รถไฟฟ้ารางเบามาเก๊า
รถไฟฟ้ารางเบามาเก๊า

รถไฟฟ้ารางเบามาเก๊า

รถไฟฟ้ารางเบามาเก๊า (จีน: 澳門輕軌系統; ยฺหวืดเพ็ง: ou3 mun4 hing1 kuai2 hai6 tung2; โปรตุเกส: Metro Ligeiro de Macau (MLM)) หรือ อังกฤษ: Macau Light Rapid Transit (MLRT) เป็นระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตเมืองของเขตบริหารพิเศษมาเก๊าแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน และเป็นขนส่งมวลชนทางรางสายแรกของมาเก๊า ให้บริการบริเวณคาบสมุทรมาเก๊า, ไตปาและโกไต บริการด่านตรวจคนเข้าเมืองที่สำคัญ เช่น ประตูพรมแดน (อังกฤษ: Border Gate; จีน: 關閘; โปรตุเกส: Portas do Cerco), ท่าเรือเฟอร์รี่ Outer Harbour (จีน: 外港碼頭; โปรตุเกส: Terminal Marítimo do Porto Exterior), สะพานดอกบัว (จีน: 蓮花大橋; โปรตุเกส: Ponte Flor de Lótus) และท่าอากาศยานนานาชาติมาเก๊า (จีน: 澳門國際機場; โปรตุเกส: Aeroporto Internacional de Macau) ส่วนแรกเริ่มก่อสร้างในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 และเปิดดำเนินการเดินรถในส่วนแรกเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2562[8] รถไฟฟ้ารางเบามาเก๊าดำเนินการโดย บริษัท เอ็มทีอาร์ (มาเก๊า) บริษัทย่อยของบริษัทเอ็มทีอาร์ ฮ่องกง (จีน: 香港鐵路有限公司)ระบบรถไฟฟ้ารางเบามาเก๊าปัจจุบันแล้วเสร็จในสาย ไตปา ระหว่างสถานีโอเชียน (จีน: 海洋; โปรตุเกส: Oceano) และสถานีท่าเรือเฟอร์รี่ไตปา (จีน: 氹仔碼頭; โปรตุเกส: Terminal Marítimo da Taipa) ระยะทาง 9.3 กิโลเมตร โดยมี 11 สถานี การก่อสร้างอู่จอดซ่อมบำรุงและสายทางเริ่มต้นขึ้นเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555[9] โดยเริ่มก่อสร้างในเกาะไตปา อย่างไรก็ตามความล่าช้าอย่างมากในการก่อสร้างอู่จอดซ่อมบำรุง การเปิดเดินรถสายไตปาอย่างเป็นทางการจึงมีขึ้นเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2562[10] มูลค่าการก่อสร้างของโครงการเพิ่มขึ้นจากประมาณการในปี พ.ศ. 2552 ที่ 7.5 พันล้านปาตากามาเก๊า เป็น 11 พันล้านปาตากาในประมาณการในปี พ.ศ. 2554[11] และเพิ่มเป็น 14.273 พันล้านปาตากาในเดือนกันยายน พ.ศ. 2555[12] และสิ้นปี พ.ศ. 2560 เพิ่มอีกเป็น 15.4 พันล้านปาตากา[1] แต่ในสิ้นปี พ.ศ. 2562 สามารถลดค่าใช้จ่ายจากการเปิดดำเนินงานของสายไตปา ทำให้ค่าใช้จ่ายทั้งโครงการคงเหลือ 10.1-10.2 พันล้านปาตากามาเก๊า[13]

รถไฟฟ้ารางเบามาเก๊า

เว็บไซต์ http://www.mlm.com.mo
http://www.mtr.com.mo/en/
ประเภท รถไฟฟ้าล้อยาง
จำนวนสถานี สาย ไตปา: 11
สายคาบสมุทรมาเก๊า: 10
เจ้าของ บริษัทรถไฟฟ้ารางเบามาเก๊า (รัฐบาลมาเก๊าถือหุ้น 96%)
การจ่ายไฟฟ้า รางที่สาม 750 โวลต์ กระแสตรง[7]
เริ่มดำเนินงาน 10 ธันวาคม พ.ศ. 2562 (สาย ไตปา)[1][2]
ในปี พ.ศ. 2567 (ช่วง ไตปา-บาร์รา)[3]
จำนวนสาย 1 (ปัจจุบัน)
ที่ตั้ง มาเก๊า
รัศมีความโค้ง 30 m (98 ft 5 1⁄8 in)[6]
รางกว้าง 1,850 มม. (รางคอนกรีต)
3,200 มม. (รางนำทาง)[5]
ระยะทาง 9.3 km (6 mi)[4]
ผังเส้นทาง
ผังเส้นทาง
แผนที่เส้นทางหลังจากการก่อสร้าง
ในแต่ละส่วนเสร็จสมบูรณ์
ผู้ดำเนินงาน เอ็มทีอาร์ (มาเก๊า), บริษัทย่อยถือหุ้น 100% โดย บริษัท เอ็มทีอาร์ ฮ่องกง (2562-2566) /
บริษัทรถไฟฟ้ารางเบามาเก๊า (มหาชน) หลังปี พ.ศ. 2566

ใกล้เคียง

รถไฟฟ้าชานเมือง สายธานีรัถยา รถไฟฟ้าบีทีเอส รถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท รถไฟฟ้ามหานคร สายสีเหลือง รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ รถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม รถไฟฟ้ามหานคร สายสีชมพู รถไฟฟ้าในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

แหล่งที่มา

WikiPedia: รถไฟฟ้ารางเบามาเก๊า http://www.macaodaily.com/html/2013-04/21/content_... http://www.macaodaily.com/html/2014-01/19/content_... http://www.macaodaily.com/html/2015-11/18/content_... http://www.macaodaily.com/html/2018-01/06/content_... http://www.macaodaily.com/html/2019-07/30/content_... http://www.mhi.co.jp/en/news/story/1103031410.html http://www.macaudailytimes.com.mo/macau/20610-Mits... http://www.mlm.com.mo http://www.mlm.com.mo/index.aspx http://www.mlm.com.mo/news_20191206.aspx