ความเป็นมา ของ รัฐพิธีเปิดประชุมรัฐสภาไทย

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของชุดว่าด้วย
การเมืองการปกครองไทย
  • ประธาน
    • เมทินี ชโลธร

  • ประธาน
    • ปิยะ ปะตังทา

  • ประธาน
    • วรวิทย์ กังศศิเทียม

สถานีย่อยประเทศไทย

เดิมที่เมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครองราชย์ พระองค์ทรงพระพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ตั้งสภากรรมการองคมนตรีขึ้น และมีการประชุมขึ้นครั้งแรกในวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2470 พระองค์ได้พระราชทานพระราชดำรัสให้เจ้าพระยามหิธร ราชเลขาธิการ อัญเชิญไปอ่านในการเปิดประชุมในครั้งนั้น โดยมีใจความตอนหนึ่งว่า[1]

…ท่านย่อมทราบแล้วว่าตำนานของกรุงสยามตั้งแต่โบราณกาลมาการปกครองประเทศย่อมอยู่ในพระราชอำนาจอันสิทธิ์ขาดของสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินพระองค์เดียว แต่เมื่อบ้านเมือง เจริญขึ้น มีราชการมากขึ้น สมเด็จพระเจ้าแผ่นดินก็ได้ทรงตั้งแต่งผู้ที่ทรงวางพระราชหฤทัยเป็นเสนาบดี ให้บังคับบัญชากระทรวง ทบวงการต่าง ๆ เพื่อปลดเปลื้องพระราชภาระ…— เจ้าพระยามหิธร ผู้แทนพระองค์ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว[1]


การประชุมรัฐสภาไทย ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม

กระทั่งเกิดการการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475 ซึ่งใช้เป็นธรรมนูญปกครองแผ่นดินชั่คราวในขณะนั้นมิได้บัญญัติในเรื่องดังกล่าว กระนั้นก็ตาม จึงได้อาศัยประเพณีข้างต้นมาปฏบัติโดยอนุโลม เมื่อมีการประชุมสภาผู้แทนราษฎรขึ้นครั้งแรกในวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม ซึ่งใช้เป็นสถานที่ประชุมสภาขึ้นชั่วคราว พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้เจ้าพระยามหิธร เสนาบดีกระทรวงมุรธาธร อัญเชิญพระราชดำรัสไปอ่านเปิดการประชุม ความว่า[3]

วันนี้ สภาผู้แทนราษฎรได้ประชุมเป็นครั้งแรก นับว่าเป็นการสำคัญอันหนึ่งในประวัติการณ์ของประเทศอันเป็นที่รักของเรา ข้าพเจ้าเชื่อว่า ท่านทั้งหลายคงจะตั้งใจที่จะช่วยกันปรึกษาการงานเพื่อนำความเจริญรุ่งเรืองมาสู่ประเทศสยามสืบไป และเพื่อรักษาความอิสรภาพของไทยไว้ชั่วฟ้าและดิน ข้าพเจ้าขออำนวยพร แก่บรรดาผู้แทนราษฎรทั้งหลายให้บริบูรณ์ด้วยกำลังกาย กำลังปัญญา เพื่อจะได้ช่วยกันทำการให้สำเร็จตามความประสงค์ของเราและของท่านซึ่งมีจุดมุ่งหมาย อันเดียวกันทุกประการเทอญ— เจ้าพระยามหิธร ผู้แทนพระองค์ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว[1]

กระทั่งมีการกำหนดรัฐพิธีเปิดประชุมรัฐสภาขึ้นเป็นครั้งแรกในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 มาตรา 30 วรรคสอง ว่า "พิธีเปิดประชุม จะทรงพระกรุณาเสด็จพระราชดำเนิรมาทรงทำ หรือจะโปรดเกล้าฯ ให้รัชชทายาทที่บรรลุนีติภาวะแล้วหรือนายกรัฐมนตรีกระทำพิธีแทนพระองค์ก็ได้"[4] นับเป็นครั้งแรกที่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับพิธีนี้

นับแต่นั้นเป็นต้นมา เมื่อมีการเรียกประชุมรัฐสภาหรือสภาอันใดที่มีความหมายเดียวกันขึ้นเป็นสมัยแรกของสภานั้น พระมหากษัตริย์จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมเสด็จพระราชดำเนินไปทรงประกอบพิธี หรืออาจทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดเกล้ากระหม่อมให้ผู้แทนพระองค์ไปในพิธีดังกล่าวเสมอ

แม้ต่อมาจะมีการสร้างอาคารรัฐสภาขึ้นใหม่ทดแทนการใช้โถงพิธีพระที่นั่งอนันตสมาคมแล้ว แต่ยังคงประกอบรัฐพิธีเปิดประชุมรัฐสภา ณ โถงพิธีพระที่นั่งอนันตสมาคมเช่นเดิม เว้นแต่จะกำหนดเป็นที่อื่นเป็นครั้้ง ๆ ไป

แหล่งที่มา

WikiPedia: รัฐพิธีเปิดประชุมรัฐสภาไทย http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2475/A/... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/A/... https://mgronline.com/politics/detail/949000015439... https://workpointnews.com/2019/05/17/2parliament-k... https://www.youtube.com/watch?v=AvtajN-LfSg https://www.youtube.com/watch?v=JqpAKOtEOOU https://www.youtube.com/watch?v=qkfyEwCwmXM https://www.youtube.com/watch?v=tEQ_N2LH6Yk https://www.matichon.co.th/prachachuen/news_150383... https://www.parliament.go.th/ratpiti/rattapite.htm