ราชสันตติวงศ์ในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย
ราชสันตติวงศ์ในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย

ราชสันตติวงศ์ในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย

พระราชสันตติวงศ์ในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย (Descendants of Queen Victoria) เป็นเรื่องราวของการสืบสายพระโลหิตของพระราชโอรสและธิดาทั้งหมด 9 พระองค์ในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งสหราชอาณาจักร (อเล็กซานดรินา วิกตอเรีย; 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2362 - 22 มกราคม พ.ศ. 2444 เสวยราชสมบัติ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2380) โดยมีพระราชนัดดา 42 พระองค์ และพระราชปนัดดา (เหลน) 88 พระองค์ แต่ละพระองค์จึงเป็นทั้งพี่น้องกันหรือพระญาติชั้นที่หนึ่งซึ่งกันและกัน (first cousin) และด้วยการอภิเษกสมรสเข้าไปยังราชสำนักต่างๆ ในทวีปยุโรป พระองค์จึงทรงมีผลกระทบต่อโชคชะตาของราชวงศ์ยุโรปอย่างมาก ทรงมีความเกี่ยวข้องทางสายพระโลหิตและการอภิเษกสมรสกับราชวงศ์สเปน เยอรมนี กรีซ รัสเซีย โรมาเนีย ยูโกสลาเวีย นอร์เวย์ สวีเดน และเดนมาร์ก จึงทำให้ทรงได้รับพระราชสมัญญาว่า สมเด็จย่าแห่งยุโรป (Grandmother of Europe)สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียเป็นพระมหากษัตริย์ที่ครองราชสมบัติยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์อังกฤษ เป็นเวลา 63 ปีเศษ ระหว่างปี พ.ศ. 2380-2444 (ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5) พระองค์เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2362พระราชวังเค็นซิงตัน กรุงลอนดอน โดยเป็นพระธิดาในเจ้าชายเอ็ดเวิร์ด ดยุกแห่งเคนต์และสแตรเธิร์น พระราชโอรสในพระเจ้าจอร์จที่ 3 แห่งสหราชอาณาจักร กับ เจ้าหญิงวิกตอเรียแห่งซัคเซิน-โคบูร์ก-ซาลเฟลด์ พระองค์ได้เสวยราชสมบัติสืบต่อจากพระเจ้าวิลเลียมที่ 4 พระบรมราชปิตุลา ในปี พ.ศ. 2380 ขณะมีพระชนมพรรษา 18 พรรษา ต่อมาได้ราชาภิเษกสมรสกับ เจ้าชายอัลเบิร์ตแห่งซัคเซิน-โคบูร์กและโกทา (ฟรันซ์ ออกุสต์ คาร์ล อัลเบิร์ต เอมานูเอล; 26 สิงหาคม พ.ศ. 2362 - 14 ธันวาคม พ.ศ. 2404) ซึ่งต่อมาทรงได้รับการสถาปนาเป็น เจ้าชายพระราชสวามี (Prince Consort) พระญาติชั้นที่หนึ่งทางฝ่ายพระมารดา ในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2383พระราชวังเซนต์เจมส์ กรุงลอนดอน และประสูติพระราชโอรสและธิดาทั้งสิ้น 9 พระองค์ในระหว่างปี พ.ศ. 2383-2400 ชีวิตสมรสที่แสนสุขมีอันต้องสิ้นสุดลงในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2404 เมื่อเจ้าชายอัลเบิร์ต พระสวามีสิ้นพระชนม์ลงด้วยโรคไข้รากสาดน้อย หรือไทฟอยด์ (และอาจเป็นโรคมะเร็งในกระเพาะอาหารร่วมด้วย) เมื่อพระชนมายุ 42 พรรษา ส่งผลให้เกิดความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ไปจนตลอดพระชนม์ชีพ ด้วยความโทมนัสและสูญเสียที่ยากจะหาสิ่งใดมาทดแทนได้ พระองค์จึงทรงจมอยู่กับความเศร้าโศกและฉลองพระองค์ไว้ทุกสีดำตลอดรัชกาล อีกทั้งยังทรงหลีกเลี่ยงการปรากฏพระองค์ในที่สาธารณะและแทบจะไม่เสด็จฯ มาประกอบพระราชกรณียกิจที่กรุงลอนดอนเป็นเวลาหลายปี แต่ทรงใช้เวลาส่วนใหญ่ประทับอยู่ที่พระราชวังวินด์เซอร์ ซึ่งเป็นสถานที่แห่งความทรงจำของพระองค์กับพระสวามี จนเป็นที่มาของพระราชสมัญญา แม่ม่ายแห่งวินด์เซอร์ (Widow of Windsor)การปลีกพระองค์อยู่โดดเดี่ยวจากสาธารณชนทำให้ความนิยมในระบอบกษัตริย์เสื่อมถอยลงอย่างมาก ในที่สุดเมื่อทรงได้รับความช่วยเหลือและสนับสนุนจากสองบุรุษคนสำคัญคือ เบนจามิน ดิสราเอลี นายกรัฐมนตรีในเวลานั้น และจอห์น บราวน์ มหาดเล็กชาวสก็อต ทำให้ทรงสามารถผ่านพ้นความทุกข์ระทมและมองเห็นความสำคัญในภาระหน้าที่ของการเป็นกษัตริย์ปกครองประเทศนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2413 เป็นต้นมา ทำให้ระบอบกษัตริย์กลับมาเป็นที่นิยมอีกครั้ง ต่อมาในปี พ.ศ. 2419 เมื่อจักรวรรดิอังกฤษได้เข้าปกครองอินเดีย รัฐบาลอังกฤษได้สถาปนาให้พระองค์เป็นสมเด็จพระจักรพรรดินีนาถแห่งอินเดีย (Empress of India) พระองค์ทรงเฉลิมฉลองการครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี หรือ Golden Jubilee (กาญจนาภิเษก) ในปี พ.ศ. 2430 โดยทรงเชิญประมุขและเจ้านายจากราชวงศ์ต่างประเทศมาร่วมงานเลี้ยงที่กรุงลอนดอน และการครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี หรือ Diamond Jubilee (พัชราภิเษก) ในอีกสิบปีต่อมา ซึ่งเป็นการจัดงานเลี้ยงฉลองทั่วทั้งจักรวรรดิอังกฤษ หลังจากช่วงเวลาที่น่ายินดีปรีดาในรัชกาลผ่านไปเพียงไม่กี่ปี พระพลานามัยของพระองค์ได้เสื่อมถอยลงเป็นลำดับจนเสด็จสวรรคตในวันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2444 ณ พระตำหนักออสบอร์น เกาะไวท์ สิริพระชนมพรรษา 81 พรรษา

ใกล้เคียง

ราชสันตติวงศ์ในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย ราชสันตติวงศ์ในพระเจ้าจอร์จที่ 3 ราชสันตติวงศ์ในพระเจ้าคริสเตียนที่ 9 แห่งเดนมาร์ก ราชสันตติวงศ์ในซาร์นีโคไลที่ 1 แห่งรัสเซีย ราชสังฆาจักร ราชสกุล ราชมังคลากีฬาสถาน ราชันย์แห่งภูต ราชสกุลจักรพงษ์ ราชันผู้งดงาม