ระบบการลงคะแนนแบบผสม

ระบบการลงคะแนนแบบผสม (อังกฤษ: mixed electoral system) เป็นระบบการลงคะแนนที่ผสมผสานระหว่างแบบคะแนนนำ/เสียงข้างมากกับระบบสัดส่วน (PR)[1][2][3] โดยส่วนแรกที่เป็นแบบคะแนนนำ/เสียงข้างมากนั้นมักจะใช้ระบบแบ่งเขตคะแนนสูงสุด (FPTP)[4] ในขณะที่ส่วนที่แบบระบบสัดส่วนนั้นใช้ระบบบัญชีรายชื่อ (party list PR)[5] ลักษณะเฉพาะของระบบผสมนี้ผู้ลงคะแนนเสียงสามารถมีบทบาทได้ทั้งในการเลือกตั้งแบบเสียงข้างมากและแบบสัดส่วนพร้อม ๆ กัน[6] ส่วน ระบบลูกผสม นั้นใช้สูตรการคำนวณผลคะแนนอีกแบบหนึ่งและมักใช้กันในการเลือกตั้งในระดับภูมิภาค[7]ระบบการลงคะแนนแบบผสมที่สำคัญได้แก่ ระบบสัดส่วนผสม (MMP) และระบบคู่ขนาน หรือเรียกอีกอย่างว่า ระบบการลงคะแนนแบบเสียงข้างมากผสม (MMM) ซึ่งจะได้ผลลัพธ์เป็นสัดส่วน[2] ในระบบสัดส่วนผสมนั้นพรรคการเมืองที่ชนะคะแนนเสียงร้อยละ n ของคะแนนเสียงทั้งหมดจะได้รับจำนวนที่นั่งคร่าว ๆ ร้อยละ n ของจำนวนที่นั่งทั้งหมด ส่วนระบบคู่ขนานนั้นมักจะให้ผลลัพธ์กึ่งสัดส่วน กล่าวคือ มีความเป็นสัดส่วนมากกว่าระบบคะแนนนำ/เสียงข้างมากแต่มีความเป็นสัดส่วนน้อยกว่าการเลือกตั้งระบบสัดส่วน โดยทั้งสองแบบนี้มีลักษณะพิเศษคือ มีการเลือกผู้แทนซึ่งแบ่งเป็นสองส่วน โดยส่วนแรกมาจากแบบคะแนนนำ/เสียงข้างมาก และอีกส่วนหนึ่งมาจากระบบสัดส่วน อย่างไรก็ตามการลงคะแนนแบบผสมนี้ไม่จำเป็นจะต้องแบ่งผู้แทนเป็นหลายส่วน[8]

ใกล้เคียง

ระบบการทรงตัว ระบบการได้ยิน ระบบการเห็น ระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก ระบบการลงคะแนน ระบบการนำไฟฟ้าหัวใจ ระบบกึ่งประธานาธิบดี ระบบการลงคะแนนแบบคะแนนรวม ระบบการลงคะแนนแบบผสม ระบบการออกเสียงภาษาบาลี

แหล่งที่มา

WikiPedia: ระบบการลงคะแนนแบบผสม http://mattgolder.com/files/research/es3.pdf http://www.hks.harvard.edu/fs/pnorris/Acrobat/Choo... http://www.bochsler.eu/publi/bochsler_albania-ipsr... http://aceproject.org/ace-en/topics/es/esd/esd05 http://www.ifes.org/publications/electoral-systems... https://www.institutions-democratiques.gouv.qc.ca/... https://books.google.com/?id=qkCBDAAAQBAJ https://www.idea.int/publications/catalogue/electo... https://aceproject.org/ace-en/topics/es/esd/esd03