อ้างอิง ของ ราชวงศ์อาหม

  1. Gogoi 1968:253 ในพงศาวดารอาหมบุราณจีหลายแห่งกล่าวว่าพระองค์เสด็จออกมาจากเมืองมาวหลวง แต่ชาวไตบางส่วนเชื่อว่าพระองค์เสด็จออกมาจากเมืองมีด (Mong Mit) ไม่ใช่เมืองมาว ในปี ค.ศ. 1227 และในปี ค.ศ. 1209 พระองค์ได้ครองเมืองมีด ทันใดนั้นพระเจ้าเสือข่านฟ้า กษัตริย์แห่งเมืองมาว ได้เสด็จมาโจมตีเมืองมีด
  2. Gogoi 1968:273. ถูกลอบปลงพระชนม์โดยกษัตริย์ชุติยะขณะเสด็จพระราชดำเนินทางชลมารคด้วยกัน
  3. Gogoi 1968:274. ท้าวคำถี่ทรงอยู่ภายใต้พระมเหสีมากเกินไป ขุนนางผู้ใหญ่จึงพร้อมใจกันลอบปลงพระชนม์
  4. Gogoi 1968:274-275. เจ้าฟ้าเสือดังประสูติแต่พระมเหสีองค์ที่สองพระท้าวคำถี่ในหมู่บ้านพราหมณ์แห่งฮาบุง
  5. Gogoi 1968:282, พระองค์ถูกลอบปลงพระชนม์โดยชนเผ่าไทตุรุง เพื่อแก้แค้นที่พระองค์ลงโทษพวกเขาในข้อหาลักทรัพย์
  6. Gogoi 1968:309. พระองค์ถูกลอบปลงพระชนม์ตามการวางแผนของเจ้าฟ้าเสือกลืนเมือง พระราชโอรสของพระองค์
  7. Gogoi 1968:386. พระองค์ถูกเหล่าขุนนางปลดออกจากตำแหน่ง เนื่องจากพระองค์ยืนยันที่นำบุตรชายของเหล่าขุนนางฝังทั้งเป็นไว้ในหลุมศพ (มอยด้ำ) ของพระโอรสบุญธรรม ภายหลังพระองค์ได้ถูกลอบปลงพระชนม์โดยพระนัดดา (เป็นบุตรของพระอนุชา) และได้ตำแหน่งกษัตริย์แห่งอาหมต่อไป
  8. Gogoi 1968:391-392. พระองค์ร่วมกับพระอัครมเหสีแต่งตั้งพระโอรสและขุนนางที่ไม่เป็นที่น่าพึงพอใจ ภายหลังพระองค์จึงถูกปลด และถูกลอบปลงพระชนม์โดยพระราชโอรสของพระองค์เองซึ่งต่อมาได้ครองราชย์เป็นเจ้าฟ้าเสือดำมา
  9. Gogoi 1968:448. เจ้าฟ้าเสือเปิงเมืองเป็นพระนัดดาแห่งเสือเลง (เทวราชา) ซึ่งเป็นพระราชโอรสในเจ้าฟ้าเสือห่ม
  10. Gogoi 1968:479-482 พระองค์ถูกพระอนุชาธิราชเข้าบุกรุกพระราชวัง ภายใต้การยุยงของละศัม เทเพรา (Lasham Debera) ในวันรุ่งขึ้นอุทัยยาทิตยะถูกส่งไปยังเจ้รายดอยและถูกลอบปลงพระชนม์ด้วยยาพิษ ส่วนพระมเหสีทั้งสามพระองค์ก็ถูกประหารชีวิต
  11. Gogoi 1968:484 รามธวัช สิงห์ ถูกวางยาพิษลอบปลงพระชนม์โดยการวางแผนของเทเพรา บอร์บารัว (Debera Borbarua) เมื่อพระองค์ทรงตรวจสอบอำนาจของเขา
  12. Gogoi 1968:486 ถูกปลดโดยเทเพรา บอร์บารัว ภายหลังก็ได้ประหารชีวิตพระองค์พร้อมด้วยพระมเหสีและพระอนุชาของพระมเหสี
  13. โคบาร์ ราชาเป็นพระโอรสในสารังคะ (Saranga) ซึ่งเป็นพระโอรสในเสือแท่น (Su Ten) พระราชโอรสในเจ้าฟ้าเสือห่ม
  14. Gogoi 1968:486-488 โคบาร์ ราชา ถูกปลดและถูกประหารโดยสาไรฆาติยะ (Saraighatia ผู้นำแห่งสาไรฆาต/กูวาหติ) นำโดยอะตัน บุรฮาโกฮาอิน (Atan Burhagohain) โดยเป้าหมายของเขาคือกำจัดเทเพรา บอร์บารัว ที่ตั้งโคบาร์ราชา เพื่อเป็นหุ่นเชิด
  15. Gogoi 1968:489 พระองค์ทรงถูกอะตัน บุรฮาโกฮาอิน วางแผนประทุษร้ายจนเกิดการต่อสู้กัน โดยพระองค์พ่ายแพ้ต่อสงคราม พระองค์ทรงพยายามหลบหนีไปยังครหคาออน แต่ถูกจับได้ พระองค์ถูกควักพระเนตร ท้ายที่สุดพระองค์ได้ทำร้ายพระเศียรด้วยก้อนหินจนสวรรคต พระศพถูกฝังในเจ้รายดอย
  16. Gogoi 1968:490 พระองค์เป็นพระโอรสใน เสือแตง (Su Teng) เป็นพระโอรสองค์ที่สามในเจ้าฟ้าเสือห่มเมือง
  17. Gogoi 1968:492-493 เจ้าเสือเย็นฟ้าถูกปลดโดยลาลุก-โสลา บอร์พูคาน ซึ่งต่อมาพระองค์ก็ถูกประหารชีวิต ซึ่งเป็นแผนการของอะตัน บุรฮาโกฮาอิน ขุนนางที่ทรงอิทธิพลในราชสำนักอาหม
  18. Gogoi 1968:496-497 พระองค์ถูกปลดและประหารชีวิตโดยคทาธาร สิงห์
  19. Baruah 1993:148-150 พระองค์ถูกสถาปนาเป็นกษัตริย์โดยปุรณนันทะ บุรฮาโกฮาอิน (Purnananda Burhagohain) เมื่อครั้งยังเป็นทารก พระองค์เป็นโอรสในกะดัม ทิฆาละ (Kadam Dighala) ซึ่งเป็นโอรสของอะยูสุต (Ayusut) ซึ่งเป็นโอรสของแลชัย (Lechai) ซึ่งเป็นพระราชโอรสในเจ้าเสือปาดฟ้า ส่วนพระชนกคือ กะดัม ทิฆาละไม่สามารถครองราชย์ได้ เนื่องจากมีร่างกายไม่สมบูรณ์
  20. 1 2 Baruah 1992:221 พระองค์ถูกปลดออกจากตำแหน่งโดยรุจินาถ บุรฮาโกฮาอิน พระองค์ถูกตัดพระกรรณข้างขวาและถูกจองจำใกล้กรุงโชรหัท ดังนั้นปุรันทาร สิงห์ ผู้สืบเชื้อสายจากเจ้าเสือแรมฟ้าจึงได้ดำรงตำแหน่ง สวรรคเทวะ แทนเจ้าเสือเดือนฟ้า
  21. Baruah 1992:221-222 กองทัพของปุรันทาร สิงห์ ที่นำทัพโดยจักนาถ เทเกียล พูคาน (Jaganath Dhekial Phukan) ได้รับความพ่ายแพ้จากกองทัพพม่าที่นำทัพโดย นายพลเกียเมงจี (general Kee-Woomingee หรือ Kiamingi หรือ Alumingi Borgohain) ในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1819 และโชรหัทตกอยู่ในมือของพม่า แม่ทัพพม่าจึงได้อัญเชิญเจ้าเสือเดือนฟ้ากลับมาครองราชย์อีกครั้งหนึ่ง
  22. Baruah 1992:223 จันทรกานต์ สิงห์เสด็จออกจากเมืองหลวงโชรหัท ไปยังเมืองกูวาหติ เมื่อกองทัพของพระเจ้าบาจีดอแห่งพม่า ซึ่งนำทัพโดยเมงจีมหาติลวะเข้าล้อมกรุงโชรหัท
  23. Baruah 1992:223. โชเคศวร สิงห์ เป็นน้องชายของเฮโม ไอเทว หนึ่งในพระมเหสีของพระเจ้าบาจีดอแห่งพม่า ได้รับการสถาปนาเป็นกษัตริย์แห่งอัสสัมโดย เมงจีมหาติลวะ (Mingimaha Tilwa)
  24. Bhuyan Dr. S.K. Tunkhungia Buranji or A History of Assam (1681-1826) second edition 1968 Department of HISTORICAL AND ANTIQUARIAN STUDIES IN ASSAM Guwahati page 213
  25. Baruah 1992:225 โชเคศวร สิงห์ได้ออกจากอำนาจกษัตริย์ที่ได้มาจากเมงจีมหาติลวะ โดยสิ้นสุดตำแหน่ง ราชาแห่งอัสสัม ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1822
  26. Baruah 1992:244 ปุรันทาร สิงห์ถูกตั้งขึ้นโดยบริษัทอินเดียตะวันออก (East India Company) ถือเป็นเพียงราชาที่ปกครองดินแดนย่อยในแถบอัสสัมตอนบน
  • Baruah, S. L. (1993), Last Days of Ahom Monarchy, Munshiram Manoharlal Publishers Pvt Ltd, New Delhi
  • Gogoi, Padmeshwar (1968), The Tai and the Tai kingdoms, Gauhati University, Guwahati
  • อาจารย์เรณู วิชาศิลป์ (แปล-เรียบเรียง). พงศาวดารไทอาหม (Ahom Buranji) เล่ม 2, อมรินทร์พริ้นติ้ง:กรุงเทพฯ, 2539. หน้า 11-12
  • งานค้นคว้าเรื่องชนชาติไทย ของ พลตรี หลวงวิจิตรวาทการ
  • ประวัติศาสตร์ชนชาติไท ของ กัญญา ลีลาลัย