การจำแนกระบบนิเวศป่าไม้ ของ ระบบนิเวศป่าไม้

ระบบนิเวศป่าไม้ ประกอบด้วยระบบนิเวศย่อยได้แก่ ระบบนิเวศป่าผลัดใบและระบบนิเวศป่าไม่ผลัดใบ

ระบบนิเวศย่อยป่าผลัดใบ (Deciduous forest ecosystem)

-ป่าผสมผลัดใบ (Mixed deciduous forest)ป่าผสมผลัดใบอาจเป็นที่รู้จักกันในอีกชื่อหนึ่งว่า ป่าเบญจพรรณ ลักษณะที่ใช้จำแนกขั้นต้น คือ การที่ต้นไม้เกือบทั้งหมดมีการผลัดใบในช่วงฤดูแล้ง โดยเฉพาะตั้งแต่ปลายเดือนมกราคมจนถึงเดือนเมษายน เรือนยอดป่าคงเหลือแต่กิ่งก้านคล้ายไม้ตายแห้งหมดทั้งป่า ลักษณะที่ใช้ในขั้นถัดไปที่ใช้จำแนกสังคมพืชนี้จากสังคมพืชผลัดใบอื่น ๆ คือ ไม้ดัชนีของสังคมและโครงสร้างทางด้านตั้งเป็นหลัก อาจแบ่งย่อยได้เป็น

-ป่าเต็งรัง (Deciduous dipterocarpforest) การผลัดใบของไม้ส่วนใหญ่ในทุกระดับชั้นเรือนยอด เช่นเดียวกับป่าผสมผลัดใบและไม้ดัชนี ในสังคมพืชซึ่งมีความแตกต่างจากป่าในกลุ่มป่าผลัดใบในสังคมอื่น ๆ อย่างเด่นชัด เช่น ไม้ในวงศ์ยาง(Dipterocarpaceae) ที่ผลัดใบ เช่น เต็ง (Shorea obtusa) รัง (Shorea siamensis) เหียง (Dipterocarpus obtusifolius) พลวง (Dipterocarpus tuberculatus) ยางกราด (Dipterocarpus intricatus) และพะยอม(Shorea roxburghii) เป็นต้น[2]


ระบบนิเวศทุ่งหญ้า จะมีลักษณะเป็นที่ราบ สิ่งมีชีวิตส่วนใหญ่เป็นต้นหญ้า พบได้ในส่วนต่าง ๆ ของโลกหลายทวีป มีอัตราการระเหยของน้ำสูง จึงทำให้สามารถพบสภาวะแห้งแล้งได้ในบางช่วงเวลา ระบบนิเวศทุ่งหญ้าจะสามารถแบ่งได้เป็น 2 ชนิด ดังนี้

-ทุ่งหญ้าเขตอบอุ่น(temperate grassland) เป็นทุ่งหญ้าที่มีต้นหญ้าสูงตั้งแต่ 1.5-8 ฟุต แตกต่างกันไปตามปริมาณน้ำฝน หญ้าในเขตนี้จะมีรากที่หยั่งลึกมากทุ่งหญ้าเขตอบอุ่นที่สำคัญ ได้แก่ ทุ่งหญ้าสเตปส์ (Steppes) ในรัสเซีย ทุ่งหญ้าแพรี่ (Prairie) ในยุโรปตะวันตก เป็นต้น สัตว์ที่พบในระบบนิเวศลักษณะนี้ ได้แก่ วัวไบซัน แอนทีโลป ม้าลาย กระรอก เป็นต้น

-ทุ่งหญ้าเขตร้อน(Tropical grassland forest)ทุ่งหญ้าเขตร้อนจะเป็นเขตที่พบพืชตระกูลหญ้าปกคลุมดิน มีสภาพภูมิอากาศแบบฤดูแล้งยาวนาน ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยรายปีค่อนข้างต่ำพื้นดินส่วนใหญ่ขาดความอุดมสมบูรณ์หรือมีความเค็มสูง พื้นที่ที่มีระบบนิเวศแบบนี้ ได้แก่ ทุ่งหญ้าสะวันนา (Savanna) โดยทั่วไปสังคมพืชที่ประกอบด้วยหญ้าเป็นส่วนใหญ่ และส่วนที่เป็นหญ้ามีการปกคลุมพื้นที่ต่อเนื่องกันไปกว้างมากกว่า 10 เท่า ของความสูงต้นไม้ที่ปรากฏอยู่ มักจำแนกให้เป็นทุ่งหญ้าเขตร้อน หรือหากประเมินพื้นที่หญ้าปกคลุมดินควรมีมากกว่าร้อยละ 70 ทุ่งหญ้าเขตร้อนที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติในประเทศไทยมีพบอยู่น้อยและส่วนใหญ่เป็นพื้นที่เล็ก ๆ บางส่วนได้ถูกทำลายจนเกือบไม่เหลือสภาพเดิมให้เห็นปรากฏอยู่ เนื่องจากสภาพปัจจัยแวดล้อมที่ค่อนข้างแห้งแล้งจัดในช่วงฤดูแล้งและมีไฟป่าเป็นประจำจึงทำให้สังคมนี้มีความหลากหลายในด้านรูปชีวิตของพืชต่ำ หญ้าซึ่งปรับตัวกับสภาพแวดล้อมเช่นนี้ได้ดี[3]

ทุ่งหญ้าสะวันนาในแอฟริกา


ระบบนิเวศย่อยป่าไม่ผลัดใบ (Evergreen forest ecosystem)

-ป่าสนเขาหรือป่าสน (Coniferous Forest หรือ Pine Forest)ป่าสนเขาหรืออาจเรียกอีกอย่างว่า ป่าสนในประเทศไทยมักปรากฏอยู่ตามภูเขาสูงเป็นส่วนใหญ่ซึ่งเป็นพื้นที่ซึ่งมีความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 700 เมตรขึ้นไป โดยทั่วไปมักจะขึ้นอยู่ในที่ซึ่งดินไม่ค่อยมีความอุดมสมบูรณ์มากนัก มีความเป็นกรดสูง มีสภาพภูมิอากาศที่มีอุณหภูมิค่อนข้างต่ำเป็นระยะเวลายาวนานและยังมีความแห้งแล้งที่ป่าดิบปรับตัวได้ยาก[1]

ลักษณะของป่าสนเขาจะเป็นป่าโปร่งไม่ผลัดใบ ซึ่งจะมีเพียงต้นสนเขาปรากฏอยู่เท่านั้นอาจมีพันธุ์ไม้อื่นปรากฏอยู่บ้างแต่ก็พบได้น้อยในสังคมป่าสนเขาจะมีชั้นเรือนยอดด้านตั้ง แยกได้เป็น 3 ชั้นเรือนยอด ดังนี้

  1. เรือนยอดชั้นบนสุด ชั้นนี้จะประกอบด้วยไม้สนสองใบหรือไม้สนสามใบ
  2. เรือนยอดชั้นรอง ประกอบไปด้วยไม้ในป่าดิบเขาระดับต่ำมีความหนาแน่นแตกต่างกันตามสภาพแวดล้อม เช่น ก่อแอบ ก่อสีเสียด กำยาน สลักป่า เป็นต้น
  3. ชั้นพืชคลุมดิน จะขึ้นอยู่กับลักษณะโครงสร้างของป่าที่แปรผันไปตามสภาพแวดล้อมของพื้นที่และลักษณะของความหนาแน่นของเรือนยอดชั้นบน[1]

-ป่าดิบเขา (Montane or Hill evergreen forest)ป่าดิบเขาในประเทศไทยอาจแบ่งย่อยตามลักษณะโครงสร้างของป่าออกเป็นสองสังคมย่อยคือ 1) ป่าดงดิบเขาระดับต่ำ (lower montane forest) เป็นป่าที่ประกอบด้วยไม้ที่สูงใหญ่มีเรือนยอดชั้นบนสูงถึง 30 เมตร มีไม้หนาแน่นและเด่นด้วยไม้ก่อชนิดต่าง ๆ ผสมกับไม้ในสกุลอื่น ๆ ที่อาจพบได้ในป่าดงดิบแล้งบางแห่งในที่สูง ตามต้นไม้มีพืชเกาะติดน้อย พื้นป่ามีซากทับถมที่ไม่หนา พบในระดับความสูงประมาณ 1,200เมตร ถึง 1,800 เมตร และ 2) สังคมย่อยเป็นป่าดงดิบเขาระดับสูง (upper montane forest) มีลักษณะโครงสร้างของสังคมแตกต่างอย่างเด่นชัด คือ เรือนยอดชั้นบนสูงประมาณ 20 เมตร กิ่งก้านคดงอและก่อตัวเป็นก้อนบนกิ่งใหญ่ และตามลำต้นมีมอสส์ และไม้อิงอาศัยเกาะติดหนาแน่น [4] เช่น ป่าดงดิบเขา บนยอดอินทนนท์ที่สูงเกิน 2,000 เมตรขึ้นไป เป็นต้น บางครั้งบนพื้นที่เขาสูงอาจพบป่าละเมาะระดับสูง (scrub forest หรือ Subalpine vegetation) เช่น พบที่ดอยเชียงดาว โดยมีกลุ่มพืชเขตอบอุ่นหลายชนิดขึ้นอยู่ร่วมกันมาก[5]

-ป่าดิบชื้น (Tropical Rain Forest)ป่าดิบชื้นเป็นป่าฝนในเขตร้อน (Tropical rain forest)มีฝนตกชุกเกือบตลอดปี และมีความชุ่มชื้นในดินค่อยข้างสูงสม่ำเสมอตลอดทั้งปี

ป่าดิบชื้นมีลักษณะเป็นป่ารกทึบจะประกอบด้วยพรรณไม้หลากหลาย ซึ่งชนิด ไม้ต้นของเรือนยอดชั้นบน ส่วนใหญ่เป็นไม้วงศ์ยาง-ตะเคียน (Dipterocarpaceae) มีลำต้นสูงใหญ่ตั้งแต่ 30-50 เมตร ถัดลงมา เป็นไม้ต้นขนาดกลางและขนาดเล็กซึ่งสามารถขึ้นอยู่ใต้ร่มเงาของต้นไม้ใหญ่ได้

รวมทั้งต้นไม้ชนิดต่างๆ ในวงศ์ หมากหรือปาล์ม (Plamae) พื้นล่างของป่ารกทึบระเกะระกะไปด้วยไม้พุ่ม พืชล้มลุก ระกำ หวาย ไผ่ต่างๆ เถาวัลย์หลากชนิด ตามลำต้นไม้และกิ่งไม้มักมีพืชอิงอาศัย (epiphyte) พวกเฟิร์น พวกมอส ขึ้นอยู่ทั่วไป พรรณไม้เด่นของวงศ์ Dipterocarpaceae ที่มีความสำคัญสัตว์ในป่าดงดิบชื้นเช่น สมเสร็จ, แรด, กระจงควาย ,กระจงเล็ก ,เก้งหม้อ, นกแว่นสีน้ำตาล,นกหว้า , เต่าจักร,เต่าเดือย ,เต่าทับทิม เป็นต้น[2]

-ป่าดิบแล้ง (Dry Evergreen Forest)ป่าดิบแล้งในประเทศไทยกระจายอยู่ตั้งแต่ตอนบนของทิวเขาถนนธงชัย ปกคลุมลาดเขาทางทิศตะวันตกของทิวเขาตะนาวศรีไปจนถึงจังหวัดเชียงราย ส่วนทางซีกตะวันออกของประเทศ ปกคลุมตั้งแต่ทิวเขาภูพานลงมาถึงทิวเขาบรรทัด ทิวเขาพนมดงรักลงไปจนถึงจังหวัดระยอง ขึ้นไปตามทิวเขาดงพญาเย็น ทิวเขาเพชรบูรณ์จนถึงจังหวัดเลยและน่านป่าดิบแล้งเป็นป่าที่อยู่ในพื้นที่ค่อนข้างราบมีความชุ่มชื้นน้อย ป่าดิบแล้งจะอยู่ในระดับความสูงปานกลางสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 300-600 เมตร ไม้ที่สำคัญได้แก่ มะคาโมง ยางนา พะยอม ตะเคียนแดง กระเบากลัก และตาเสือ[3]

-ป่าชายเลน(mangroves) หรือป่าโกงกาง หรือป่าพังกา

ปลาตีนหรือ(ปลากระจัง)

คือระบบนิเวศที่ประกอบไปด้วยพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ หลายชนิด ดำรงชีวิตร่วมกันในสภาพแวดล้อมที่เป็น ดินเลน น้ำกร่อย และน้ำทะเลท่วมถึงอย่างสม่ำเสมอ ป่าชายเลนจะอยู่ทั่วไปตามบริเวณชายฝั่งทะเล ปากแม่น้ำ ทะเลสาบ อ่าว และรอบเกาะแก่งต่างๆ ซึ่งเป็นบริเวณเขตน้ำขึ้นน้ำลงต่ำสุด ป่าชายเลนมีอยู่เฉพาะในเขตร้อน พรรณไม้ที่ขึ้นอยู่ในป่าชายเลนมีมากมายหลายชนิด เช่น ต้นโกงกาง ต้นแสน ต้นลำพู ต้นจาก เป็นต้น[4]

ประชากรสัตว์ในป่าชายเลน ประกอบด้วย 2 กลุ่มใหญ่ๆ
กลุ่มที่ 1 เป็นสัตว์ทะเลหน้าดิน เช่น พวกโปรโตซัว หอย แมลง และพวกครัสเตเชียน
กลุ่มที่ 2 ปลา ซึ่งมี 4 กลุ่มย่อย

  1. กลุ่มที่อยู่อย่างถาวร เช่น ปูก้ามดาบ , ปูแสม ,ปลาตีน
  2. กลุ่มที่เข้ามาบางช่วงเวลา เพื่ออาหาร,ผสมพันธ์ หรือวางไข่ เช่นกุ้งทะเล ปูทะเล แมงดาทะเล
  3. กลุ่มที่เข้ามาบางฤดูกาล
  4. กลุ่มผู้ล่า

-ป่าชายหาด (Beach Forest) คือผืนป่ารอยต่อระหว่างชายหาดกับผืนแผ่นดิน เป็นป่าแนวตะเข็บหรือเป็นกันชนระหว่างทะเลกับแผ่นดินนั่นเอง ชายหาดคือบริเวณพื้นที่ระหว่างขอบฝั่งกับแนวน้ำลงเต็มที่ (หรืออาจกล่าว คือ พื้นระหว่างน้ำทะเลที่ลงต่ำสุดขึ้นมาจนถึงระดับน้ำทะเลขึ้นสูงสุด) มีลักษณะเป็นแถบยาวไปตามริมฝั่งเกิดขึ้นเนื่องจากการกระทำของคลื่นและกระแสน้ำในทะเลหรือทะเลสาบหรือแม่น้ำ เนื่องจากหาดแต่ละหาดตามประเภทของวัตถุที่พบบนหาดนั้น ๆ คือ หาดทราย หาดหิน หรือ หาดกรวด และหาดโคลน

-ป่าพรุ (swamp forest, peat swamp forest)คือ ป่าในเขตร้อนประเภทไม่ผลัดใบเช่นเดียวกับป่าดงดิบชื้นลักษณะโครงสร้างและความหลากหลายทางชีวภาพที่เป็น เอกลักษณ์แตกต่างจากสังคมพืชป่าไม้ประเภทอื่น มีพื้นที่ลุ่มน้ำขังมีการสะสมของชั้นดินเป็นหล่มเลนและมีซากอินทรีย์วัตถุทับถมทำเช่น ซากพืช,ซากสัตว์, เศษซากของต้นไม้ ใบไม้ ต่างๆ หนาตั้งแต่ 1 - 10 เมตร หรือมากกว่า สภาพความเป็นกรด - เบสของน้ำ ระหว่าง 4.5 -6.1 เพราะดินชั้นล่างมีสารประกอบซัลเฟอร์ในปริมาณที่สูงจนย่อยสลายช้าๆ กลายเป็นดินพีตหรือดินอินทรีย์ที่มีลักษณะหยุ่นยวบเหมือนฟองน้ำที่มีความหนาแน่นน้อยอุ้มน้ำได้มากทำให้ดินยุบลงตัวได้ง่ายพืชที่ขึ้นในป่าพรุจึงมีการพัฒนาและมีความหลากหลาย ส่วนสัตว์ชนิดต่างๆ ก็ต้องมีการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมป่าพรุเป็นป่าที่มีลักษณะเด่นแตกต่างไปจากป่าอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นสภาพป่าขึ้นอยู่ลักษณะของดินหรือองค์ประกอบต่างๆ แต่สภาพป่านั้นแตกต่างจากป่าประเภทอื่นๆโดยสิ้นเชิงดินพรุชั้นล่างมีอายุถึง 6,000-7,000 ปี ส่วนดินพรุชั้นบนอยู่ระหว่าง 700-1,000 ปี
องค์ประกอบต่างๆ ของป่าพรุ

  • สัตว์ในป่าพรุ

เนื่องจากป่าพรุเป็นพื้นที่ลุ่มน้ำขัง จึงมีสัตว์จำพวกปลาอาศัยอยู่จำนวนมากเช่น ปลาดุก ลำพัน ปลาช่อน ปลาชะโด สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำพวกกบ เขียด เป็นต้น สัตว์ปีกจำพวกนก เช่น นกเงือก นกแซงแซวหางบ่วงใหญ่ เป็นต้น และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เช่น ค่างแว่น ลิง เป็นต้น

นกเงือกกบว้ากใหญ่(หมาในน้ำ)
  • พืชพันธุ์ไม้

ป่าพรุจะมีพื้นที่ส่วนใหญ่ประกอบด้วยน้ำและดินอินทรีย์ซึ่งทับถมกันอยู่หลวมๆ ต้นไม้ใหญ่จึงใช้ชีวิตอยู่อย่างยากลำบากจึงมีการพัฒนาระบบรากชนิดพิเศษให้แตกต่างไปจากระบบรากของพืชในป่าประเภทอื่นๆ เช่น พัฒนาเป็นพูพอน รากหายใจ และรากค้ำยันเป็นต้น [6]