รายพระนามกษัตริย์ ของ ราชวงศ์หรยังกะ

พระเจ้าพิมพิสาร

ดูบทความหลักที่: พระเจ้าพิมพิสาร
พระเจ้าพิมพิสาร แห่ง มคธทรงประทับอยู่ที่เวฬุวัน; ศิลปกรรมจาก สาญจี

พระเจ้าพิมพิสารครองราชย์ตั้งแต่ปี 545-493 ก่อนคริสตกาล ขอบเขตของอาณาจักรของพระองค์ถูกกล่าวถึงใน มหาวงศ์ พระองค์มีที่ปรึกษาคนสำคัญคือ โสณโกฬิวิสะ, สุมานะ, อำมาตย์โกลิยะ, กุมภโกสกะ และ ชีวก

ทั้งตำราทางศาสนาเชนและตำราทางศาสนาพุทธอ้างว่ากษัตริย์เป็นสาวกของพวกศาสนานั้น โดย อุตตรธัมมยานาสูตร กล่าวว่าพระองค์เป็นสาวกของ มหาวีระ ในขณะที่ พระสุตตันตปิฎก กล่าวว่าพระองค์และ พระเขมาเถรี พระมเหสีเป็นสาวกของ พระโคตมพุทธเจ้า ในตอนหลังได้กล่าวเพิ่มเติมว่าพระองค์ทรงมีรับสั่งแต่งตั้ง ชีวกโกมารภัจจ์ เพื่อช่วยเหลือ พระภิกษุสงฆ์ [5] และพระองค์ยังได้อภิเษกกับ พระนางโกศลเทวี พระขนิษฐาของ พระเจ้าปเสนทิโกศล อีกด้วย[6]

อ้างอิงจากบันทึกของ George Turnour และ N.L. Dey กล่าวว่าพระเจ้าพิมพิสาร มีพระบิดาคือ พระเจ้าภัททิยะ แต่ ปุราณะ เรียกพระนามว่า เหมชิต, เกษมชิต, กเษตโรจา และตำราภาษาทิเบตกล่าวถึงเขาว่า มหาปัทมะ[7]

พระเจ้าอชาตศัตรู

ดูบทความหลักที่: พระเจ้าอชาตศัตรู
พระเจ้าอชาตศัตรูใชแคทะพัลต์บุกตีเมืองลิจฉวี

พระเจ้าอชาตศัตรูครองราชย์ตั้งแต่ปี 493-462 ก่อนคริสตกาล[5] พระองค์ทรงอภิเษกกับ พระนางวชิรา องค์หญิงแห่งแคว้นโกศล[8]

ในข้อมูลบางส่วนกล่าวว่าพระเจ้าพิมพิสารถูกคุมขังและถูกพระเจ้าอชาตศัตรูสังหาร เพื่อความยิ่งใหญ่ของราชวงศ์ พระเจ้าอชาตศัตรูมีชีวิตอยู่ร่วมสมัยกับ มหาวีระ (599–527 ปีก่อนคริสตกาล) และ พระโคตมพุทธเจ้า (563–483 ปีก่อนคริสตกาล) พระองค์ทรงทำสงครามกับ แคว้นวัชชี ที่ปกครองโดย พระเจ้าลิจฉวี และพิชิต เมืองเวสาลี ได้สำเร็จ[8]

พระเจ้าอุทัยภัทร

ดูบทความหลักที่: พระเจ้าอุทัยภัทร

พระเจ้าอุทายิน หรือ พระเจ้าอุทัยภัทร ได้รับการกล่าวถึงในตำราพุทธศาสนาและเชนในฐานะรัชทายาทของพระเจ้าอชาตศัตรู อย่างไรก็ตาม ปุรณะ กล่าวถึงเขาในฐานะกษัตริย์องค์ที่สี่รองจาก พระเจ้าทาสกะ[9]

กษัตริย์รุ่นหลัง

ปุรณะ กล่าวว่า นันทิวรธัน และ มหานันทิน ว่าเป็นเชื้อสายของของพระเจ้าอุทัยภัทร แต่ในบันทึกของศาสนาพุทธกล่าวว่า พระเจ้าอนุรุทธะ, พระเจ้ามุณฑะ และ พระเจ้านาคทาสกะ เป็นรัชทายาทของพระเจ้าอุทัยภัทร[9]