อาการ ของ รอยโรคของเซลล์ประสาทสั่งการส่วนบน

ความผิดปกติทางการทำงานของกล้ามเนื้อสามารถเรียกรวม ๆ ได้ว่าเป็นกลุ่มอาการ upper motor neuron syndromeซึ่งจะต่าง ๆ กันขึ้นอยู่กับตำแหน่งและขนาดของรอยโรค แต่อาจรวม

  • กล้ามเนื้ออ่อนแรง[3] ที่เรียกว่า pyramidal weakness
  • การเคลื่อนไหวที่ควบคุมได้น้อยลง โดยเฉพาะก็คือเคลื่อนไหวช้า
  • ภาวะหดเกร็ง (spasticity) เป็นการเปลี่ยนแปลงความตึงของกล้ามเนื้อโดยขึ้นอยู่กับความเร็วในการหดเกร็ง
  • clasp-knife response เป็นอาการที่กล้ามเนื้อขัดขืนการขยับอวัยวะที่แพทย์ทำในเบื้องต้น แต่อยู่ดี ๆ ก็จะคลายดูเพิ่มที่ พยาธิวิทยาเนื่องกับ Golgi tendon reflex
  • มีอาการ Babinski sign คือนิ้วโป้งเท้าจะงอขึ้น (ไปทางหน้าแข้ง) แทนที่จะงอลง (ไปทางใต้เท้า) เมื่อกระตุ้นฝ่าเท้าอย่างสมควร การมีอาการนี้ผิดปกติในผู้ใหญ่ เพราะรีเฟล็กซ์ฝ่าเท้า (plantar reflex) ที่ปกติจะงอนิ้วเท้าทั้งหมดลง แต่เมื่อผิดปกติคือมีอาการนี้ นิ้วโป้งจะงอขึ้นแต่นิ้วอื่น ๆ จะงอลง อาการผิดปกติในผู้ใหญ่นี้เป็นเรื่องปกติในทารกแรกเกิดจากตั้งแต่คลอดจนถึงอายุ 12 เดือน แต่ถ้ายังมีหลังจากนั้น จัดว่าเป็นอาการของรอยโรคของเซลล์ประสาทสั่งการบนที่ไม่จำเพาะเจาะจงดูเพิ่มที่ รีเฟล็กซ์ฝ่าเท้า
  • การมี stretch reflex หรือ deep tendon reflex (DTR) ที่เพิ่มขึ้น
  • Pronator drift คือ เมื่อหมอให้คนไข้ยืดแขนทั้งสองออกทางด้านหน้าในระดับไหล่โดยแบมือขึ้นแล้วให้คงท่าไว้อย่างนั้น ถ้าไม่สามารถทำได้ ก็จัดว่ามีอาการนี้[4]

ใกล้เคียง

รอยโรคของเซลล์ประสาทสั่งการส่วนบน รอยโรคแบงคาร์ต รอยโรคฮิลล์–แซ็กส์ รอยโรค รอยโรคของเซลล์ประสาทสั่งการส่วนล่าง รอยรักรอยบาป รอยประสาน (กายวิภาคศาสตร์) รอยประสานท้ายทอย รอยประสานคร่อมขม่อมหน้า รอยรักรอยร้าว