การรับรู้ไฟฟ้าและสนามแม่เหล็ก ของ ระบบรับความรู้สึกของปลา

ตัวรับรู้สนามไฟฟ้าแม่เหล็ก (คือ กระเปาะลอเร็นซีนี [ampullae of Lorenzini]) และร่องรับรู้การเคลื่อนไหวที่หัวฉลามการกำหนดที่ตั้งวัตถุด้วยไฟฟ้าแบบแอ็กทิฟ คือวัตถุที่นำไฟฟ้า (Conductance) จะทำให้สนามไฟฟ้าเข้มขึ้น ส่วนวัตถุที่ต้านไฟฟ้า (Resistance) จะทำให้สนามไฟฟ้ากระจายออก

การรับรู้ไฟฟ้า (electroreception, electroception) เป็นสมรรถภาพในการตรวจจับสนามไฟฟ้าหรือกระแสไฟฟ้าปลาบางชนิด เช่นปลาหนังและฉลาม มีอวัยวะที่สามารถตรวจจับศักย์ไฟฟ้าที่อ่อนจนถึงระดับมิลลิโวลต์[24]ปลาอื่น ๆ เช่น ปลาในอันดับปลาไหลไฟฟ้า (Gymnotiformes) สามารถสร้างกระแสไฟฟ้าอย่างอ่อน ๆ ซึ่งใช้นำทางและเพื่อสื่อสารกับปลาพวกเดียวกัน

ฉลามมีกระเปาะลอเร็นซีนี (ampullae of Lorenzini) เป็นอวัยวะรับรู้ไฟฟ้ามีจำนวนเป็นร้อย ๆ ถึงพัน ๆใช้ตรวจจับสนามไฟฟ้าแม่เหล็กที่สิ่งมีชีวิตทั้งหมดสร้าง[25]ซึ่งช่วยฉลาม (โดยเฉพาะปลาฉลามหัวค้อน) หาเหยื่อฉลามไวไฟฟ้ามากที่สุดในบรรดาสัตว์ทั้งหมดสามารถหาเหยื่อที่ซ่อนอยู่ในทรายโดยอาศัยสนามไฟฟ้าที่เหยื่อสร้างกระแสน้ำมหาสมุทรซึ่งวิ่งอยู่ในสนามแม่เหล็กโลกก็สร้างสนามไฟฟ้าที่ปลาสามารถใช้รู้ทิศทาง (orientation) และอาจเพื่อนำทาง (navigation) ด้วย[26]

ปลาดุกไฟฟ้าสามารถสร้างสนามไฟฟ้าแล้วตรวจจับวัตถุใกล้ ๆ ซึ่งรบกวนสนามไฟฟ้า โดยใช้เพื่อนำทางผ่านน้ำขุ่นคือสามารถใช้ความเปลี่ยนแปลงต่อเส้นและความเข้มสนามไฟฟ้าเพื่อระบุลักษณะต่าง ๆ ของวัตถุ/สัตว์รวมทั้งรูปร่าง ขนาด ระยะทาง ความเร็ว และการนำกระแสไฟฟ้าปลาไฟฟ้ายังสามารถสื่อสาร ระบุเพศ อายุ และลำดับชั้นทางสังคมภายในพันธุ์เดียวกันอาศัยสนามไฟฟ้าปลาไฟฟ้าแบบอ่อนในทะเลบางอย่างอาจสร้างเกรเดียนต์สนามไฟฟ้าเพียงแค่ 5 นาโนโวลต์/ซม.[27]

ปลาฉลามปากเป็ดล่าแพลงก์ตอนด้วยตัวรับไฟฟ้าแบบพาสซีฟเล็ก ๆ เป็นพัน ๆ ซึ่งอยู่ที่จมูกยื่น หรือที่เรียกว่า rostrumสามารถตรวจจับสนามไฟฟ้าที่กวัดแกว่งในความถี่ 0.5-20 เฮิรตซ์ซึ่งกลุ่มแพลงก์ตอนกลุ่มใหญ่ที่เป็นอาหารสร้างสัญญาณนี้ขึ้น[28]ปลาไฟฟ้าใช้ระบบรับความรู้สึกแบบแอ็กทิฟเช่นนี้เพื่อตรวจสอบสิ่งแวดล้อมและสร้างภาพไฟฟ้าพลวัต[29]

ในปี 1973 นักวิจัยได้แสดงว่า ปลาแซลมอนแอตแลนติกมีการตอบสนองของระบบสูบฉีดโลหิตอย่างมีเงื่อนไข (conditioned cardiac responses) ต่อสนามไฟฟ้าที่ความเข้มในระดับที่พบในมหาสมุทร"ความไวเช่นนี้อาจทำให้ปลาที่กำลังอพยพสามารถว่ายน้ำตาม หรือทวนกระแสน้ำมหาสมุทรเมื่อไร้หลักที่หมายซึ่งอยู่ก้บที่"[30]

การรับรู้สนามแม่เหล็ก (magnetoception, magnetoreception) เป็นการตรวจจับทิศทางอาศัยสนามแม่เหล็กโลกในปี 1988 นักวิจัยพบเหล็กในรูปแบบแร่แมนีไทต์ (magnetite) แบบ single domain[upper-alpha 2]ในกะโหลกของปลาแซลมอนซ็อกอายโดยมีมากพอที่จะใช้เพื่อรับรู้สนามแม่เหล็ก[31]

ใกล้เคียง

ระบบรู้กลิ่น ระบบรับความรู้สึกของปลา ระบบรางวัล ระบบรวบอำนาจเบ็ดเสร็จ ระบบรัฐสภา ระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในประเทศเกาหลีใต้ ระบบรถไฟฟ้าของรถไฟใต้ดินปักกิ่ง ระบบระบายอากาศ ระบบรองรับ ระบบรับรส

แหล่งที่มา

WikiPedia: ระบบรับความรู้สึกของปลา http://juls.sa.utoronto.ca/Issues/JULS-Vol2Iss1/JU... http://www.buzzle.com/editorials/4-30-2003-39769.a... http://www.karger.com/Article/Abstract/113821 http://www.karger.com/Article/PDF/113821 http://www.karger.com/Article/PDF/316111 http://www.nature.com/nature/journal/v147/n3738/ab... http://shell.cas.usf.edu/motta/Gardiner%20and%20At... //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/10580499 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/16337283 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/16849172