ระบบเสียงสระ ของ ระบบการออกเสียงภาษาบาลี

สระเป็นเสียงพูดประเภทหนึ่งใน 2 ประเภทใหญ่ ซึ่งได้แก่ สระ และพยัญชนะ ในทางสัททศาสตร์ สระหมายถึง เสียงที่เปล่งออกมาโดยทางลมเปิด ลมต้องผ่านออกกลางลิ้นเสมอ และขณะออกเสียง เส้นเสียงจะสั่น เสียงสระจึงมักเป็นเสียงก้อง ส่วนในทางสัททวิทยาหรือระบบเสียง สระหมายถึงหน่วยทางภาษาหรือหน่วยเสียง (phoneme) ซึ่งทำหน้าที่เป็นแกน (nucleus) ของพยางค์

ในการเปล่งเสียงสระ ตามปกติเพดานอ่อนยกสูงขึ้นติดผนังคอปิดกั้นมิให้ลมออกทางจมูก จึงเรียกสระเหล่านั้นว่าสระที่เปล่งเสียงในช่องปาก (oral sound) แต่ในบางครั้ง ขณะเปล่งเสียงสระเพดานอ่อนลดต่ำลง พร้อมกับการเปิดทางช่องปาก ลมจึงออกทั้งทางช่องปากและช่องจมูก จึงเรียกสระประเภทนี้ว่า สระลักษณะนาสิก (nasalised vowel)

ในการบรรยายวิธีการเปล่งเสียงสระ เราอาจจำแนกความแตกต่างได้ตามตำแหน่งลิ้นภายในช่องปากเป็นสำคัญ คือ สระที่เปล่งโดยลิ้นอยู่ในบริเวณส่วนหน้าของช่องปากเรียกว่า สระหน้า หากลิ้นอยู่ในบริเวณส่วนหลังของช่องปาก เรียกว่า สระหลัง ถ้าลิ้นอยู่ในบริเวณระหว่างส่วนหน้าและส่วนหลังของช่องปากเรียกว่า สระกลาง (central vowel) นอกจากนี้เราอาจจำแนกสระตามระดับของลิ้น คือ ลิ้นยกสูง ลิ้นลดต่ำ เป็นต้น ตลอดจนพิจารณาตามลักษณะของริมฝีปาก คือ ห่อหรือเหยียดมากน้อยเพียงใด

ในทางสัททวิทยา เมื่อบรรยายสระในภาษาต่าง ๆ อาจใช้คำว่าสระสูง (high vowel) หรือสระปิด (close vowel) เมื่อลิ้นยกสูง

ใช้คำว่าสระต่ำ (low vowel) หรือสระเปิด (open vowel) ในกรณีที่ลิ้นลดต่ำ และสระกลาง (mid vowel) หมายถึง สระลิ้นระดับกลาง

นอกจากนี้สระลักษณะนาสิก (nasalised vowel) อาจจัดกลุ่มเป็นสระนาสิก (nasal vowel) ได้ในลักษณะตรงข้ามกับสระที่เปล่งเสียงในช่องปาก (oral vowel)

เสียงสระในบาลี

เสียงสระในบาลีจำแนกออกได้ตามตำแหน่งหน้า-หลังของลิ้น คือ สระหน้า สระกลาง หรือสระหลัง และตามระดับสูง-ต่ำของลิ้น คือ สระสูง สระกลาง หรือสระต่ำ ตลอดจนจำแนกออกตามลักษณะของริมฝีปาก คือ ห่อ หรือไม่ห่อ ได้ดังนี้

ตารางแสดงเสียงสระในบาลี

1.สระ อะa[a], aṃ [ã]สระกลาง-ต่ำเสียงสั้นปากไม่ห่อ
2.สระ อาā[aː]สระกลาง-ต่ำเสียงยาวปากไม่ห่อ
3.สระ อิi[i], iṃ [ĩ]สระหน้า-สูงเสียงสั้นปากไม่ห่อ
4.สระ อีī[iː]สระหน้า-สูงเสียงยาวปากไม่ห่อ
5.สระ อุu[u]สระหลัง-สูงเสียงสั้นปากห่อ
6.สระ อูū[uː], uṃ [ũ]สระหลัง-สูงเสียงยาวปากไม่ห่อ
7.สระ เอe[eː] หรือ [eˑ]สระหน้า-กลางเสียงยาวหรือเสียงกึ่งยาวปากไม่ห่อ
8.สระ โอo[oː] หรือ [oˑ]สระหลัง-กลางเสียงยาวหรือเสียงกึ่งยาวปากห่อ

ตารางแสดงเสียงสระในบาลี

หน้ากลางหลัง
สูงiiṃīuuṃū
[i][ĩ][][u][ũ][]
กลางeo
[][]
[][]
ต่ำaaṃā
[a][ã][]

หน่วยเสียงสระในบาลี

หน่วยเสียงสระ หมายถึง เสียงที่ทำหน้าที่เป็นแกน (nucleus) ของพยางค์ เป็นเสียงที่มีความสำคัญ คือ แยกความหมายของคำได้ ดังในตัวอย่างคำคู่เทียบเสียง 4 คู่ ต่อไปนี้

ตารางแสดงหน่วยเสียงสระทั่วไป

เสียงสระตัวอย่างคำบาลี
ไทยโรมันสากลอักษรไทยอักษรโรมันสัทอักษรสากล
1อิ - อีi – ī[i – iː]อิติ - อีติiti – īti[it̪i – t̪i]
2อะ - อาa – ā[a – aː]วร16 - วารvara – vāraaɻa – ʋɻa]
3อุ - อูu – ū[u – uː]กุล - กูลkula – kūla[kul̪a – kl̪a]
4เอ - โอe – o[eː – oː]เย - โยye – yo[j - j]

ในระบบเสียงบาลีจะมีหน่วยเสียงสระอยู่รวม 11 หน่วยเสียง เป็นหน่วยเสียงสระนาสิก (nasal vowel) 3 หน่วยเสียง และหน่วยเสียงสระทั่วไปที่เปล่งเสียงในช่องปาก (oral vowel) 8 หน่วยเสียง คือ อะ อา อิ อี อุ อู เอ โอ ซึ่งเขียนด้วยอักษรโรมันเป็น a ā i ī u ū e o โดยมีเครื่องหมาย (–) เหนือตัวอักษรแสดงว่าเป็นสระเสียงยาว ถือว่าเป็นคนละหน่วยเสียงกับสระเสียงสั้น ซึ่งมีอยู่เป็นคู่กันรวม 3 คู่ เป็น 6 หน่วยเสียง คือ a /a/ - ā /aː/, i /i/ - ī /iː/, u /u/ - ū /uː/

ส่วนตัวอักษร e o แทนหน่วยเสียงสระยาวรวม 2 หน่วยเสียง /e/, /o/ แต่ละหน่วยเสียงจะมีรูปย่อยหน่วยเสียงเป็นเสียงสระยาว [eː], [oː] หรือเสียงสระกึ่งยาว [eˑ], [oˑ] ก็ได้ ขึ้นอยู่กับลักษณะพยางค์และเสียงแวดล้อมในพยางค์ เอ e ในพยางค์เปิด คือ พยางค์ที่ลงท้ายด้วยสระ จะเป็นเสียงสระยาว เอ [eː] เช่นในคำ เม /me/ = [meː] ส่วนในพยางค์ปิด คือ พยางค์ที่ลงท้ายด้วยพยัญชนะ จะเป็นเสียงสระกึ่งยาว เอ [eˑ] เช่นพยางค์ /met-/ = [meˑt̪] ในคำ เมตตา /mettā/ = [meˑt̪t̪aː] ในทำนองเดียวกัน โอ o ในพยางค์เปิด คือพยางค์ที่ลงท้ายด้วยสระ จะเป็นเสียงสระยาว โอ [oː] เช่นในคำ โส /so/ = [soː] ส่วนในพยางค์ปิด จะเป็นเสียงสระกึ่งยาว โอ [oˑ] เช่น พยางค์ /oˑṭ/ = [oˑʈ] ในคำ โอฏฺ (โอฏฺฐ)/oṭṭha/ = [oˑʈʈʰa]

ในประเทศศรีลังกาและประเทศไทยส่วนใหญ่จะออกเสียงนิคคหิตนี้เป็นเสียงนาสิกฐานเพดานอ่อน คือ ṅ [ŋ] ตัวอย่าง 3 คำนี้จะออกเสียงเป็น กิง - กัง - กุง /kiṅ - kaṅ - kuṅ/ [kiŋ - kaŋ - kuŋ]

หน่วยเสียงสระนาสิก ซึ่งเขียนด้วยอักษรโรมันเป็น ṃ แทน นิคคหิต (˚) (=[ ̃]) ในบาลี โดยจะเขียนไว้ข้างหลังสระ ซึ่งเป็นสระเสียงสั้น 3 เสียง คือ iṃ [ĩ], aṃ [ã] และ uṃ [ũ] จัดเป็น 3 หน่วยเสียง เนื่องจากสามารถแยกความหมายของคำชุดเทียบเสียงซึ่งประกอบด้วยคำ 3 คำในตัวอย่างต่อไปนี้ได้ คือ

กิ˚ - ก˚ - กุ˚ /kiṃ – kaṃ– kuṃ/ [kĩ – kã – kũ]

การออกเสียงสระ เอ /e/, โอ /o/ ในบาลีหน่วยเสียงยาว ในที่นี้ได้อธิบายลักษณะพิเศษของหน่วยเสียง สระยาว เอ /e/, โอ /o/ ในบาลีว่าเป็น 2 หน่วยเสียง แต่ละหน่วยเสียงจะมีรูปย่อยหน่วยเสียง 2 รูป คือ เป็นเสียงสระยาว หรืออาจจะเป็นเสียงสระกึ่งยาว (half-long) ก็ได้ ขึ้นอยู่กับลักษณะพยางค์และเสียงแวดล้อมในพยางค์ ดังนี้

รูปย่อยที่เป็นเสียงสระยาว [eː], [oː] จะเกิดในพยางค์เปิด คือ พยางค์ที่ไม่มีพยัญชนะท้ายหลังสระ ดังในตัวอย่าง เช่น

ตารางแสดง การออกเสียงสระ เอ, โอ ในบาลี

เสียงสระตัวอย่างคำบาลี
ไทยโรมันสากลอักษรไทยอักษรโรมันสัทอักษรสากล
1อิ - อีi – ī[i – iː]อิติ - อีติiti – īti[it̪i – t̪i]
2อะ - อาa – ā[a – aː]วร16 - วารvara – vāraaɻa – ʋɻa]
3อุ - อูu – ū[u – uː]กุล - กูลkula – kūla[kul̪a – kl̪a]
4เอ - โอe – o[eː – oː]เย - โยye – yo[j - j]

รูปย่อยที่เป็นเสียงสระกึ่งยาว [eˑ] และ [oˑ] จะเกิดในพยางค์ปิด หมายถึง พยางค์ที่มีพยัญชนะท้ายหลังสระ พยางค์ปิดในพระพุทธพจน์บาลี จะมีลักษณะเฉพาะคือ เป็นพยางค์ที่ลงท้ายด้วยพยัญชนะซ้อน คือ พยัญชนะซ้อนกัน 2 เสียง โดยเสียงแรกทำหน้าที่เป็นพยัญชนะท้าย (พยัญชนะสะกด) ของพยางค์แรก ส่วนพยัญชนะที่ตามมาจะทำหน้าที่เป็นพยัญชนะต้นของพยางค์ถัดไป

สระ e o ในบาลี เมื่ออยู่หน้าพยัญชนะซ้อน จึงมีรูปย่อยที่เป็นเสียงสระกึ่งยาว (half-long) [eˑ], [oˑ]

ตารางแสดง เสียงสระกึ่งยาว

เสียงสระตัวอย่างคำบาลี
สยามไทยโรมันสากลอักษรสยามอักษรไทยอักษรโรมันสัทอักษรสากล
เอเอe[]เมต๎ตาเมตฺตาmettā[mt̪t̪aː]
โอโอo[]โสต๎ถิโสตฺถิsotthi[st̪t̪i]

สระ เอ /e/, โอ /o/ เป็นสระเดี่ยว

ในที่นี้จะอธิบายว่า สระ เอ /e/, โอ /o/ เป็นสระเดี่ยว ซึ่งเป็นเสียงที่อยู่ในตำแหน่งระหว่างสระ 2 เสียง ซึ่งมีฐานต่างกัน

สระ เอ /e/ เกิดในตำแหน่งระหว่างสระ อะ [a] กับ อิ [i]

สระ โอ /o/ เกิดในตำแหน่งระหว่างสระ อะ [a] กับ อุ [u]

ทั้งนี้พิจารณาตามเสียงที่สืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบันเป็นหลักฐานสำคัญ ในที่นี้ถือว่าไม่ใช่สระประสมเพราะหากเป็นสระประสมจะเป็นสระเลื่อนเริ่มด้วยการออกเสียงที่สระหนึ่งและเลื่อนไปจบที่อีกสระหนึ่ง

ใกล้เคียง

ระบบการทรงตัว ระบบการได้ยิน ระบบการเห็น ระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก ระบบการลงคะแนน ระบบการนำไฟฟ้าหัวใจ ระบบกึ่งประธานาธิบดี ระบบการลงคะแนนแบบคะแนนรวม ระบบการลงคะแนนแบบผสม ระบบการออกเสียงภาษาบาลี