ประวัติ ของ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย_พุทธศักราช_2560

คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ

วันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 เกิดรัฐประหาร โดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) คณะรัฐประหารมีคำสั่งยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ต่อมาในวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 ได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 ซึ่งกำหนดให้มี คยร. ประกอบด้วยสมาชิก 36 คน สรรหามาจากสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.), สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.), คณะรัฐมนตรี (ครม.), และ คสช. เพื่อร่างรัฐธรรมนูญถาวรฉบับใหม่ วันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 เทียนฉาย กีระนันทน์ ประธาน สปช. ลงนามคำสั่งแต่งตั้ง กยร. ซึ่งมีบวรศักดิ์ อุวรรณโณ เป็นประธาน[1]

ร่างรัฐธรรมนูญฉบับ กยร. เดิมมี 315 มาตรา หลังจากได้รับข้อเสนอของ สปช. แล้ว กยร. ได้ปรับแก้เนื้อหาให้เหลือ 285 มาตรา[4] แต่ในวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2558 สปช. มีมติไม่รับร่างรัฐธรรมนูญของ กยร.[2] ส่งผลให้ สปช. และ กยร. สิ้นสุดลงในวันนั้น

คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ

รัฐธรรมนูญชั่วคราวกำหนดให้ คสช. ตั้ง กรธ. ขึ้นแทน กยร. ชุดเดิม[5] วันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2558 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้า คสช. จึงแต่งตั้ง กรธ. โดยมีมีชัย ฤชุพันธุ์ เป็นประธาน[3]

สมาชิกคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ มีดังนี้

  1. มีชัย ฤชุพันธุ์ (ประธาน)
  2. กีระณา สุมาวงศ์
  3. รองศาสตราจารย์ ดร.จุรี วิจิตรวาทการ
  4. ศาสตราจารย์ ดร.ชาติชาย ณ เชียงใหม่
  5. ธนาวัฒน์ สังข์ทอง
  6. รองศาสตราจารย์ ธิติพันธุ์ เชื้อบุญชัย
  7. เธียรชัย ณ นคร

  1. นรชิต สิงหเสนี
  2. พลเอก นิวัติ ศรีเพ็ญ
  3. ปกรณ์ นิลประพันธ์
  4. ประพันธ์ นัยโกวิท
  5. ภัทระ คำพิทักษ์
  6. ภุมรัตน ทักษาดิพงศ์
  7. พลตรี วิระ โรจนวาศ
  1. ศาสตราจารย์ ดร.ศุภชัย ยาวะประภาษ
  2. สุพจน์ ไข่มุกด์
  3. ดร.อมร วาณิชวิวัฒน์
  4. อภิชาต สุขัคคานนท์
  5. ศาสตราจารย์ ดร.อุดม รัฐอมฤต
  6. อัชพร จารุจินดา
  7. พลเอก อัฏฐพร เจริญพานิช

กรธ. ชุดนี้พ้นจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2561[6][7]

เนื้อหาร่างรัฐธรรมนูญ

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของชุดว่าด้วย
การเมืองการปกครองไทย
  • ประธาน
    • ไสลเกษ วัฒนพันธุ์

  • ประธาน
    • ปิยะ ปะตังทา

  • ประธาน
    • วรวิทย์ กังศศิเทียม

สถานีย่อยประเทศไทย

29 มกราคม พ.ศ. 2559 กรธ. ได้เผยแพร่ร่างรัฐธรรมนูญเบื้องต้นผ่านเว็บไซต์ของรัฐสภา[8]

30 มีนาคม พ.ศ. 2559 หนังสือพิมพ์ สเตรดไทมส์ เขียนว่า ร่างรัฐธรรมนูญดังกล่าวจะให้คณะผู้ยึดอำนาจการปกครองมีอำนาจในรัฐสภาอีกห้าปี โดยจะได้แต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ทั้ง 250 คน โดยสงวนหกที่นั่งไว้ให้ผู้บัญชาการทหารและตำรวจ นอกจากนี้ ในกรณีที่เกิดวิกฤตการณ์ ยังมีบทเฉพาะกาลให้สภาผู้แทนราษฎรเลือกนายกรัฐมนตรีที่มิได้มาจากการเลือกตั้ง[9]

10 เมษายน พ.ศ. 2559 หนังสือพิมพ์ ประชาไท ลงว่า ร่างรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวตัดสิทธิของบุคคลได้รับบริการสาธารณสุขของรัฐ "อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ" แต่กำหนดให้เป็น "หน้าที่ของรัฐ"[10]

เนื้อหาในรัฐธรรมนูญชุดนี้ที่เปลี่ยนไป มีการตัดมาตรา 5 องค์กรแก้วิกฤต แก้ไขมาตรา 12 คุณสมบัติองคมนตรีที่ต้องไม่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) หรือดำรงตำแหน่งทางการเมือง มาตรา 15 อำนาจการแต่งตั้งและการให้ข้าราชการในพระองค์พ้นจากตำแหน่งขึ้นอยู่กับพระราชอัธยาศัย มาตรา 16 มาตรา 17 การตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์หรือไม่ก็ได้ เมื่อพระมหากษัตริย์จะไม่ประทับอยู่ในราชอาณาจักร มาตรา 19 ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ซึ่งเคยได้รับการแต่งตั้งและปฏิญาณตนมาแล้ว ไม่ต้องปฏิญาณตนที่รัฐสภาอีก และมาตรา 182 เกี่ยวกับเรื่องผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ[11] รวมทั้งการเพิ่ม มาตรา 65 ที่บัญญัติให้มีการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ[12]

การลงประชามติและประกาศใช้

26 มีนาคม พ.ศ. 2559 โฆษก กรธ. แถลงว่า กรธ. พิจารณาร่างรัฐธรรมนูญเสร็จแล้ว ต่อมาวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2559 สนช. พิจารณาร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. .... วาระ 2 และ 3 ตามที่คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งมีเนื้อหาห้ามรณรงค์ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ[13] 9 เมษายน พ.ศ. 2559 สนช. เห็นชอบเป็นเอกฉันท์ให้เพิ่มคำถามประชามติให้สมาชิกวุฒิสภาชุดแรกตามรัฐธรรมนูญฉบับนี้มีอำนาจลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีด้วยหรือไม่[14]

19 เมษายน พ.ศ. 2559 คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กำหนดให้วันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2559 เป็นวันออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ[15]

แถบผลคะแนนจากการออกเสียงประชามติในประเด็นร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
เห็นชอบ :
61.35 (16,820,402)
ไม่เห็นชอบ :
38.65 (10,598,037)
แถบผลคะแนนจากการออกเสียงประชามติในประเด็นเพิ่มเติมว่าด้วยบทเฉพาะกาลในร่างรัฐธรรมนูญ
เห็นชอบ :
58.07 (15,132,050)
ไม่เห็นชอบ :
41.93 (10,926,648)

7 สิงหาคม พ.ศ. 2559 ในการออกเสียงประชามติ ผลปรากฏว่า ร่างรัฐธรรมนูญและคำถามพ่วงเรื่องอำนาจลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีของสมาชิกวุฒิสภาชุดแรกตามรัฐธรรมนูญนี้ได้รับความเห็นชอบด้วยคะแนนข้างมากของผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง จากนั้น กรธ. นำร่างรัฐธรรมนูญไปปรับปรุงในบางมาตราและในบทเฉพาะกาลเพื่อให้เข้ากับคำถามพ่วงเป็นเวลา 30 วัน หลังจากนั้น ส่งร่างคืนนายกรัฐมนตรีให้นำขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อให้ทรงลงพระปรมาภิไธยประกาศใช้เป็นกฎหมายต่อไป

วันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2560 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวประทับพระราชอาสน์หน้าพระที่นั่งพุดตานกาญจนสิงหาสน์เพื่อลงพระปรมาภิไธยในร่างรัฐธรรมนูญและประทับตราพระราชลัญจกร นับเป็นพระราชพิธีประกาศใช้รัฐธรรมนูญครั้งแรกในรอบเกือบ 50 ปี[16]

อนึ่ง ก่อนที่พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวจะทรงลงพระปรมาภิไธยประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 นั้น ได้ทรงมอบ "ข้อสังเกตพระราชทาน" และให้รัฐบาลแก้ไขให้เป็นไปตามข้อสังเกตดังกล่าว[17] ได้แก่ มาตรา 5, 17 และ 182[18] ใจความสำคัญคือ 1) ตัดข้อความที่ให้ศาลรัฐธรรมนูญเรียกประชุมประมุขสามอำนาจเพื่อแก้ไขวิกฤตการเมือง, 2) พระมหากษัตริย์ไม่จำเป็นต้องแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ และ 3) ผู้รับสนองกฎหมาย พระบรมราชโองการและประกาศพ้นจากความรับผิดชอบ[19] เป็นการแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญตามพระราชประสงค์หลังจากมีประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญแล้ว

ใกล้เคียง

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย รัฐธรรมนูญสหรัฐ รัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรเบลเยียม รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 รัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 รัฐธรรมนูญเมจิ

แหล่งที่มา

WikiPedia: รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย_พุทธศักราช_2560 http://www.bbc.com/thai/thailand-38977996 http://www.bbc.com/thai/thailand-39538186 http://news.ch3thailand.com/politics/77646 http://www.khaosodenglish.com/politics/2017/04/06/... http://www.posttoday.com/politic/425641 http://www.straitstimes.com/asia/thailands-new-dra... http://tnnthailand.com/content/6698 http://prachatai.org/journal/2016/04/65181 http://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Inf... http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsi...