รายได้พื้นฐาน

รายได้มูลฐาน (อังกฤษ: basic income)[เชิงอรรถ 1] เป็นการจ่ายเงินสดเป็นระยะแก่ทุกคนในระดับปัจเจกบุคคล โดยไม่มีการตรวจสอบสิทธิ (means test) หรือข้อกำหนดการทำงาน[1] รายได้ดังกล่าวมีลักษณะดังต่อไปนี้รายได้มูลฐานสามารถนำไปปฏิบัติทั้งในระดับชาติ ภูมิภาคหรือท้องถิ่นก็ได้ รายได้ไม่มีเงื่อนไขซึ่งเพียงพอต่อความต้องการพื้นฐานของบุคคล (ณ หรือเหนือเส้นความยากจน) บางทีเรียกรายได้มูลฐานสมบูรณ์ (Full Basic Income) แต่ถ้ามีน้อยกว่าปริมาณดังกล่าว บางทีเรียก รายได้มูลฐานบางส่วน (Partial Basic Income) ระบบสวัสดิการซึ่งมีลักษณะคล้ายกับรายได้มูลฐาน คือ ภาษีเงินได้เป็นลบ (negative income tax) ซึ่งการจัดสรรเงินของรัฐบาลจะค่อย ๆ ลดลงตามรายได้จากแรงงานที่เพิ่มขึ้นระบบสวัสดิการบางระบบที่สัมพันธ์กับรายได้มูลฐานแต่มีเงื่อนไขบางประการ สำหรับระบบที่เพิ่มรายได้ครัวเรือนให้ถึงค่าขั้นต่ำที่เจาะจง เรียก ระบบรายได้ขั้นต่ำที่ได้รับประกัน (guaranteed minimum income) เช่น บอลซาฟามิเลีย (Bolsa Família) ในประเทศบราซิลถูกจำกัดให้ครอบครัวยากจนและกำหนดให้เด็กเข้าโรงเรียน[3]การอภิปรายทางการเมืองหลายอย่างเกี่ยวข้องกับการอภิปรายรายได้มูลฐาน ตัวอย่างเช่น การอภิปรายเกี่ยวกับการใช้หุ่นยนต์แทนแรงงาน ปัญญาประดิษฐ์และอนาคตของงาน ประเด็นสำคัญหนึ่งในการอภิปรายเหล่านี้มีว่า การใช้หุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์จะลดจำนวนงานที่ว่างอยู่อย่างสำคัญ มักปรากฏข้อเสนอรายได้มูลฐานในการอภิปรายเหล่านี้

แหล่งที่มา

WikiPedia: รายได้พื้นฐาน http://journals.sagepub.com/doi/pdf/10.1177/146801... http://www.ssc.wisc.edu/~wright/Basic%20Income%20a... http://basicincome.org/ //doi.org/10.1080%2F08911916.2004.11042930 //doi.org/10.3138%2Fcpp.37.3.283 //www.jstor.org/stable/40470892 http://www.mediahell.org/capitalsocial.htm http://sevenpillarsinstitute.org/universal-basic-i... http://documents.worldbank.org/curated/en/61763146... //www.worldcat.org/oclc/954428078