พายุดีเปรสชันเขตร้อน ของ ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก_พ.ศ._2555

รายการพายุหมุนเขตร้อนที่มีความรุนแรงสูงสุดเป็นเพียงพายุดีเปรสชัน โดยอาจเป็นพายุที่มีรหัสเรียกตามหลังด้วยตัวอักษร W โดยศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม หรืออาจได้รับชื่อท้องถิ่นจากสำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ (PAGASA) แต่ไม่ถูกตั้งชื่อตามเกณฑ์ของกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ซึ่งหน่วยงานดังกล่าวระบุเพียงแต่คำว่า TD (Tropical Depression) หรือพายุดีเปรสชันเท่านั้น

พายุดีเปรสชันเขตร้อนลูกที่ 1

พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
ระยะเวลา13 – 14 มกราคม
ความรุนแรง55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
1006 mbar (hPa; 29.71 inHg)

วันที่ 13 มกราคม กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ได้ปรับให้หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณใกล้กับประเทศสิงคโปร์เป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อน

พายุดีเปรสชันเขตร้อน 01W

พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
พายุดีเปรสชัน (TMD)
พายุดีเปรสชันเขตร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา17 – 21 กุมภาพันธ์
ความรุนแรง55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
1004 mbar (hPa; 29.65 inHg)
  • วันที่ 17 กุมภาพันธ์ กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) รายงานว่าพบว่ามีการก่อตัวของพายุดีเปรสชันเขตร้อน ห่างจากกรุงมะนิลาบนเกาะลูซอนไปทางใต้ 800 กิโลเมตร (500 ไมล์)[134] ต่อมาดีเปรสชันเขตร้อนได้เคลื่อนตัวไปทางตะวันตก ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) เริ่มประกาศคำแนะนำที่เวลา 1500 UTC (22.00 น. ตามเวลาประเทศไทย) และได้ประกาศให้ระบบเป็นดีเปรสชันเขตร้อน 01W[135] อย่างไรก็ตาม หกชั่วโมงต่อมา JTWC ได้ออกประกาศสุดท้ายของระบบ เนื่องจากเกิดลมเฉือน และพบว่าไม่มีการหมุนเวียนลมใกล้ศูนย์กลางในการประเมินโครงสร้างพายุดีเปรสชัน[136]
  • วันที่ 20 กุมภาพันธ์ JMA ยังคงตรวจสอบดีเปรสชันเขตร้อน ก่อนที่จะประกาศคำเตือนสุดท้ายในวันที่ 20 กุมภาพันธ์[137]

ผลกระทบจากพายุดีเปรสชัน 01W ทำให้มีฝนตกหนักบริเวณแถบนอกของพายุและทำให้เกิดน้ำท่วมและแผ่นดินถล่มในหลายพื้นที่ของฟิลิปปินส์ตะวันตก มีอย่างน้อยสองคนที่เสียชีวิตจากเหตุการณ์นี้ และอีกหนึ่งคนพบว่าสูญหายไป มีบ้านเรือนประชาชนสามหลังคาเรือนถูกทำลาย และอีกห้าหลังคาเรือนได้รับความเสียหาย รวมแล้วมีประชาชนเกือบ 30,000 คนได้รับผลกระทบจากพายุและความสูญเสียนับเป็นมูลค่าเกิน 40 ล้านเปโซ (₱)[138]

พายุดีเปรสชันเขตร้อนลูกที่ 4

พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
ระยะเวลา8 – 11 เมษายน
ความรุนแรง55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
1004 mbar (hPa; 29.65 inHg)
  • วันที่ 4 เมษายน กลุ่มพายุฝนฟ้าคะนองอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของหมู่เกาะฮาวาย พัฒนาเป็นพื้นที่ความกดอากาศต่ำ
  • วันที่ 6 เมษายน หย่อมความกดอากาศต่ำได้เจอกับแนวลมเฉือนขนาดใหญ่แนวดิ่ง ทำให้กลุ่มพัฒนาไปทางทิศตะวันตก
  • วันที่ 8 เมษายน หย่อมความกดอากาศต่ำเคลื่อนตัวข้ามเส้นแบ่งเขตวันสากล เข้าสู่มหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก, JMA ได้ปรับระดับความรุนแรงเป็นดีเปรสชันเขตร้อน
  • วันที่ 10 เมษายน ลมเฉือนทำให้พายุเริ่มอ่อนตัวลง
  • วันที่ 11 เมษายน พายุสลายตัวไป

พายุดีเปรสชันเขตร้อนลูกที่ 5

พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
ระยะเวลา29 – 30 เมษายน
ความรุนแรง55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
1006 mbar (hPa; 29.71 inHg)
  • วันที่ 23 เมษายน ความแปรปวนเขตร้อนก่อตัวขึ้นบริเวณทิศตะวันออกเฉียงใต้ของปาเลา และเริ่มเคลื่อนตัวไปทางตะวันตก
  • วันที่ 28 เมษายน พายุเคลื่อนตัวไปอยู่ใกล้เกาะมินดาเนา, JMA ออกคำเตือนเกี่ยวกับพายุ
  • วันที่ 30 เมษายน พายุนำฝนและลมถึงเกาะมินดาเนาและเริ่มอ่อนกำลังลง เนื่องจากปฏิสัมพันธ์ระหว่างพื้นดิน
  • วันที่ 1 พฤษภาคม พายุได้สลายตัวไปอย่างสมบูรณ์

พายุดีเปรสชันเขตร้อนลูกที่ 11

พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
ระยะเวลา30 มิถุนายน – 5 กรกฎาคม
ความรุนแรง55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
1006 mbar (hPa; 29.71 inHg)

พายุดีเปรสชันเขตร้อนลูกที่ 18

พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
ระยะเวลา9 – 11 สิงหาคม (ออกนอกแอ่ง)
ความรุนแรง<55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
1008 mbar (hPa; 29.77 inHg)

พายุดีเปรสชันเขตร้อนลูกที่ 24

พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
ระยะเวลา10 – 14 กันยายน
ความรุนแรง55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
1006 mbar (hPa; 29.71 inHg)


พายุดีเปรสชันเขตร้อน 25W

พายุดีเปรสชันเขตร้อน (JMA)
พายุดีเปรสชัน (TMD)
พายุดีเปรสชันเขตร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา12 – 15 พฤศจิกายน
ความรุนแรง55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
1004 mbar (hPa; 29.65 inHg)

พายุดีเปรสชันเขตร้อนลูกอื่นๆ

ภาพถ่ายดาวเทียมของดีเปรสชันเขตร้อนขณะกำลังส่งผลกระทบกับฟิลิปปินส์ในเดือนกรกฎาคม

วันที่ 1 มกราคม JMA ได้ประกาศเตือนดีเปรสชันเขตร้อนกำลังอ่อนที่อยู่ที่ 75 กิโลเมตร (45 ไมล์) ทางตะวันตกเฉียงเหนือของกัวลา ตระเรนกานู, มาเลเซีย[139] ในระหว่างนั้นดีเปรสชันเขตร้อนได้เคลื่อนไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนืออย่างช้าๆ ก่อนจะถูกบันทึกครั้งสุดท้ายโดย JMA หลังจากนั้น[140][141]วันที่ 13 มกราคม JMA ได้เริ่มติดตามดีเปรสชันเขตร้อนที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ของลมเฉือนห่างจากกัวลาลัมเปอร์ไปทางตะวันออก ทาง 625 กิโลเมตร (390 ไมล์)[142][143] ระหว่างนั้นดีเปรสชันได้หยุดเคลื่อนตัวก่อนที่ JMA จะออกคำเตือนสุดท้าย ในวันถัดไประบบได้จางเหือดหายไป[144][145][146] วันที่ 8 เมษายน JMA ได้เริ่มตรวจสอบดีเปรสชันเขตร้อนมีการก่อตัวในระยะ 2,000 กิโลเมตร (1,200 ไมล์) ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของตาระวะ, คิริบาส[147] จากนั้นสองสามวันถัดไป JMA ยังคงเฝ้าตรวจสอบดีเปรสชันเขตร้อนก่อนที่จะถูกบันทึกครั้งสุดท้ายโดย JMA ระหว่างวันที่ 11 เมษายน ประมาณ 450 กิโลเมตร (280 ไมล์) ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะเวค[148] ช่วงสายของวันที่ 28 เมษายน JMA รายงานว่าพายุดีเปรสชันมีการก่อตัวทางตะวันออกเฉียงใต้ ห่างจาก เมืองดาเวา บนเกาะมินดาเนาเกาะฟิลิปปินส์ ที่ระยะ 460 กิโลเมตร (290 ไมล์)[149] วันถัดไป ดีเปรสชันเขตร้อนเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือทางทิศตะวันตกก่อนที่จะถูกบันทึกครั้งสุดท้าย ในวันที่ 30 เมษายน และสลายไปใกล้ๆกับมินดาเนา[150][151][152][153]

ใกล้เคียง

ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2566 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2565 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2556 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2562 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2544 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2563 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2560 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2561 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2546 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2545

แหล่งที่มา

WikiPedia: ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก_พ.ศ._2555 http://www.bom.gov.au/climate/tropnote/tropnote.sh... http://www.radioaustralia.net.au/international/201... http://weather.news.sina.com.cn/news/2012/0724/042... http://tcdata.typhoon.gov.cn/en/ http://tcrr.typhoon.gov.cn/EN/article/downloadArti... http://www.abs-cbnnews.com/nation/regions/08/21/12... http://www.abs-cbnnews.com/nation/regions/08/29/12... http://www.ajc.com/news/ap/international/2-chinese... http://www.aljazeera.com/news/asia/2012/08/2012820... http://www.asiaone.com/News/AsiaOne+News/Asia/Stor...