การยึดทรัพย์นักการเมือง ของ รัฐประหารในประเทศไทย_พ.ศ._2534

เราเห็นว่าระบอบนี้ ถ้าจะดำเนินการต่อไปนั้น บ้านเมืองก็จะมีแต่ความล่มจม เพราะว่าทุกพรรคหรือนักการเมืองที่เข้ามา ต่างคนต่างฝ่ายก็มุ่งหน้าหาเงินเข้าพรรค เพื่อจะใช้ในการเลือกตั้ง เพื่อจะเอาชนะในการเลือกตั้ง จนมีคำกล่าวกันว่าคณะรัฐมนตรีแบบที่เป็นอยู่นั้น เขาเรียกว่า "บุฟเฟต์ คาบิเน็ต" คือเข้ามาเพื่อแย่งกันกิน

พลเอกสุจินดา คราประยูรซึ่งเป็นผู้มีบทบาทมากที่สุดในครั้งนั้นกล่าวกับบรรณาธิการของหนังสือพิมพ์ทุกฉบับในเช้าวันอาทิตย์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534

รุ่งขึ้น "ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับที่ 26" ลงนามโดย พลเอกสุนทร คงสมพงษ์ ก็ปรากฏออกมา แต่งตั้ง ให้ พลเอกสิทธิ จิรโรจน์ อดีตรัฐมนตรีว่ากระทรวงมหาดไทยเป็นประธานกรรมการตรวจสอบทรัพย์สิน มีนายสุธี อากาศฤกษ์ นายมงคล เปาอินทร์ นายไพศาล กุมาลย์วิสัย นายสุชาติ ไตรประสิทธิ์ พลตำรวจโทวิโรจน์ เปาอินทร์ และนายชัยเชต สุนทรพิพิธ ร่วมเป็นกรรมการ ให้อำนาจในการอายัดและห้ามจำหน่ายจ่ายโอนทรัพย์สินของนักการเมืองที่มีพฤติกรรมอันอาจส่อแสดงว่ามีทรัพย์สินร่ำรวยผิดปรกติ

รัฐมนตรีที่ถูกประกาศอายัดทรัพย์

พรรคชาติไทย 12 คน
พรรคกิจสังคม 5 คน
พรรคประชาธิปัตย์ 3 คน
พรรคราษฎร 2 คน
พรรคประชากรไทย 1 คน
พรรคเอกภาพ 1 คน
พรรคมวลชน 1 คน

พร้อมๆ กันนั้น มีความเคลื่อนไหวทาง นาวาอากาศตรีฐิติ นาครทรรพ อดีตนายทหารอากาศที่สนิทสนมกับ พลอากาศเอกเกษตร โรจนนิล ผู้บัญชาการทหารอากาศประกาศจัดตั้งพรรคการเมืองขึ้นใหม่ ในช่วงแรกเรียกกันติดปากว่า “พรรคทหาร” กระทั่งได้ชื่อว่า “พรรคสามัคคีธรรม” ในที่สุดในทันทีที่นายณรงค์ วงศ์วรรณพ้นจากการถูกอายัดทรัพย์ ก็ได้รับเลือกให้เป็นหัวหน้าพรรคสามัคคีธรรม

ไม่เพียงแต่พรรคเอกภาพเท่านั้นที่สูญเสียหัวหน้าพรรค ในส่วนของพรรคชาติไทย พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ ก็ลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคและสมาชิกพรรคชาติไทยเช่นกัน และโดยการดำเนินการทางการเมือง พลอากาศเอกสมบุญ ระหงษ์ ผู้อำนวยการการท่าอากาศยานฯ อดีตนายทหารอากาศก็ได้รับเชิญให้ดำรงตำแหน่งแทน ขณะที่พรรคกิจสังคมเปิดตำแหน่งเลขาธิการพรรคให้แก่ พลโทเขษม ไกรสรรณ์ เพื่อนร่วมโรงเรียนอำนวยศิลป์ของ พลเอกสุจินดา คราประยูร และรัฐมนตรีที่ได้รับการปล่อยตัวจากประกาศยึดทรัพย์ก็สมัครเป็นสมาชิกพรรคสามัคคีธรรมโดยพร้อมเพรียง ทั้งนายประมวล สภาวสุ นายไชยศิริ เรืองกาญจนเศรษฐ์และนายสันติ ชัยวิรัตนะ

ผลการตรวจสอบทรัพย์สิน นักการเมือง 10 คนซึ่งยังมีคดี “ร่ำรวยผิดปกติ” อยู่ในระหว่างการพิจารณา ประกอบด้วย พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ นายพิทักษ์ อินทรวิทยนันท์ นายเสนาะ เทียนทอง นายวัฒนา อัศวเหม พลตำรวจเอกประมาณ อดิเรกสาร นายภิญญา ช่วยปลอด นายสุบิน ปิ่นขยัน นายมนตรี พงษ์พานิช นายประมวล สภาวสุ และ ร้อยตำรวจเอกเฉลิม อยู่บำรุง[1][2]

ใกล้เคียง

รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549 รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 รัฐประหารในประเทศไทย รัฐประหาร รัฐประหารในประเทศพม่า พ.ศ. 2564 รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2490 รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2519 รัฐประหารในอิหร่าน พ.ศ. 2496 รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2534 รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2500