การพยากรณ์ฤดูกาล ของ ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก_พ.ศ._2555

วันที่พยากรณ์โดย
TSR
จำนวน
พายุโซนร้อน
จำนวน
พายุไต้ฝุ่น
จำนวน
พายุรุนแรง
ดัชนีเอซีอีอ้างอิง
เฉลี่ย (2508–2554)26.216.38.4295[1]
13 เมษายน 255525.515.67.3262[2]
5 พฤษภาคม 255525.515.68.5300[1]
9 กรกฎาคม 255526.816.79.2324[3]
6 สิงหาคม 255527.417.49.3327[4]
วันที่พยากรณ์ศูนย์
พยากรณ์
ช่วงเวลาระบบพายุอ้างอิง
30 มิถุนายน 2555CWB1 มกราคม — 31 ธันวาคม23–26 ลูก[5]
กรกฎาคม 2555PAGASAกรกฎาคม — กันยายน7–10 ลูก[6]
กรกฎาคม 2555PAGASAตุลาคม — ธันวาคม4–7 ลูก[6]
ฤดูกาล 2555ศูนย์พยากรณ์พายุหมุนเขตร้อนพายุโซนร้อนพายุไต้ฝุ่นอ้างอิง
เกิดขึ้นจริง:JMA342514
เกิดขึ้นจริง:JTWC272516
เกิดขึ้นจริง:PAGASA17169

ในแต่ละฤดูกาล สำนักงานอุตุนิยมวิทยาแห่งชาติของหลายประเทศ และหน่วยงานวิทยาศาสตร์หลายแห่ง ต่างพยากรณ์จำนวนพายุหมุนเขตร้อน พายุเขตร้อน และพายุไต้ฝุ่นที่จะก่อตัวขึ้นระหว่างฤดูกาล และ/หรือ จำนวนพายุหมุนที่จะส่งผลกระทบต่อประเทศใดประเทศหนึ่ง[2][7] รวมถึงองค์การความเสี่ยงพายุโซนร้อนของมหาวิทยาลัยคอลเลจลอนดอนและศูนย์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกาย คาร์เพนเตอร์ เอเชีย-แปซิฟิกของมหาวิทยาลัยฮ่องกงซึ่งได้ทำการพยากรณ์ไว้ตั้งแต่พ.ศ. 2543 แล้ว[2][7] อย่างไรก็ตามในปีนี้ GCACIC ไม่มีการออกการคาดการณ์เกี่ยวกับพายุหมุนเขตร้อนที่จะก่อตัวและพัฒนาขึ้นในสามฤดูกาลล่าสุด[7]

ในฤดูกาลนี้องค์การความเสี่ยงพายุโซนร้อน (TSR) ได้ออกการคาดการณ์ประมาณการเบื้องต้นเกี่ยวกับจำนวนของโซนร้อน, ไต้ฝุ่นและไต้ฝุ่นรุนแรง ที่จะก่อตัวช่วงเดือนเมษายน ก่อนจะออกการปรับปรุงในช่วงเดือนพฤษภาคม, กรกฎาคมและสิงหาคม[nb 1]ในการพยากรณ์ของเดือนเมษายน, TSR ทำนายว่าฤดูกาลนี้จะได้เห็นกิจกรรมประมาณ 10% เฉลี่ยช่วงก่อนปี 2508 - 2554 อย่างไรก็ตามอาจมีการปรับปรุงการพยากรณ์เพื่อให้ทันสมัย[2][1]

วันที่ 20 มีนาคม หอสังเกตการณ์ฮ่องกงทำนายว่า ฤดูกาลพายุไต้ฝุ่นในฮ่องกงจะเริ่มต้นในเดือนมิถุนายนหรือก่อนหน้านั้นเล็กน้อย ก่อนหน้านี้ที่มีพายุหมุนเขตร้อน 5-8 ลูกผ่านไปในระยะ 500 กิโลเมตร (310 ไมล์) จากฮ่องกง[8]

วันที่ 21 พฤษภาคม กรมอุตุนิยมวิทยาคาดว่าประเทศไทยจะได้รับปลกระทบจากพายุโซนร้อน 1-2 ลูกในช่วงปี 2555 โดยคาดว่าจะมี 1 ลูกเข้าที่เวียดนามและส่งผลกระทบต่อไทยภายหลังในช่วงเดือนสิงหาคมถึงกันยายน ขณะที่หน่วยงานอื่นๆคาดว่าจะมีพายุหมุนเขตร้อนเคลื่อนตัวผ่านภาคใต้ของประเทศไทยในช่วงเดือนตุลาคมหรือพฤศจิกายน[9]

วันที่ 13 สิงหาคม สำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ (PAGASA) ทำนายว่าจะมีพายุหมุนเขตร้อน 7-10 ลูกที่มีแนวโน้มจะทวีความรุนแรงหรือก่อตัวในพื้นที่รับผิดชอบของฟิลิปปินส์ระหว่างเดือนกรกฎาคม และเดือนกันยายน และ 4 -7 คาดว่าจะเกิดในระหว่างเดือนตุลาคมและเดือนธันวาคม[10]

วันที่ 31 สิงหาคม สำนักงานอากาศกลางของไต้หวันคาดว่าจะมีพายุหมุนเขตร้อนอีก 8 ลูกสามารถทวีความรุนแรงได้ใกล้ไต้หวันและคาดว่าหนึ่งหรือสองลูกจะส่งผลกระทบต่อไต้หวัน[5]

ใกล้เคียง

ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2566 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2565 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2556 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2562 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2544 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2563 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2560 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2561 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2546 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2545

แหล่งที่มา

WikiPedia: ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก_พ.ศ._2555 http://www.bom.gov.au/climate/tropnote/tropnote.sh... http://www.radioaustralia.net.au/international/201... http://weather.news.sina.com.cn/news/2012/0724/042... http://tcdata.typhoon.gov.cn/en/ http://tcrr.typhoon.gov.cn/EN/article/downloadArti... http://www.abs-cbnnews.com/nation/regions/08/21/12... http://www.abs-cbnnews.com/nation/regions/08/29/12... http://www.ajc.com/news/ap/international/2-chinese... http://www.aljazeera.com/news/asia/2012/08/2012820... http://www.asiaone.com/News/AsiaOne+News/Asia/Stor...