ฤดูพายุเฮอริเคนแอตแลนติก_พ.ศ._2563
ฤดูพายุเฮอริเคนแอตแลนติก_พ.ศ._2563

ฤดูพายุเฮอริเคนแอตแลนติก_พ.ศ._2563

ฤดูพายุเฮอริเคนแอตแลนติก พ.ศ. 2563 คือช่วงของฤดูกาลในอดีตที่เคยมีการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อนในซีกโลกเหนือของมหาสมุทรแอตแลนติก เป็นฤดูที่มีกิจกรรมของพายุหมุนเขตร้อนมากที่สุดและสร้างความเสียหายสูงเป็นอันดับที่เจ็ดของแอ่งแอตแลนติกเหนือ นับเป็นฤดูกาลที่ห้าติดต่อกันแล้ว ที่มีกิจกรรมของพายุหมุนเขตร้อนในแอ่งแอตแลนติกเหนือสูงกว่าค่าเฉลี่ยนับแต่ฤดู 2559 แต่นับเป็นฤดูแรกที่มีกิจกรรมของพายุเป็นอย่างมากนับแต่ฤดู 2560 โดยฤดูกาลนี้ประกอบด้วย พายุหมุนเขตร้อนและพายุหมุนกึ่งเขตร้อนรวม 31 ลูก ซึ่งพายุหมุนทุกลูกยกเว้นพายุดีเปรสชันเขตร้อนสิบ ทวีกำลังแรงขึ้นในลำดับถัดไปทั้งสิ้น ดังนั้นจึงมีพายุดีเปรสชันทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อนทั้งสิ้น 30 ลูก ในจำนวนนี้ 13 ลูกได้ทวีกำลังแรงต่อเป็นพายุเฮอริเคน และในจำนวนนี้ 6 ลูกมีกำลังเป็นพายุเฮอริเคนขนาดใหญ่ โดยที่มีกำลังแรงที่สุดคือ ไอโอตา มีกำลังเป็นพายุระดับ 5 ตามมาตราเฮอริเคนแซฟเฟอร์–ซิมป์สัน[nb 1] และเป็นฤดูกาลที่สองที่มีการนำระบบการตั้งชื่อพายุด้วยชื่อของตัวอักษรกรีกมาใช้ (ครั้งแรกในฤดู 2548) ในบรรดาพายุที่ได้รับชื่อทั้ง 30 ลูก มีพายุอยู่จำนวน 12 ลูกที่พัดขึ้นฝั่งสหรัฐอเมริกาที่ติดกัน (รัฐที่อยู่ติดกันของสหรัฐ) ซึ่งทำลายสถิติของการพัดขึ้นฝั่ง 9 ลูกในฤดู 2459 นอกจากนี้ยังเป็นฤดูกาลที่ห้าติดต่อกันแล้วที่มีพายุเฮอริเคนระดับ 5 อย่างน้อยหนึ่งลูก ในระหว่างฤดูกาล พายุโซนร้อนจำนวน 27 ลูกได้ทำลายสถิติการก่อตัวแรกสุดไปตามจำนวนพายุ ฤดูกาลนี้ยังมีพายุหมุนเขตร้อนที่มีการทวีกำลังแรงขึ้นอย่างรวดเร็วเป็นประวัติการณ์ที่ 10 ลูก เทียบเท่ากับฤดู 2538[2] โดยกิจกรรมที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนนี้เกิดจากลานีญา ที่ก่อตัวขึ้นในช่วงฤดูร้อนของปี 2563ฤดูกาลอย่างเป็นทางการนั้นเริ่มนับในวันที่ 1 มิถุนายน และสิ้นสุดในวันที่ 30 พฤศจิกายน วันเหล่านี้เป็นขอบระยะเวลาตามประวัติศาสตร์ที่จะมีพายุก่อตัวขึ้นมากที่สุดในแอ่งแอตแลนติก อย่างไรก็ตามการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อนสามารถก่อตัวได้ทุกเวลาในปี ดังที่ปรากฏในฤดู 2563 จากการก่อตัวของพายุโซนร้อนอาร์เทอร์และพายุโซนร้อนเบอร์ทา ในวันที่ 16 และ 27 พฤษภาคม ตามลำดับ จึงถือว่าเป็นฤดูกาลที่หกติดต่อกันแล้วที่มีพายุก่อตัวในลักษณะก่อนฤดูกาล (pre-season systems) ต่อมาพายุกริสโตบัลได้ก่อตัวขึ้นในวันแรกของเดือนมิถุนายน และทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวน 15 คน ปลายเดือนกรกฎาคม พายุแฮนนา ได้เป็นพายุเฮอริเคนลูกแรกของฤดูกาล และพัดขึ้นฝั่งที่เซาท์เท็กซัส ตามด้วยพายุเฮอริเคนไอเซอัส ที่พัดขึ้นฝั่งที่บาฮามาสและรัฐนอร์ทแคโรไลนา โดยพายุทั้งสองมีความรุนแรงเป็นพายุเฮอริเคนระดับ 1 และสร้างความเสียหายไว้รวม 4.725 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[nb 2] ปลายเดือนสิงหาคม พายุลอราพัดขึ้นฝั่งที่รัฐลุยเซียนา เป็นพายุเฮอริเคนระดับ 4 และกลายเป็นพายุหมุนเขตร้อนที่รุนแรงที่สุดในแง่ความเร็วลมที่พัดขึ้นฝั่งรัฐลุยเซียนา ควบคู่กับพายุเฮอริเคนลาสต์ไอส์แลนด์ในปี 2399[3] พายุลอราสร้างความเสียหาย 1.41 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ และมีผู้เสียชีวิตจำนวน 77 คน เดือนกันยายนเป็นเดือนที่มีกิจกรรมของพายุหมุนเขตร้อนมากที่สุดในสถิติของแอ่งแอตแลนติก โดยมีพายุได้รับชื่อจำนวนสิบลูก เริ่มจาก พายุนานา ซึ่งมีอิทธิพลต่อประเทศเบลีซในฐานะพายุเฮอริเคนระดับ 1, พายุเฮอริเคนพอเลตต์พัดขึ้นฝั่งที่เบอร์มิวดา ซึ่งนับเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ฤดู 2557 ก่อนจะมีการเปลี่ยนผ่านไปเป็นพายุหมุนนอกเขตร้อน จากนั้นได้มีการก่อตัวขึ้นใหม่ (reformed) ใกล้กับอะโซร์สและมีการเคลื่อนไหวอยากผิดปกติ ก่อนจะสลายตัวไปในวันที่ 23 กันยายน, พายุเฮอริเคนแซลลีส่งผลกระทบกับรัฐในชายฝั่งอ่าวของสหรัฐ ส่งผลให้เกิดอุทกภัยอย่างหนัก ขณะที่พายุเฮอริเคนเทดดีได้ส่งผลกระทบกับเบอร์มิวดา ก่อนจะส่งผลกระทบกับแอตแลนติกแคนาดา (ด้านมหาสมุทรแอตแลนติกของประเทศแคนาดา) ในฐานะพายุหมุนนอกเขตร้อน จากนั้นจึงได้เริ่มมีการนำชื่อตัวอักษรกรีกมาใช้เป็นชื่อพายุ เริ่มต้นด้วย พายุกึ่งโซนร้อนแอลฟาซึ่งพัดขึ้นฝั่งประเทศโปรตุเกส เดือนตุลาคมเริ่มต้นด้วยพายุโซนร้อนแกมมาและพายุเฮอริเคนเดลตา ซึ่งทั้งคู่ได้ส่งผลกระทบกับคาบสมุทรยูกาตันของประเทศเม็กซิโก โดยต่อมาพายุเดลตาได้ส่งผลกระทบกับรัฐลุยเซียนา จึงกลายเป็นพายุลูกที่ 10 ที่พัดเข้าสหรัฐในฤดูกาลนี้ นอกจากนี้ พายุเฮอริเคนเซตาก็เคลื่อนผ่านคาบสมุทรยูกาตันด้วย ก่อนจะทำลายสถิติเป็นพายุลูกที่ห้าที่พัดขึ้นฝั่งที่รัฐลุยเซียนา จากนั้นจึงกลายเป็นพายุหมุนเขตร้อนลูกแรกนับตั้งแต่พายุเฮอริเคนแซนดีในปี 2555 ที่สร้างหิมะ[4] ในวันสุดท้ายของเดืิอนตุลาคม พายุเฮอริเคนอีตาก่อตัวขึ้นและส่งผลกระทบกับอเมริกากลางเป็นพายุเฮอริเคนระดับ 4 ในวันที่ 3 พฤศจิกายน[5] และในที่สุดแล้ว พายุอีตาได้ทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 189 คน และมีความเสียหาย 6.68 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ หลังจากนั้นไม่นาน พายุโซนร้อนทีตาได้ก่อตัวขึ้น และพายุลูกสุดท้าย พายุไอโอตา ได้ก่อตัวขึ้นในแคริบเบียน ก่อนจะทวีกำลังแรงอย่างรวดเร็ว และกลายเป็นพายุเฮอริเคนระดับ 5 ในวันที่ 16 พฤศจิกายน นอกจากนี้ยังทำให้ฤดู 2563 นี้เป็นฤดูกาลเดียวที่มีพายุเฮอริเคนขนาดใหญ่ 2 ลูกในเดือนพฤจิกายน[6] โดยพายุไอโอตาทำให้เกิดความเสียหายอย่างรุนแรงในอเมริกากลาง ซึ่งเพิ่งได้รับผลกระทบจากพายุอีตาไปก่อนหน้านั้น ทางการสหรัฐได้แสดงความกังวลว่าฤดูพายุเฮอริเคนจะส่งผลกระทบต่อการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในกับประชากรในพื้นที่ชายฝั่งสหรัฐได้[7][8] ดังแสดงไว้ในหน้าความเห็นพิเศษ (op-ed) ของวารสารแห่งสมาคมการแพทย์อเมริกัน ความว่า "มีความขัดแย้งกันโดยธรรมระหว่างกลยุทธ์ในการปกป้องประชากรจากอันตรายจากพายุเฮอริเคน นั่นคือ การอพยพ และการหลบภัย (เช่น การขนส่งและการรวบรวมผู้คนเข้ากันเป็นกลุ่ม)" และ "แนวทางการชะลอการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่มีประสิทธิภาพ นั่นคือ การเว้นระยะห่างทางกาย และการสั่งให้อยู่แต่บ้าน (เช่น การแยกและการกีดกันผู้คนออกจากกัน)"[9]

ฤดูพายุเฮอริเคนแอตแลนติก_พ.ศ._2563

• ความกดอากาศต่ำที่สุด 917 มิลลิบาร์ (hPa; 27.08 inHg)
ผู้เสียชีวิตทั้งหมด ≥ 409 คน
พายุโซนร้อนทั้งหมด 30 ลูก (สถิติสูงสุด)
• ลมแรงสูงสุด 160 ไมล์/ชม. (260 กม./ชม.)
(เฉลี่ย 1 นาที)
พายุเฮอริเคน 13 ลูก
ชื่อ ไอโอตา
พายุเฮอริเคนขนาดใหญ่(ระดับ 3 ขึ้นไป) 6 ลูก
ความเสียหายทั้งหมด > 4.103 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ
(ค่าเงิน USD ปี 2020)
พายุดีเปรสชันทั้งหมด 31 ลูก (สถิติสูงสุด, เท่ากับฤดู 2548)
ระบบแรกก่อตัว 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2563
ระบบสุดท้ายสลายตัว 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

ใกล้เคียง

ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2566 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2565 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2556 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2562 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2544 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2563 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2560 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2561 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2546 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2545

แหล่งที่มา

WikiPedia: ฤดูพายุเฮอริเคนแอตแลนติก_พ.ศ._2563 http://tropicalstormrisk.com/docs/TSRATLForecastAp... http://tropicalstormrisk.com/docs/TSRATLForecastDe... http://www.tropicalstormrisk.com/docs/TSRATLForeca... http://has.arizona.edu/article/new-update-xubin-ze... http://has.arizona.edu/sites/default/files/ua_trop... http://hurricane.atmos.colostate.edu/Forecasts/200... http://www.cpc.ncep.noaa.gov/products/outlooks/bac... http://www.nhc.noaa.gov http://www.nhc.noaa.gov/text/MIATWOAT.shtml http://www.ssd.noaa.gov/PS/TROP/TCFP/atlantic.html