การยอมรับ ของ ร่างรัฐบัญญัติงานวิจัย

ร่างรัฐบัญญัติได้รับการสนับสนุนจาก Association of American Publishers (AAP)[12] และสหพันธ์ลิขสิทธิ์[13]

ฝ่ายตรงข้ามได้เน้นย้ำผลกระทบต่อ สภาพพร้อมใช้งานสาธารณะขอผลงานวิจัยด้านชีวการแพทย์ เช่นที่ได้รับทุนจากเงินช่วยเหลือของสถาบันสุขภาพแห่งชาติ โดยบอกว่าภายใต้ร่างรัฐบัญญัตินี้ "ผู้เสียภาษีซึ่งเป็นผู้ออกเงินในการวิจัยจะต้องจ่ายเงินอีกครั้งเพื่ออ่านผลของการวิจัย"[14] ไมค์ เทย์เลอร์จากมหาวิทยาลัยบริสตอลกล่าวว่าการปิดกั้นของการเข้าถึงงานวิจัยวิทยาศาสตร์อาจทำให้เกิด "การตายที่หลีกเลี่ยงได้ ในประเทศกำลังพัฒนา"  และ "ผลเสียต่อวิทยาศาสตร์อย่างไม่สามารถประเมินค่าได้" นอกจากนี้เขายังกล่าวอีกว่าผู้แทนทั้งสอง ได้แก่ อิสสา และ มาโลนีย์ นั้นมีแรงจูงใจจากเงินบริจาคที่ได้รับจากแอ็ลเซอเฟียร์ [15]

คำร้องทุกข์ออนไลน์ – ค่าความรู้– ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากนักคณิตศาสตร์และผู้ครอบครองเหรียญฟิลด์สชาวอังกฤษที่ชื่อว่า ทิโมธี โกเวอส์ เพื่อเพิ่มความตระหนักต่อร่างรัฐบัญญัติ เพื่อเรียกรืองให้ลดราคาของวารสารทางวิชาการ และเพื่อส่งเสริมการเพิ่มจำนวนของการเข้าถึงข้อมูลอย่างเสรี  ได้รับการลงนามจากนักวิชาการมากกว่า 10,000 คน[16] ผู้ลงนามสัญญาว่าจะถอนการสนับสนุนต่อวารสารแอ็ลเซอเฟียร์ ไม่ว่าจะเป็นทางการช่วยแก้ไข ทบทวน หรือส่งบทความ "จนกว่าทางบริษัทจะเปลี่ยนวิธีบริหาร" ในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2555 แอ็ลเซอเฟียร์ได้ประกาศยกเลิกสนับสนุนร่างรัฐบัญญัติ โดยอ้างถึงความกังวลจากผู้ทบทวน ผู้เขียน และผู้แก้ไขวารสาร[17] ขณะที่ผู้ร่วมลงชื่อในการคว่ำบาตรเฉลิมฉลองการถอนตัวของแอ็ลเซอเฟียร์จากร่างรัฐบัญญัติงานวิจัย[18] แอ็ลเซอเฟียร์เองได้ปฏิเสธว่าการกระทำนี้เป็นผลมาจากการคว่ำบาตร และอธิบายว่าพวกเขาทำไปเพราะได้รับคำร้องขอจากนักวิจัยที่ไม่ได้มีส่วนร่วมกับการคว่ำบาตรครั้งนี้[19]

ใกล้เคียง

ร่างรัฐบัญญัติหยุดยั้งการละเมิดลิขสิทธิ์ออนไลน์ ร่างรัฐบัญญัติงานวิจัย ร่างรัฐบัญญัติชนโลกบาล ร่างรัฐธรรมนูญ 2558 ร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 ร่างรัฐบัญญัติคุ้มครองไอพี ร่างรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐประชาชนญี่ปุ่น ร่างทรง (ภาพยนตร์) ร่างกายมนุษย์ ร่างแหเอนโดพลาซึม