ดีโพลาไรเซชันและอีเคจี ของ ระบบการนำไฟฟ้าหัวใจ

หลักการเกิดอีซีจี เส้นสีแดงแสดงคลื่นดีโพลาไรเซชันกลุ่มคลื่น ECG: P=คลื่น P, PR=ระยะ PR, QRS=กลุ่มคลื่น QRS, QT=ระยะ QT, ST=ช่วง ST, T=คลื่น T

เอสเอโนด: พีเวฟ

ภายใต้สภาพปกติ เอสเอโนดสร้างกิจกรรมไฟฟ้าขึ้นเอง เป็นตัวคุมจังหวะหัวใจทางสรีรวิทยา พลังผลักดันไฟฟ้าแผ่ไปทั่วหัวใจห้องบนขวา และผ่านบัคมันนส์บันเดิล (Bachmann's bundle) ไปยังหัวใจห้องบนซ้าย กระตุ้นให้กล้ามเนื้อหัวใจห้องบนหดตัว การนำพลังผลักดันไฟฟ้าทั่วหัวใจห้องบนปรากฏบนอีซีจีเป็นคลื่น P

ขณะที่กิจกรรมไฟฟ้าแพร่ไปทั่วหัวใจห้องบน ก็เดินทางผ่านช่องทางพิเศษเรียกว่า อินเตอร์โนดอลแทร็ก (internodal tract) จากเอสเอโนดไปยังเอวีโนด

เอวีโนด/บันเดิล: พีอาร์อินเตอร์วอล

เอวีโนดทำหน้าที่เป็นตัวหน่วงสำคัญในระบบนำไฟฟ้า หากไม่มีการหน่วงนี้ หัวใจห้องบนและหัวใจห้องล่างจะหดตัวพร้อมกัน และเลือดจะไม่ไหลจากหัวใจห้องบนไปยังหัวใจห้องล่างอย่างมีประสิทธิภาพ การหน่วงในเอวีโนดนี้เป็นส่วนใหญ่ของระยะ PR (PR segment) ในอีซีจี และรีโพลาไรเซชันของหัวใจห้องบนบางส่วนแสดงเป็นระยะ PR

ส่วนปลายของเอวีโนด เรียก บันเดิลออฟฮิส บันเดิลออฟฮิสแยกออกเป็นสองสาขาในผนังกั้นระหว่างหัวใจห้องล่าง สายซ้ายจะกระตุ้นหัวใจห้องล่างซ้าย ขณะที่สายขวาจะกระตุ้นหัวใจห้องล่างขวา สายซ้ายสั้นกว่า โดยแยกเป็นมัดหน้าซ้ายและมัดหลังซ้าย มัดหลังซ้ายค่อนข้างสั้นและกว้าง ด้วยหลอดเลือดหล่อเลี้ยง (blood supply) คู่ ทำให้ส่วนนี้ทนทานต่อความเสียหายจากการขาดเลือดเฉพาะที่เป็นพิเศษ มัดหลังซ้ายส่งผ่านพลังผลักดันไปยังกล้ามเนื้อพาพิลลารี (papillary muscle) ทำให้ลิ้นไมทรัลปิด เนื่องจากมัดหลังซ้ายสั้นกว่าและกว้างกว่ามัดทางขวา พลังผลักดันจึงไปถึงกล้ามเนื้อพาพิลลารีก่อนดีโพลาไรเซชัน และการหดตัวของกล้ามเนื้อหัวใจห้องล่างซ้ายตามลำดับ เหตุนี้ทำให้คอร์ดีเท็นดินี (chordae tendinae) อัดแรงก่อน (pre-tensioning) คือ เพิ่มความต้านทานต่อการไหลผ่านลิ้นไมทรัลระหว่างการหดตัวของหัวใจห้องล่างซ้าย

เพอร์คินจีไฟเบอร์/กล้ามเนื้อหัวใจห้องล่าง: คิวอาร์เอสคอมเพล็กซ์

สาขาบันเดิลสองสาขาเรียวลงเป็นเพอร์คินจีไฟเบอร์จำนวนมาก ซึ่งกระตุ้นกลุ่มเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจให้หดตัวเป็นกลุ่ม ๆ

การกระจายกิจกรรมไฟฟ้าทั่วกล้ามเนื้อหัวใจห้องล่างทำให้เกิดกลุ่มคลื่น QRS (QRS complex) บนอีซีจี

รีโพลาไรเซชันของหัวใจห้องล่าง

เหตุการณ์สุดท้ายในวัฏจักร คือ รีโพลาไรเซชันของหัวใจห้องล่าง โดยเป็นการฟื้นคืนสู่สภาวะพัก ในอีซีจี รีโพลาไรเซชันรวมถึงคลื่น J (J-wave) ช่วง ST (ST-segment) คลื่น T (T-wave) และคลื่น U (U-wave)[2]

ใกล้เคียง

ระบบการทรงตัว ระบบการได้ยิน ระบบการเห็น ระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก ระบบการลงคะแนน ระบบการนำไฟฟ้าหัวใจ ระบบกึ่งประธานาธิบดี ระบบการลงคะแนนแบบคะแนนรวม ระบบการลงคะแนนแบบผสม ระบบการออกเสียงภาษาบาลี