การเห็น ของ ระบบรับความรู้สึกของปลา

การเห็นเป็นระบบรับความรู้สึกที่สำคัญอย่างหนึ่งในสปีชีส์ปลาโดยมากตาปลาคล้ายกับของสัตว์มีกระดูกสันหลังบนบก เช่น นกและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม แต่ก็มีเลนส์ตาที่กลมกว่า จอตาปกติจะมีทั้งเซลล์รูปแท่งและเซลล์รูปกรวยสำหรับทั้งที่แสงสลัวและมีแสงดี ปลาโดยมากเห็นเป็นสีปลาบางอย่างสามารถเห็นรังสีอัลตราไวโอเลตและบางอย่างสามารถเห็นแสงโพลาไรส์ (polarized light)ในบรรดาปลาไม่มีขากรรไกร ปลาแลมป์เพรย์ทะเลมีตาที่วิวัฒนาการมาดี แต่แฮ็กฟิชก็มีเพียงแค่จุดรับแสง (eyespot)[6]ตาปลาจะปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมที่ปลาอยู่ เช่น ปลาทะเลน้ำลึกจะมีตาซึ่งเหมาะกับที่มืด

ปลาและสัตว์น้ำอื่น ๆ มีชีวิตอยู่กับแสงที่ต่างกับสัตว์บกเพราะน้ำดูดแสง ดังนั้น ยิ่งลึกเท่าไร แสงก็น้อยลงเท่านั้นน้ำยังดูดซึมแสงความยาวคลื่นต่าง ๆ อย่างไม่เท่ากัน เช่น จะดูดแสงความยาวคลื่นยาว (เช่น สีแดง สีส้ม) เร็วกว่าแบบความยาวคลื่นสั้น (น้ำเงิน ม่วง) โดยรังสีอัลตราไวโอเลต (ความยาวคลื่นยิ่งสั้นกว่าน้ำเงิน) ก็ถูกดูดอย่างรวดเร็วเช่นกัน[2]นอกจากคุณสมบัติทั่วไปของน้ำเช่นนี้ น้ำในที่ต่าง ๆ อาจดูดซึมแสงความยาวคลื่นต่าง ๆ โดยไม่เหมือนกันเพราะเกลือและสารเคมีอื่น ๆ ที่มีในน้ำ

ใกล้เคียง

ระบบรู้กลิ่น ระบบรับความรู้สึกของปลา ระบบรางวัล ระบบรวบอำนาจเบ็ดเสร็จ ระบบรัฐสภา ระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในประเทศเกาหลีใต้ ระบบรถไฟฟ้าของรถไฟใต้ดินปักกิ่ง ระบบระบายอากาศ ระบบรองรับ ระบบรับรส

แหล่งที่มา

WikiPedia: ระบบรับความรู้สึกของปลา http://juls.sa.utoronto.ca/Issues/JULS-Vol2Iss1/JU... http://www.buzzle.com/editorials/4-30-2003-39769.a... http://www.karger.com/Article/Abstract/113821 http://www.karger.com/Article/PDF/113821 http://www.karger.com/Article/PDF/316111 http://www.nature.com/nature/journal/v147/n3738/ab... http://shell.cas.usf.edu/motta/Gardiner%20and%20At... //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/10580499 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/16337283 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/16849172