ความสำคัญทางคลินิก ของ รอยนูนสมองกลีบขมับด้านล่าง

ภาวะไม่รู้ใบหน้า

ภาวะไม่รู้ใบหน้า (Prosopagnosia) หรือภาวะบอดใบหน้า (face blindness)เป็นความผิดปกติมีผลเป็นความไม่สามารถรู้จำหรือแยกแยะใบหน้าของคนต่าง ๆ และอาจจะเกิดขึ้นกับความเสียหายในการรู้จำวัตถุสิ่งของอื่น ๆ รวมทั้งสถานที่ รถยนต์ และอารมณ์ความรู้สึก (ของผู้อื่น)[15]

โกรสและคณะได้ทำงานวิจัยในปี ค.ศ. 1969 ที่พบว่า เซลล์บางพวกตอบสนองต่อการเห็นมือขอลิงและได้ตั้งข้อสังเกตว่า ตัวกระตุ้นที่ให้ลิงดู ยิ่งเหมือนมือของลิงเท่าไรเซลล์เหล่านั้นก็จะเกิดการทำงานมากขึ้นเท่านั้นหลังจากนั้น ในปี ค.ศ. 1972 โกรสและคณะก็พบว่า เซลล์บางพวกใน IT ตอบสนองต่อใบหน้าแม้ว่าจะยังสรุปยังไม่ได้อย่างเด็ดขาด เซลล์ที่ตอบสนองต่อใบหน้าใน ITC (บางครั้งเรียกว่า Grandmother cell) เชื่อกันว่ามีบทบาทที่สำคัญในการรู้จำใบหน้าในลิง[16]

หลังจากมีงานวิจัยอื่น ๆ อีกมากมายเกี่ยวกับผลของความเสียหายต่อ ITC ในลิงจึงมีสมมติฐานขึ้นว่า รอยโรคใน IT ในมนุษย์มีผลเป็นภาวะไม่รู้ใบหน้าคือ ในปี ค.ศ. 1971 รูเบ็นส์และเบ็นสันทำงานวิจัยกับคนไข้ที่มีภาวะไม่รู้ใบหน้าคนหนึ่งแล้วพบว่า คนไข้สามารถบอกชื่อของวัตถุสามัญที่เห็นได้อย่างไม่มีปัญหาอะไร แต่เธอไม่สามารถรู้จำใบหน้า หลังจากที่เบ็นสันและคณะทำการชันสูตรศพหนึ่ง ก็เกิดความชัดเจนว่า รอยโรคจำเพาะในรอยนูนรูปกระสวยซีกขวาซึ่งเป็นส่วนของรอยนูนกลีบขมับส่วนล่าง เป็นเหตุหลักของภาวะนี้[17]

ข้อสังเกตที่ทำให้เกิดความเข้าใจลึกซึ้งยิ่งขึ้นพบในคนไข้ที่ชื่อว่า L.H. ในงานวิจัยของ เอ็ตค็อฟ์ฟและคณะในปี ค.ศ. 1991คือ ชายวัย 40 ปีคนหนึ่งเกิดอุบัติเหตุรถยนต์เมื่ออายุ 18 ปีและได้รับบาดเจ็บอย่างรุนแรงในสมองหลังจากที่ฟื้นตัว L.H. ไม่สามารถรู้จำใบหน้าหรือแยกแยะใบหน้าได้ไม่สามารถแม้แต่จะรู้จำใบหน้าของบุคคลคุ้นเคยที่รู้จักก่อนอุบัติเหตุL.H. และคนไข้ภาวะไม่รู้ใบหน้าอื่น ๆ โดยปกติสามารถใช้ชีวิตที่เกือบเป็นปกติแม้ว่าจะประกอบด้วยภาวะนี้คือ L.H. ยังสามารถรู้จำวัตถุสามัญทั่ว ๆ ไปยังรู้จักความแตกต่างเล็ก ๆ น้อย ๆ ของรูปร่าง อายุ เพศ และความน่าชอบใจของใบหน้าแต่ว่า เพื่อแยกแยะบุคคลต่าง ๆ เขาต้องใช้ตัวช่วยที่ไม่เกี่ยวกับใบหน้าอื่น ๆ เช่น ความสูง สีผม และเสียงการสร้างภาพในสมองโดยเทคนิคที่ไม่ต้องอาศัยการเจาะการผ่าตัดพบว่า ภาวะไม่รู้ใบหน้าของ L.H. มีเหตุมาจากความเสียหายในสมองกลีบขมับซีกขวา ซึ่งประกอบด้วยรอยนูนกลีบขมับส่วนล่าง[18]

ความบกพร่องในความจำอาศัยความหมาย

โรคบางชนิดเช่น โรคอัลไซเมอร์ หรือ semantic dementia (โรคความจำอาศัยความหมายเสื่อม)เป็นโรคที่กำหนดโดยความที่คนไข้ไม่สามารถประสานรวบรวมความจำอาศัยความหมาย (semantic memories)มีผลทำให้คนไข้ไม่สามารถเกิดความจำใหม่ ๆ ไม่รู้เวลาที่ผ่านไป และมีปัญหาทางการรับรู้ที่สำคัญด้านอื่น ๆ

ในปี ค.ศ. 2001 แชนและคณะทำการวิจัยโดยใช้ MRI แบบวัดปริมาตร (volumetric MRI)เพื่อที่จะกำหนดค่าความเสียหายทั้งในสมองโดยทั่ว ๆ ไป และในสมองกลีบข้างในคนไข้โรคความจำอาศัยความหมายเสื่อม และคนไข้โรคอัลไซเมอร์มีการเลือกและยืนยันผู้รับการทดลองทางคลินิกว่า เป็นคนไข้ในระดับกลาง ๆ ของโรคทั้งสองและมีการยืนยันเพิ่มขึ้นไปอีกด้วยผ่านการทดสอบทางจิตประสาท งานวิจัยนี้ไม่แยกแยะ ITC และคอร์เทกซ์กลีบขมับส่วนกลาง (middle temporal cortex)เพราะว่า "มักจะไม่มีความชัดเจน" ของขอบเขตระหว่างคอร์เทกซ์ทั้งสองนั้น[19]

งานวิจัยนั้นสรุปว่า สำหรับโรคอัลไซเมอร์ ความเสียหายใน ITC ไม่ใช่สาเหตุหลักของโรคเพราะว่าในคนไข้ที่รับการทดลอง ความเสียหายที่ชัดเจนอยู่ที่ entorhinal cortex, อะมิกดะลา และ ฮิปโปแคมปัสส่วนสำหรับโรคความจำอาศัยความหมายเสื่อม มีการสรุปว่า"รอยนูนกลีบขมับทั้งส่วนกลางและส่วนล่างอาจมีบทบาทที่สำคัญ" ในความทรงจำอาศัยความหมายดังนั้น จึงเป็นความโชคไม่ดีว่า คนไข้ที่มีสมองกลีบขมับส่วนหน้า (anterior) เสียหาย ก็จะมีความจำอาศัยความหมายเสื่อม งานวิจัยนี้แสดงหลักฐานว่า แม้ว่าโรคทั้งสองนี้บ่อยครั้งมักจะรวมอยู่ในประเภทเดียวกันแต่จริง ๆ แล้ว เป็นโรคที่แตกต่างกันอย่างมากและมีความเสียหายทางสมองที่แตกต่างกัน[19]

ภาวะเสียการระลึกรู้สีเหตุสมอง

ตัวอย่างการเห็นของบุคคลที่มีภาวะเสียการระลึกรู้สีเหตุสมอง

ภาวะเสียการระลึกรู้สีเหตุสมอง (cerebral achromatopsia[20]) เป็นความผิดปกติทางการแพทย์มีอาการเป็นความไม่สามารถที่จะรับรู้สีและไม่สามารถเห็นได้อย่างชัดเจนพอในระดับแสงที่สูงภาวะเสียการระลึกรู้สีแต่กำเนิด (Congenital achromatopsia) มีอาการเหมือนกันแต่เกิดเพราะอาศัยกรรมพันธุ์ เปรียบเทียบกับภาวะเสียการระลึกรู้สีเหตุสมอง ซึ่งเกิดขึ้นจากความเสียหายในสมองเขตหนึ่งในสมองที่มีขาดไม่ได้ในการแยกแยะสีก็คือ ITC

ในปี ค.ศ. 1995 เฮย์วูดและคณะทำงานวิจัยหมายจะแสดงส่วนของสมองที่สำคัญต่อภาวะเสียการระลึกรู้สีในลิงแต่ว่า งานวิจัยนั้นแหละได้แสดงเขตในสมองที่เกี่ยวข้องกับภาวะเสียการระลึกรู้สีในมนุษย์ด้วยในงานวิจัยนี้ ลิงกลุ่มหนึ่ง (กลุ่ม AT) มีสมองกลีบขมับด้านหน้าเขตสายตา V4 ถูกทำให้เสียหายและอีกกลุ่มหนึ่ง (กลุ่ม MOT) มีจุดที่เชื่อมต่อกันระหว่างสมองกลีบท้ายทอยและสมองกลีบขมับถูกทำให้เสียหายซึ่งเป็นจุดเดียวกันกับตำแหน่งกะโหลกมนุษย์ที่เสียหายเมื่อมีภาวะเสียการระลึกรู้สีงานนี้สรุปว่า กลุ่ม MOT ไม่เกิดความเสียหายในการเห็นสีในขณะที่กลุ่ม AT เกิดความเสียหายอย่างรุนแรงในการเห็นสีซึ่งตรงกับมนุษย์ที่เกิดภาวะเสียการระลึกรู้สี[21] งานวิจัยนี้แสดงว่า สมองกลีบขมับเขตข้างหน้าเขตสายตา V4ซึ่งประกอบด้วย ITC มีบทบาทสำคัญในภาวะเสียการระลึกรู้สี

ใกล้เคียง

รอยนูนสมองกลีบขมับด้านล่าง รอยนูนหลังร่องกลาง รอยนูนแองกูลาร์ รอยนูนรอบฮิปโปแคมปัส รอยนูนรูปกระสวย รอยนูนสมองกลีบขมับส่วนบน รอยนูนหน้าส่วนบน รอยนูนซูปรามาร์จินัล รอยนูนสมองกลีบขมับตามขวาง รอยขูดขีดเขียน

แหล่งที่มา

WikiPedia: รอยนูนสมองกลีบขมับด้านล่าง http://www.mercksource.com/pp/us/cns/cns_hl_dorlan... http://onlinelibrary.wiley.com/store/10.1111/j.146... http://education.yahoo.com/reference/gray/subjects... http://cognitrn.psych.indiana.edu/busey/forJP/locI... http://mind.cog.jhu.edu/faculty/smolensky.html/050... http://med.stanford.edu/ism/2013/april/numerals.ht... http://neuroscience.uth.tmc.edu/s2/chapter15.html http://library.med.utah.edu/kw/hyperbrain/photos/s... http://braininfo.rprc.washington.edu/Scripts/hierc... http://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK11131/