ทัศนคติในการอภิปรายรายได้มูลฐาน ของ รายได้พื้นฐาน

อัตโนมัติกรรม

ดูบทความหลักที่: ระบบอัตโนมัติ

การอภิปรายเกี่ยวกับรายได้มูลฐานและอัตโนมัติกรรมมีความเชื่อมโยงใกล้ชิด ตัวอย่างเช่น มาร์ก ซักเคอร์เบิร์กให้เหตุผลว่าการทำให้อัตโนมัติที่เพิ่มขึ้นทำให้เกิดความต้องการรายได้มูลฐานมากขึ้น ความกังวลเกี่ยวกับอัตโนมัติกรรมทำให้หลายคนในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีระดับสูงให้เหตุผลสำหรับรายได้มูลฐานเป็นการส่อความของแบบจำลองธุรกิจของพวกตน

นักเทคโนโลยีจำนวนมากเชื่อว่าอัตโนมัติกรมกำลังสร้างการว่างงานทางเทคโนโลยี บางการศึกษาเกี่ยวกับอัตโนมัติกรรมและอาชีพทำให้ความกังวลเหล่านี้สมเหตุสมผล ในรายงานของทำเนียบขาวสหรัฐต่อรัฐสภาสหรัฐประเมินว่าคนงานที่มีรายได้น้อยกว่า 20 ดอลลาร์สหรัฐต่อชั่วโมงในปี 2553 สุดท้ายจะเสียงานแก่เครื่องจักรโดยมีความเป็นไปได้ร้อยละ 83 กระทั่งคนงานที่มีรายได้ถึง 40 ดอลลาร์สหรัฐต่อชั่วโมงยังมีโอกาสเสียงานร้อยละ 31[4] หากอัตราการว่างงานเพิ่มขึ้น ชุมชนยากจนจะยิ่งแร้นแค้นมากขึ้น ผู้สนับสนุนรายได้มูลฐานถ้วนหน้าให้เหตุผลว่ารายได้ดังกล่าวสามารถแก้ปัญหาระดับโลกได้หลายอย่าง เช่น ความเครียดจากงานสูง และสร้างโอกาสมากขึ้น และงานที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล การศึกษาบางอย่างสนับสนุนคำกล่าวอ้างนี้ ในการศึกษาหนึ่งในดอฟิน รัฐแมนิโทบา มีแรงงานลดลงจากจำนวนคาดหมายที่สูงกว่ามากเพียงร้อยละ 13[5] ในการศึกษาในหมู่บ้านหลายแห่งในประเทศอินเดีย รายได้มูลฐานในภูมิภาคนั้นเพิ่มอัตราการศึกษาของเยาวชนร้อยละ 25[6]

นอกจากการว่างงานทางเทคโนโลยีแล้ว ผู้เชี่ยวชาญอุตสาหกรรมเทคโนโลยีบางคนยังกังวลว่าอัตโนมัติกรรมจะบ่อนทำลายเสถียรภาพของตลาดแรงงานหรือเพิ่มความไม่เสมอภาคทางเศรษฐกิจ ตัวอย่างหนึ่งได้แก่ คริส ฮิวจ์ ผู้ร่วมก่อตั้งเฟซบุ๊กและโครงการความมั่นคงทางเศรษฐกิจ อัตโนมัติกรรมทำให้คนงานที่ใช้เวลาทั้งชีวิตเรียนรู้ทักษะซึ่งกลายมาล้าสมัยและบีบให้พวกเขาเป็นแรงงานไร้ฝีมือ Paul Vallée ผู้ประกอบการเทคโนโลยีชาวแคนาดาและซีอีโอของ Pythian ให้เหตุผลว่าอัตโนมัติกรรมอย่างน้อยมีโอกาสเพิ่มความยากจนและลดการเปลี่ยนสถานภาพทางสังคมมากกว่าการสร้างอัตราการว่างงานที่เพิ่มขึ่นเรื่อย ๆ ในสมัชชาการประกันรายได้มูลฐานทวีปอเมริกาเหนือปี 2559 ในวินนีเพก Vallée ใช้ทาสเป็นตัวอย่างในอดีตซึ่งทุน (ทาสแฟริกา) สามารถทำงานอย่างเดียวกับผู้ใช้แรงงานมนุษย์ทำได้ (คนขาวยากจน) เขาพบว่าทาสไม่ได้ก่อให้เกิดการว่างงานขนานใหญ่ในหมู่คนขาวยากจน แต่มีควาไม่เสมอภาคทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นและการเปลี่ยนสถานภาพทางสังคมลดลง[7]

พฤติกรรมไม่ดี

บ้างกังวลว่าบางคนจะใช้รายได้มูลฐานกับแอลกอฮอลและยาเสพติดอย่างอื่น[8][9] ทว่า การศึกษาผลกระทบของโครงการโอนเงินโดยตรงกลับมีหลักฐานตรงกันข้าม บทปฏิทรรศน์การศึกษาทางวิทยาศาสตร์ 30 การศึกษาของธนาคารโลกในปี 2557 สรุปว่า ไม่พบความกังวลเกี่ยวกับการใช้การโอนเงินไปกับการบริโภคแอลกอฮอลและยาสูบ[10]

การเป็นส่วนหนึ่งของระบบเศรษฐกิจหลังทุนนิยม

แฮร์รี ชัต (Harry Shutt) นักเศรษฐศาสตร์ เสนอรายได้มูลฐานและมาตรการอื่นเพื่อทำให้วิสาหกิจทั้งหมดหรือส่วนใหญ่เป็นของส่วนร่วมแทนเอกชน มาตรการเหล่านี้จะสร้างระบบเศรษฐกิจหลังทุนนิยม[11]

Erik Olin Wright แสดงลักษณะของรายได้มูลฐานเป็นโครงการสำหรับปฏิรูปทุนนิยมเป็นระบบเศรษฐกิจซึ่งเสริมกำลังแรงงานเมื่อเทียบกับทุน ทำให้แรงงานมีอำนาจต่อรองกับนายจ้างมากขึ้นในตลาดแรงงาน ซึ่งสามารถค่อย ๆ ลดการทำให้แรงงานเป็นโภคภัณฑ์โดยการแยกงานจากรายได้ เช่นนี้จะทำให้มีการขยายในขอบเขตของ "เศรษฐกิจสังคม" โดยให้พลเมืองมีหนทางมากขึ้นในการดำเนินกิจกรรม (เช่น การเอาดีทางด้านศิลปะ) ซึ่งไม่ก่อให้เกิดค่าตอบแทนเป็นเงินปริมาณมาก[12]

James Meade สนับสนุนแผนเงินปันผลสังคมที่จัดหาทุนจากสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดผลของรัฐ[13] Russell ให้เหตุผลสนับสนุนรายได้มูลฐานร่วมกับความเป็นเจ้าของสาธารณะว่าเป็นหนทางลดวันทำงานโดยเฉลี่ยและการบรรลุการจ้างงานเต็มอัตรา[14] นักเศรษศาสตร์และนักสังคมวิทยาสนับสนุนรายได้มูลฐานรูปแบบหนึ่งว่าเป็นหนทางกระจายกำไรทางเศรษฐกิจของวิสาหกิจของรัฐเพื่อให้ประชากรทั้งหมดได้ประโยชน์ โดยที่การจ่ายรายได้มูลฐานเป็นตัวแทนของการคืนทุนที่สังคมเป็นเจ้าของแก่พลเมืองทุกคน ระบบเหล่านี้จะได้รับเงินสนับสนุนโดยตรงจากผลตอบแทนของสินทรัพย์ที่รัฐเป็นเจ้าของและปรากฏเป็นองค์ประกอบสำคัญของแบบจำลองสังคมนิยมตลาดหลายแบบจำลอง[15]

Guy Standing เสนอให้จัดหาเงินทุนแก่เงินปันผลสังคมจากกองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติที่รับผิดชอบแบบประชาธิปไตยซึ่งตั้งขึ้นเป็นหลักจากเงินรายได้ที่เก็บภาษีเอากับรายได้ของผู้มีรายได้ประจำจากการเป็นเจ้าของหรือควบคุมสินทรัพย์ ทั้งทางกายภาพ การเงินและปัญญา[16][17]

Herman Daly ซึ่งถือเป็นผู้ก่อตั้ง ecologism คนหนึ่ง ให้เหตุผลสนับสนุนเศรษฐกิจเติบโตเป็นศูนย์เป็นหลักภายในขีดจำกัดนิเวศวิทยาของโลก แต่ให้มีเศรษฐกิจแบบเขียวและยั่งยืน รวมทั้งสวัสดิการเศรษฐกิจและหลักประกันพื้นฐานแก่ทุกคน เขาเขียนเกี่ยยวกับความจำเป็นต้องมีการปฏิรูประบบทุนนิยมเชิงโครงสร้าง รวมทั้งรายได้มูลฐาน การปฏิรูปการเงิน ภาษีมูลค่าที่ดิน การปฏิรูปการค้าและภาษีสิ่งแวดล้อมที่สูงขึ้น เขามองว่ารายได้มูลฐานเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างระบบเศรษฐกิจที่ใหญ่กว่าสู่ระบบเขียวและยั่งยืนมากขึ้น

แหล่งที่มา

WikiPedia: รายได้พื้นฐาน http://journals.sagepub.com/doi/pdf/10.1177/146801... http://www.ssc.wisc.edu/~wright/Basic%20Income%20a... http://basicincome.org/ //doi.org/10.1080%2F08911916.2004.11042930 //doi.org/10.3138%2Fcpp.37.3.283 //www.jstor.org/stable/40470892 http://www.mediahell.org/capitalsocial.htm http://sevenpillarsinstitute.org/universal-basic-i... http://documents.worldbank.org/curated/en/61763146... //www.worldcat.org/oclc/954428078