การทำงานและผลงานการแสดง ของ รัจนา_พวงประยงค์

นางรัจนา พวงประยงค์ มิใช่จะแสดงละครโขนเก่งแต่เพียงอย่างเดียว นางรัจนา พวงประยงค์ ยังเรียนเก่ง และสอบเข้ารับราชการได้ตั้งแต่ยังเป็นนักเรียนโรงเรียนนาฏศิลป นางรัจนา พวงประยงค์ เริ่มรับเงินเดือนในฐานะเป็นศิลปินสำรอง เดือนละ 15 บาท พอจบชั้นต้นปีที่ 6 (มัธยมปีที่ 6) นางรัจนา พวงประยงค์ ก็สอบเข้าเป็นข้าราชการชั้นจัตวา สังกัดแผนกนาฏศิลป กองการสังคีต กรมศิลปากร (ปัจจุบันคือ สำนักการสังคีต กรมศิลปากร) เมื่อจบหลักสูตรชั้นสูงปีที่ 2 แล้ว นางรัจนา พวงประยงค์ ก็สอบเลื่อนเป็นข้าราชการสามัญชั้นตรี ตำแหน่งศิลปินตรี ปรากฏว่านางรัจนา พวงประยงค์ สอบไม่ได้ ทั้ง ๆ ที่ทำข้อสอบได้ดี นางรัจนา พวงประยงค์ จึงเกิดความน้อยใจไม่ประสงค์ที่จะรับราชการอยู่ที่เดิม จึงไปสมัครสอบเป็นครูที่โรงเรียนนาฏศิลป กองศิลปศึกษา และได้รับการบรรจุให้เป็นครูตรี

นางรัจนา พวงประยงค์ ทำงานในหน้าที่ด้วยความขยันขันแข็ง และเอาใจใส่ในการทำงาน ทั้งด้านการสอนและการแสดง แต่นางรัจนา พวงประยงค์ ก็ไม่ได้รับความดีความชอบเหมือนคนอื่น ๆ จึงเกิดความท้อใจ จึงได้ลาออกไปประกอบอาชีพส่วนตัว โดยการสอนนาฏศิลป์ตามโรงเรียนต่าง ๆ และจัดรายการแสดงรวมทั้งเพลงไทยร่วมกับมิตรสหายทางสถานีวิทยุกระจายเสียงหลายแห่ง แต่ในที่สุดนางรัจนา พวงประยงค์ ก็เกิดความเบื่อหน่ายในกิจการที่ทำ จึงเลิกราไป ครั้งสุดท้ายนางรัจนา พวงประยงค์ ได้เป็นครูสอนนาฏศิลป์ ที่สวนสามพราน นางรัจนา พวงประยงค์ได้ทำงานอยู่ที่แห่งนี้เป็นเวลานานหลายปี ก่อนที่จะกลับไปรับราชการอีกครั้งหนึ่ง

นางรัจนา พวงประยงค์ ในบทการแสดงเป็นนางเมรีขี้เมา ในละครนอกเรื่อง รถเสน

การที่นางรัจนา พวงประยงค์ ได้เข้ารับราชการที่กรมศิลปากรอีกครั้งหนึ่งนั้น ก็เพราะว่า พลเรือตรี สมภพ ภิรมย์ ซึ่งดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมศิลปากรในสมัยนั้น ได้ให้เจ้าหน้าที่ไปเชิญนางรัจนา พวงประยงค์ ไปพบที่กรมศิลปากร พลเรือตรี สมภพ ภิรมย์ ได้ชักชวนให้นางรัจนา พวงประยงค์ กลับเข้ารับราชการที่กรมศิลปากรตามเดิม นางรัจนา พวงประยงค์ ตกลงใจเข้ารับราชการอีกครั้งหนึ่ง โดยได้รับการบรรจุเข้าเป็นอาจารย์พิเศษเป็นการชั่วคราวในวิทยาลัยนาฏศิลป จนกระทั่งงานนาฏศิลป์ กองการสังคีต มีตำแหน่งว่าง นางรัจนา พวงประยงค์ จึงไปสมัครสอบและได้รับการบรรจุให้เป็นนาฏศิลปิน ระดับ 2 ครั้งนั้น นางรัจนา พวงประยงค์ ได้มีโอกาสแสดงโขนแสดงละครของกรมศิลปากรอย่างเต็มที่ จากการสนับสนุนของ นายเสรี หวังในธรรม ผู้อำนวยการกองการสังคีต และนายทวีศักดิ์ เสนาณรงค์ อธิบดีกรมศิลปากร ขณะดำรงตำแหน่งรองอธิบดีกรมศิลปากร โดยมีท่านผู้หญิงแผ้ว สนิทวงศ์เสนี ผู้เชี่ยวชาญนาฏศิลป์ไทยของกรมศิลปากร เป็นผู้อำนวยการฝึกสอนท่ารำอย่างเอาใจใส่ นางรัจนา พวงประยงค์ จึงเป็นผู้แสดงโขนละครรุ่นอาวุโสอีกคนหนึ่ง ที่มีฝีมือถึงขั้นเป็นผู้ช่วยกำกับการแสดงและการฝึกซ้อมการแสดงได้ ซึ่งนางรัจนา พวงประยงค์ ก็ปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวจนเกษียณอายุราชการ

นางรัจนา พวงประยงค์ เคยไปแสดงนาฏศิลป์ไทยที่ต่างประเทศหลายประเทศ เช่น สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สหภาพพม่า ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย มาเลเซีย อินเดีย สิงคโปร์ สหรัฐอเมริกา และสาธารณรัฐประชาชนจีน

นางรัจนา พวงประยงค์ มีผลงานการแสดงโขนละครเป็นตัวเอก เช่น

บทบาทที่นางรัจนา พวงประยงค์ แสดงได้ดีเป็นพิเศษจนได้ชื่อว่ามีความสามารถโดดเด่น คือการแสดงบทบาทและอารมณ์อันสมจริงในบทนางเอกละครนอกแทบทุกเรื่อง ที่นับว่ายอดเยี่ยมคือบทนางเมรีขี้เมา ในเรื่อง รถเสน บทนางวิฬาร์ ในเรื่องไชยเชษฐ์ บทนางแก้วหน้าม้า ตอนรำเย้ยซุ้ม บทนางยี่สุ่น ในเรื่องลักษณวงศ์ บทนางมณฑาตอนลงกระท่อม นอกจากจะเป็นศิลปินที่มีกระบวนรำงามมากแล้ว ยังเป็นครูผู้รักษาขนบประเพณีในการแสดง ถูกต้องครบครันตามแบบฉบับ เป็นนางเอกรูปลักษณ์งดงามแขนอ่อนยากจะหาใครเหมือน นับเป็นศิลปินบทนางที่มีความสามารถสูงส่ง ตีบทได้สมจริงทุกบทบาท ทั้งมีความสง่างาม สมที่เป็นแบบอย่าที่ดีแก่ศิลปินรุ่นหลัง นางรัจนา พวงประยงค์ มีพร้อมทั้งความสามารถในการกำกับการแสดง การออกแบบท่ารำในระบำต่าง ๆ ที่ได้สร้างขึ้นไว้ในกรมศิลปากรหลายชุด มีผลงานการแสดงทั้งในประเทศและต่างประเทศ เป็นครูที่พร้อมด้วยความเมตตาและมีความตั้งใจจริงในการถ่ายทอดความรู้ มีศิษย์เป็นจำนวนมากได้รับการถ่ายทอดวิชาความรู้ไว้ ล่าสุดในพ.ศ. 2554 ได้รับพระราชทานเข็มพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ในงานแสดงโขนรามเกียรติ์ ตอนศึกมัยราพณ์สะกดทัพ ในฐานะศิลปินอาวุโส

นางรัจนา พวงประยงค์ จึงได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (นาฏศิลป์ไทย-ละคร) พ.ศ. 2554[2][3][4]