รหัสเรียก ของ รหัสสายการบิน

สายการบินส่วนใหญ่ใช้สัญญาณเรียกขานเป็นจะกำหนดไว้เพื่อแทนอากาศยานเมื่อมีการสื่อสารทางวิทยุในท่าอากาศยานหรือขณะทำการบิน ตามภาคผนวกไอเคโอที่ 10 บทที่ 5.2.1.7.2.1 สัญญาณเรียกขานต้องเป็นประเภทใดประเภทหนึ่งดังต่อไปนี้

  • ประเภท A: ตัวอักษรที่สอดคล้องกับเครื่องหมายทะเบียนของเครื่องบิน หรือทะเบียนเครื่องบิน
  • ประเภท B: รหัสโทรศัพท์ของหน่วยงานปฏิบัติการอากาศยาน ตามด้วยอักขระสี่ตัวสุดท้ายของเครื่องหมายจดทะเบียนของเครื่องบิน
  • ประเภท C: รหัสโทรศัพท์ของหน่วยงานปฏิบัติการเครื่องบิน ตามด้วยรหัสเที่ยวบิน

ประเภทที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในการบินเชิงพาณิชย์คือประเภท C รหัสเที่ยวบินมักจะเหมือนกับหมายเลขเที่ยวบิน แต่ก้ไม่ได้เป็นเช่นนันเสมอไป ในกรณีที่เกิดสับสนรหัสเรียก สามารถเลือกรหัสเที่ยวบินใหม่ได้ แต่หมายเลขเที่ยวบินจะยังคงเหมือนเดิม การสับสนรหัสเรียกสามารถเกิดขึ้นได้เมื่อเที่ยวบินสองเที่ยวบินขึ้นไปที่มีหมายเลขเที่ยวบินคล้ายกันบินอยู่ใกล้กัน เช่น KLM 645 และ KLM 649 หรือ Speedbird 446 และ Speedbird 664

รหัสเรียกมักมีความเกี่ยวข้องกับสายการบินนั้นๆ โดยส่วนมากจะมาจากชื่อของสายการบิน แต่ในบางครั้งอาจมาจากประวัติของสายการบิน เช่น เซาท์แอฟริกันแอร์เวส์ใช้รหัสเรียก "Springbok" ซึ่งมาจากโลโก้เก่าของสายการบิน ในบางครั้งอาจเป็นการหลีกเลี่ยงความสับสนกับรหัสเรียกของสายการบินอื่นๆ ในบางครั้งเมื่อสายการบินเมื่อผนวกกิจการเข้ากับสายการบินอื่น สายการบินนั้นอาจเลือกใช้รหัสเรียกของสายการบินอื่นนั้นแทนเช่น บริติชแอร์เวย์ ที่เกิดจากการควบรวมกิจการระหว่างบีโอเอซีและบริติชยูโรเปียนแอร์เวย์ ใช้รหัสเรียก "Speedbird" ตามบีโอเอซี

รหัสเรียกควรมีลักษณะคล้ายกับชื่อของผู้ดำเนินการ และไม่ทำให้สับสนกับรหัสเรียกที่ผู้ดำเนินการรายอื่นใช้ รหัสเรียกควรออกเสียงได้ง่ายในภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นภาษาสากลของการบิน เช่น รหัสเรียกของแอร์ฟรานซ์ คือ "Airfrans" ซึ่ง 'frans' เป็นการสะกดแบบออกเสียงของ 'ฝรั่งเศส'

ใกล้เคียง

รหัสสายการบิน รหัสสากลประจำอุปกรณ์เคลื่อนที่ รหัสสถาบันสถิติศาสตร์และเศรษฐศึกษาแห่งชาติ (ฝรั่งเศส) รหัสสีเว็บเพจ รหัสสนามบิน ICAO รหัสสังหาร รหัสสำนักพิมพ์ รหัสสนามบิน IATA รหัสสับเปลี่ยนเลขฐานสิบเข้ารหัสฐานสองแบบขยาย รหัสโทรศัพท์ระหว่างประเทศ