สมาชิกผู้ก่อตั้งและการขยายตัว ของ รัฐสมาชิกเนโท

เนโทก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2492 ผ่านการลงนามในสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (สนธิสัญญาวอชิงตัน) ประกอบด้วยสมาชิกผู้ก่อตั้งซึ่งอยู่ในฝ่ายสัมพันธมิตร จำนวน 12 รัฐสมาชิก ได้แก่ แคนาดา เดนมาร์ก นอร์เวย์ เนเธอร์แลนด์ เบลเยียม โปรตุเกส ฝรั่งเศส ลักเซมเบิร์ก สหรัฐ สหราชอาณาจักร อิตาลี และไอซ์แลนด์ [4]

ฝ่ายสัมพันธมิตรทั้งหมดนี้ได้ลงนามในข้อตกลงออตตาวา[5] ซึ่งเป็นเอกสารใน พ.ศ. 2494 กำหนดให้ความคุ้มครองพลเรือนของฝ่ายสัมพันธมิตร[5][6]

สมาชิกปัจจุบันประกอบด้วย 31 ประเทศ นอกจาก 12 ประเทศผู้ก่อตั้งแล้ว ยังมีสมาชิกใหม่อีก 4 รายที่เข้าร่วมในช่วงสงครามเย็น ได้แก่ กรีซและตุรกี (พ.ศ. 2495) เยอรมนีตะวันตก (พ.ศ. 2498) และสเปน (พ.ศ. 2525) ใน พ.ศ. 2533 ดินแดนของอดีตเยอรมนีตะวันออกเพิ่มเข้ามาจากการรวมประเทศเยอรมนี เนโทขยายตัวเพิ่มเติมขึ้นอีกหลังสงครามเย็น ได้แก่ โปแลนด์ สาธารณรัฐเช็ก และฮังการี (พ.ศ. 2542) บัลแกเรีย โรมาเนีย ลัตเวีย ลิทัวเนีย สโลวาเกีย สโลวีเนีย และเอสโตเนีย (พ.ศ. 2547) โครเอเชียและแอลเบเนีย (พ.ศ. 2552) มอนเตเนโกร (พ.ศ. 2560) มาซิโดเนียเหนือ (พ.ศ. 2563) และฟินแลนด์ (พ.ศ. 2566) จากดินแดนและสมาชิกที่เพิ่มเข้ามาระหว่าง พ.ศ. 2533–2566 ทั้งหมดเคยเป็นส่วนหนึ่งของสนธิสัญญาวอร์ซอ (รวมถึงรัฐบอลติกเดิมของสหภาพโซเวียต) หรือดินแดนของอดีตยูโกสลาเวียยกเว้นฟินแลนด์ ไม่มีประเทศใดออกจากเนโทนับตั้งแต่ก่อตั้ง

ในปัจจุบัน องค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือมีพื้นที่ครอบคลุมทั้งหมด 27,131,087 ตารางกิโลเมตร (10,475,371 ตารางไมล์) นับตั้งแต่การภาคยานุวัติของฟินแลนด์เมื่อวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2566

ความต้องการเข้าร่วมเป็นสมาชิก

ข้อมูลเมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2566 มีรัฐจำนวน 4 รัฐได้แจ้งเนโทอย่างเป็นทางการถึงความต้องการเข้าร่วมเป็นสมาชิกกับเนโท ได้แก่ บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา จอร์เจีย สวีเดน และยูเครน[3]

  • สมาชิกเนโทเห็นพ้องกันในการประชุมสุดยอดบูคาเรสต์ พ.ศ. 2551 ว่าจอร์เจียและยูเครน "จะกลายเป็นสมาชิกของเนโทในอนาคต"[7]
  • บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนาได้รับคำเชิญจากเนโทในการเข้าร่วมแผนปฏิบัติการสมาชิกภาพ (Membership Action Plan: MAP) ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2553[7]
  • ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2565 ฟินแลนด์และสวีเดนได้ยื่นหนังสือสมัครอย่างเป็นทางการเพื่อเข้าร่วมเป็นสมาชิกเนโทพร้อมกัน[8][9]
    • ฟินแลนด์เข้าร่วมเป็นสมาชิกเมื่อวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2566
    • ณ วันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2566 ประเทศสมาชิกทั้งหมดยกเว้นฮังการีและตุรกีได้ให้สัตยาบันในพิธีสารภาคยานุวัติของสวีเดน โดยทั้งสองชาติให้คำมั่นว่าจะให้สัตยาบันภายในเดือนตุลาคม[10]

ใกล้เคียง

รัฐสมาชิกเนโท รัฐสมาชิกสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รัฐสมาชิกองค์การความร่วมมืออิสลาม รัฐสมาชิกสหประชาชาติ รัฐสมาชิกเครือจักรภพแห่งประชาชาติ รัฐสมาชิกสหภาพยุโรป รัฐสมาชิก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมของไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการของไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยของไทย

แหล่งที่มา

WikiPedia: รัฐสมาชิกเนโท http://www.nato.int/cps/en/natohq/faq.htm https://ndisc.nd.edu/news-media/news/the-addition-... https://www.nato.int/cps/en/natolive/topics_49212.... https://www.nato.int/cps/en/natohq/topics_52044.ht... https://www.nato.int/cps/en/natohq/topics_49212.ht... https://www.nato.int/cps/en/natohq/topics_49594.ht... https://www.nato.int/cps/en/natohq/topics_52535.ht... https://www.nato.int/cps/en/natohq/declassified_16... https://www.nato.int/nato_static_fl2014/assets/pdf... https://scholarlycommons.law.emory.edu/cgi/viewcon...