไฟฟ้าในตัว หากทำบัตรสูญหายจะมีโทษปรับ 500 บาทไม่เว้นทุกกรณี พร้อมทั้งต้องแสดงหลักฐานเป็นเจ้าของรถมาแสดง ผู้โดยสารสามารถใช้บัตร MRT Plus "Park n' Ride" ในการเดินทางภายในระบบรถไฟฟ้ามหานคร ทั้งสายเฉลิมรัชมงคล และสายฉลองรัชธรรมได้โดยไม่ต้องออกบัตรโดยสารใหม่ โดยมีวงเงินการเดินทางต่อครั้งไม่เกิน 500 บาท และผู้โดยสารจะต้องแตะบัตรที่สถานีปลายทางเพื่อบันทึกการใช้งาน จากนั้นผู้โดยสารจะต้องนำบัตรมาคืน พร้อมชำระค่าโดยสาร ค่าจอดรถและรับรถคืนภายในเวลาที่กำหนด กล่าวคือเฉพาะเวลา 05.00-01.00 น. เท่านั้น แต่หากลืมแตะบัตรจะคิดในราคาเท่ากับผู้ไม่ใช้บริการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล คือ 50 บาทต่อชั่วโมง การจอดรถนานเกินช่วงเวลาดังกล่าวจะมีอัตราโทษปรับตามเกณฑ์ที่กำหนดในขณะนั้นๆ ปัจจุบันคือผู้ใช้บริการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ปรับ 300 บาท หากไม่ใช้บริการปรับ 1,000 บาท เนื่องจากไม่รับฝากรถเพียงแค่รับฝากเฉพาะผู้ใช้บริการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล เท่านั้น
  • ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว มีบริการศูนย์บริการนักท่องเที่ยวและซื้อสินค้าที่สถานีกำแพงเพชร เปิดเฉพาะวันเสาร์และอาทิตย์เท่านั้น
  • ศูนย์การค้า มีบริการศูนย์การค้าเมโทรมอลล์ที่ สถานีคลองเตย, สถานีสุขุมวิท, สถานีพระราม 9, สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย, สถานีพหลโยธิน และสถานีสวนจตุจักร ซึ่งรวมทั้งร้านค้าบริการ และร้านจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่มภายในสถานี และมีบริการซูเปอร์มาร์เก็ต กูร์เมต์ มาร์เก็ต ที่สถานีลาดพร้าว และ สถานีเพชรบุรี ซึ่งให้บริการซูเปอร์มาร์เก็ตและร้านอาหาร อย่างไรก็ตามไม่อนุญาตให้นำเข้าในบริเวณชั้นจำหน่ายตั๋วโดยสาร
  • ตู้ถอนเงิน มีบริการตู้ถอนเงินทุกสถานี จากหลากหลายธนาคาร ปัจจุบันมีถึง 8 ธนาคาร[24]
  • โทรศัพท์ ในอดีตโครงการมีบริการโทรศัพท์และตู้ทำธุรกรรมทางการเงินจาก ทรู คอร์ปอเรชั่น ให้บริการแต่ปัจจุบันได้ยกเลิกทั้งหมด นอกจากนี้ยังได้ร่วมมือกับ เอไอเอส, ดีแทค และ ทรูมูฟ เอช ในการวางโครงข่ายโทรศัพท์มือถือทั้ง 3G และ 4G ตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้า

ใกล้เคียง

รถไฟฟ้าบีทีเอส รถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท รถไฟฟ้ามหานคร สายสีชมพู รถไฟฟ้ามหานคร สายสีเหลือง รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ รถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม รถไฟฟ้าในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล รถไฟฟ้า มาหานะเธอ

แหล่งที่มา

WikiPedia: รถไฟฟ้ามหานคร_สายเฉลิมรัชมงคล http://www.baanjomyut.com/library/law/02/150.html http://www.bangkokmasstransit.com/ http://news.classifiedthai.com/mrt%E0%B8%9E%E0%B8%... http://www.kodmhai.com/Kkat/NKkat/Nkkat-1/New4/N11... http://www.kodmhai.com/m2/m2-3/m3-91-105.html http://www.lawyerthai.com/law/articles.php?article... http://bmcl-th.listedcompany.com/business.html/pri... http://www.ryt9.com/s/iq05/2623812 http://www.ryt9.com/s/nnd/1253668 http://www.ryt9.com/s/prg/494668