สถานีโทรทัศน์ภาคพื้นดิน ของ รายชื่อสถานีโทรทัศน์ในประเทศไทย

ระบบแอนะล็อก

  • สถานีโทรทัศน์เอ็มคอตเอชดี - เป็นสถานีโทรทัศน์ของรัฐวิสาหกิจ ซึ่งดำเนินการโดย บริษัท ไทยโทรทัศน์ จำกัด (2498-2520), องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย (2520-2547) และ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) (2547-2561) เริ่มออกอากาศเป็นแห่งแรกในประเทศไทย, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเอเชียแผ่นดินใหญ่ ด้วยภาพขาวดำระบบ 525 เส้นของสหรัฐอเมริกา ผ่านย่านความถี่วีเอชเอฟ ทางช่องสัญญาณที่ 4 ตั้งแต่วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2498 ด้วยชื่อว่า สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 4 ต่อมาเริ่มออกอากาศคู่ขนาน ด้วยภาพสีระบบ 625 เส้นของยุโรป ทางช่องสัญญาณที่ 9 ระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2513 จนถึงวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2517 แล้วจึงยุติการออกอากาศ ทางช่องสัญญาณที่ 4 โดยคงออกอากาศไว้ ทางช่องสัญญาณที่ 9 เท่านั้น เป็นผลให้เปลี่ยนชื่อเป็น สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 9 โดยอัตโนมัติ เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2517 จนถึงวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 ตามที่มีข้อตกลงร่วมกับ กสทช. อนึ่ง ระหว่างนั้นยังมีการเปลี่ยนชื่อเป็น สถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ ตั้งแต่วันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545 และเปลี่ยนอีกครั้งเป็นชื่อปัจจุบัน เมื่อวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2558
  • สถานีโทรทัศน์ช่อง 7 เอชดี - เป็นสถานีโทรทัศน์ซึ่งดำเนินการโดย แผนกวิทยุโทรทัศน์ กองการกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ กรมการทหารสื่อสาร กองทัพบก กองบัญชาการกองทัพไทย กระทรวงกลาโหมเป็นผู้กำกับดูแล ภายใต้สัญญาสัมปทานกับ บริษัท กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ จำกัด ออกอากาศด้วยภาพสีระบบ 625 เส้นของยุโรป ผ่านย่านความถี่วีเอชเอฟ ทางช่องสัญญาณที่ 7 ตั้งแต่วันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2510 ถึง 16 มิถุนายน พ.ศ. 2561 ตามอายุของสัญญาสัมปทาน. โดยชื่อย่อแต่เดิมคือ "ช่อง 7 สี" เนื่องจากต้องการให้ผู้ชมจดจำว่า "ช่อง 7" เป็นของกองทัพบก ทั้งส่วนที่ออกอากาศด้วยภาพขาวดำและภาพสี
  • สถานีโทรทัศน์ช่อง 3 HD - เป็นสถานีโทรทัศน์ซึ่งบริษัท ไทยโทรทัศน์ จำกัด (2513-2520), องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย (2520-2547) และ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) (2547-2563) เป็นผู้กำกับดูแล ภายใต้สัญญาสัมปทานกับ บริษัท บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด ในกลุ่มบริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน) เริ่มออกอากาศด้วยภาพสีระบบ 625 เส้นของยุโรป ผ่านย่านความถี่วีเอชเอฟ ทางช่องสัญญาณที่ 3 ตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2513 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2549 แล้วจึงย้ายมาออกอากาศ ผ่านย่านความถี่ยูเอชเอฟ ทางช่องสัญญาณที่ 32 ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 ถึงวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2563 ตามอายุของสัญญาสัมปทาน
  • สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย - เป็นสถานีโทรทัศน์แห่งชาติของภาครัฐ ซึ่งดำเนินการโดย กรมประชาสัมพันธ์ สำนักนายกรัฐมนตรี ออกอากาศด้วยภาพสีระบบ 625 เส้นของยุโรป ผ่านย่านความถี่วีเอชเอฟ ทางช่องสัญญาณที่ 11 โดยเริ่มทดลองออกอากาศ จากเครื่องส่งโทรทัศน์ของกรมประชาสัมพันธ์ ซึ่งตั้งอยู่ที่อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ ตั้งแต่วันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2528 โดยประชาชนทั่วไปรู้จักในชื่อทางการ และต่อด้วยชื่อเลขช่องคือ สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ช่อง 11 หรือในชื่อย่อคือ "สทท.11" หรือ "ช่อง 11" ต่อมาจึงย้ายมาใช้ เครื่องส่งโทรทัศน์ของ สทท.เอง ซึ่งตั้งอยู่บริเวณริมถนนเพชรบุรีตัดใหม่ แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2529 และมีพิธีเปิดสถานีฯ อย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2531 โดยถือเป็นวันสถาปนา สทท. ต่อมารัฐบาลมีนโยบายให้ปรับปรุงรูปแบบการนำเสนอใหม่ โดยให้ยุติการใช้คำว่า "ช่อง 11" ในชื่อที่ไม่เป็นทางการของสถานีฯ อย่างจริงจัง โดยให้เปลี่ยนไปใช้คำว่า "เอ็นบีที" หรือ "สทท." เป็นการทดแทน ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2551 ทั้งนี้การออกอากาศในระบบแอนะล็อก ยังคงดำเนินไปจนถึงวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 ตามที่มีข้อตกลงร่วมกับ กสทช.

โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย

  • โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย - เป็นองค์กรที่ประชุมผู้บริหาร สถานีโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบแอนะล็อก ซึ่งก่อตั้งเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2511 โดยมีสมาชิกร่วมก่อตั้งประกอบด้วย ททบ.5 (ประธาน), ช่อง 9 เอ็มคอตเอชดี และช่อง 7 เอชดี ต่อมาไทยทีวีสีช่อง 3 เข้าร่วมนับแต่เริ่มก่อตั้ง, สทท.และไทยพีบีเอส เป็นสมาชิกเข้าร่วมงาน ส่วนช่องโทรทัศน์ผ่านช่องทางอื่นๆ มีหน้าที่รับการประสานขอความร่วมมือจากสมาชิก เพื่อร่วมกันแพร่ภาพออกอากาศ เหตุการณ์สำคัญต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศ ทั้งถ่ายทอดสดและเทปบันทึกภาพ

ระบบดิจิทัล

ผู้ให้บริการโครงข่ายส่งสัญญาณ

กสทช.เปิดย่านความถี่วิทยุระดับสูงยิ่ง หรือที่นิยมเรียกว่ายูเอชเอฟ ระหว่างช่องสัญญาณที่ 26 จนถึงช่องสัญญาณที่ 60 สำหรับใช้แพร่ภาพออกอากาศ (ทั้งนี้ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2562 เป็นต้นมา ได้กำหนดให้มีการส่งสัญญาณระหว่างช่องสัญญาณที่ 21 ถึง 48 เพื่อนำคลื่นความถี่ 700 เมกะเฮิร์ตซ์ จัดสรรให้แก่ผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคม สำหรับใช้ในการสื่อสาร5 จี) โดยมีช่วงความถี่ 8 เมกะเฮิร์ตซ์ ต่อ 1 ช่องสัญญาณ และใช้ความถี่ 1 เมกะเฮิร์ตซ์ ต่อ 1 ช่องรายการ ดังนั้นแต่ละช่องสัญญาณ จึงมีความสามารถแพร่ภาพสูงสุด 8 ช่องรายการ โดยมีอุปกรณ์รวมส่งสัญญาณ ควบคุมการส่งแพร่ภาพ ในแต่ละช่องสัญญาณ ซึ่งตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557 กสทช.อนุมัติให้เจ้าของโครงข่าย โทรทัศน์ระบบแอนะล็อกเดิมจำนวน 4 ราย เป็นผู้ให้บริการโครงข่ายในระบบดิจิทัล ผ่านอุปกรณ์รวมส่งสัญญาณจำนวน 5 ชุด (ชุดที่ 6 ยังไม่จัดสรรให้ใช้ช่องความถี่) ดังต่อไปนี้

สถานีโทรทัศน์ภาคบริการสาธารณะ

สถานีโทรทัศน์ภาคบริการทางธุรกิจ

สถานีโทรทัศน์เพื่อการศึกษา [3]

  • ช่องหมายเลข 37 DLTV10 (อนุบาล 1) มูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม
  • ช่องหมายเลข 38 DLTV11 (อนุบาล 2) มูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม
  • ช่องหมายเลข 39 DLTV12 (อนุบาล 3) มูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม
  • ช่องหมายเลข 40 DLTV1 (ประถมศึกษาปีที่ 1) มูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม
  • ช่องหมายเลข 41 DLTV2 (ประถมศึกษาปีที่ 2) มูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม
  • ช่องหมายเลข 42 DLTV3 (ประถมศึกษาปีที่ 3) มูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม
  • ช่องหมายเลข 43 DLTV4 (ประถมศึกษาปีที่ 4) มูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม
  • ช่องหมายเลข 44 DLTV5 (ประถมศึกษาปีที่ 5) มูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม
  • ช่องหมายเลข 45 DLTV6 (ประถมศึกษาปีที่ 6) มูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม
  • ช่องหมายเลข 46 DLTV7 (มัธยมศึกษาปีที่ 1) มูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม
  • ช่องหมายเลข 47 DLTV8 (มัธยมศึกษาปีที่ 2) มูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม
  • ช่องหมายเลข 48 DLTV9 (มัธยมศึกษาปีที่ 3) มูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม
  • ช่องหมายเลข 49 DLTV13 (มัธยมศึกษาปีที่ 4) มูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม
  • ช่องหมายเลข 50 DLTV14 (มัธยมศึกษาปีที่ 5) มูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม
  • ช่องหมายเลข 51 DLTV15 (มัธยมศึกษาปีที่ 6) มูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม
  • ช่องหมายเลข 52 ETV สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (การศึกษานอกระบบ)
  • ช่องหมายเลข 53 VEC สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (ประกาศนียบัตรวิชาชีพ)

ใกล้เคียง

รายชื่อตอนในยอดนักสืบจิ๋วโคนัน (แอนิเมชัน) รายชื่อสถานีรถไฟ สายใต้ รายชื่อตัวละครในวันพีซ รายชื่อตอนในวันพีซ (อนิเมะ) รายชื่อสัตว์ รายชื่อเขตของกรุงเทพมหานคร รายชื่อสมาชิกบีเอ็นเคโฟร์ตีเอต รายชื่อสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย รายชื่อสถานีรถไฟ สายเหนือ รายชื่อตัวละครในยอดนักสืบจิ๋วโคนัน