พายุ ของ ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก_พ.ศ._2555

พายุโซนร้อนกำลังแรงปาข่า

พายุโซนร้อน (JMA)
พายุโซนร้อน (TMD)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 1 (SSHWS)
ระยะเวลา26 มีนาคม – 2 เมษายน
ความรุนแรง75 กม./ชม. (45 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
998 mbar (hPa; 29.47 inHg)
  • วันที่ 17 มีนาคม ความแปรปวนเขตร้อนก่อตัวขึ้นทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของปาเลาและอยู่ในพื้นที่ลมเฉียนตามแนวตั้ง
  • วันที่ 24 มีนาคม JMA เพิ่มระดับความรุนแรงของหย่อมความกดอากาศเพิ่มขึ้น
  • วันที่ 25 มีนาคม JMA ปรับลดระดับความรุนแรงเนื่องจากการหมุนเวียนลมที่ศูนย์กลางได้ลดลง
  • วันที่ 26 มีนาคม JMA เพิ่มระดับความรุนแรงของความแปรปวนเขตร้อนอีกครั้งเพราะลมเฉือนต่ำแนวตั้งและความเอื้ออำนวยจากอุณหภูมิผิวน้ำทะเลในทะเลจีนใต้
  • วันที่ 28 มีนาคม JTWC ออก TCFA
  • วันที่ 29 มีนาคม JMA เพิ่มระดับความรุนแรงของหย่อมความกดอากาศต่ำเป็นพายุโซนร้อน และใช้ชื่อ ปาข่า (Pakhar) เนื่องจากมีการไหลเวียนของลมที่ศูนย์กลางอย่างสมบูรณ์
  • วันที่ 30 มีนาคม JTWC ได้ปรับเพิ่มระดับความรุนแรงของ ปาข่า เป็นพายุไต้ฝุ่นระดับ 1 เนื่องจากมีการพบตาพายุบริเวณศูนย์กลาง
  • วันที่ 31 มีนาคม JTWC ได้ปรับลดระดับความรุนแรงของ ปาข่า เป็นพายุโซนร้อน เนื่องจากปฏิกิริยาความสัมพันธ์ระหว่างพื้นดินและพื้นน้ำทะเล
  • วันที่ 1 เมษายน ปาข่า พัดขึ้นฝั่งใกล้กับ หวุงเต่า, เวียดนาม และเริ่มอ่อนตัวลง
  • วันที่ 2 เมษายน JMA ได้ปรับลดระดับความรุนแรง, ปาข่าเริ่มสลายตัว
  • วันที่ 5 เมษายน ปาข่าสลายตัวทั้งหมด

พายุโซนร้อนกำลังแรงซ้านหวู่

พายุโซนร้อนกำลังแรง (JMA)
พายุโซนร้อน (TMD)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 1 (SSHWS)
ระยะเวลา20 – 27 พฤษภาคม
ความรุนแรง110 กม./ชม. (70 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
975 mbar (hPa; 28.79 inHg)
  • วันที่ 20 พฤษภาคม กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) รายงานว่าพบการพัฒนาของดีเปรสชันเขตร้อนใกล้ ๆ กับกวม ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ที่ระยะ 525 กิโลเมตร (325 ไมล์)[11]
  • วันที่ 21 พฤษภาคม ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) ประกาศทวีความรุนแรงของระบบเป็นดีเปรสชันเขตร้อน
  • วันที่ 22 พฤษภาคม JMA ประกาศทวีความรุนแรงของระบบเป็นพายุโซนร้อนและใช้ชื่อ "ซ้านหวู่"
  • วันที่ 23 พฤษภาคม JTWC ประกาศทวีความรุนแรงของซ้านหวู่เป็นพายุไต้ฝุ่นระดับ 1 และซ้านหวู่เริ่มมีการจัดระเบียบของระบบมากขึ้นจากการสังเกต
  • วันที่ 24 พฤษภาคม JMA ประกาศทวีความรุนแรงของซ้านหวู่เป็นพายุโซนร้อนกำลังแรง
  • วันที่ 25 พฤษภาคม ตาพายุของซ้านหวู่ได้เคลื่อนตัวผ่านเกาะอิโวะจิมะ
  • วันที่ 26 พฤษภาคม ลมเฉือนตามแนวตั้งกำลังแรงและอุณหภูมิผิวน้ำทะเลที่เย็นขึ้น ทำให้การไหลเวียนของความร้อนในพายุลดลง ทำให้ระบบตาพายุเริ่มเล็กลง ต่อมา JTWC ประกาศลดความรุนแรงของซ้านหวู่เป็นพายุโซนร้อน
  • วันที่ 27 พฤษภาคม การติดตามโดย JMA พบว่าระดับการไหลเวียนพลังงานเริ่มจะเปิดออก ก่อนที่จะรายงานว่าซ้านหวู่อ่อนกำลังลงกลายเป็นต่ำเขตร้อนพิเศษ (Extratropical Low)
  • วันที่ 30 พฤษภาคม ระบบกระจายไปในที่สุด[11]

ผลกระทบของซ้านหวู่ก่อให้เกิดลมกระโชกแรงและมีฝนตกหนักประมาณ 1.5–2 นิ้ว (38–51 มิลลิเมตร)ในบางส่วนของกวมและหมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนา[12] ความเสียหายที่รายงานมาจากเกาะกวม พบว่าเกิดการหักโค่นของกิ่งไม้ทำให้เกิดความเสียหายกับระบบสายไฟฟ้า เป็นมลูค่าประมาณ 20,000 ดอลลาร์สหรัฐ[12]

พายุไต้ฝุ่นมาวาร์

พายุไต้ฝุ่น (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 3 (SSHWS)
ระยะเวลา31 พฤษภาคม – 6 มิถุนายน
ความรุนแรง140 กม./ชม. (85 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
960 mbar (hPa; 28.35 inHg)
ชื่อของ PAGASA: อัมโบ

  • วันที่ 29 พฤษภาคม ความแปรปวนเขตร้อนก่อตัวขึ้นบริเวณทิศตะวันตกเฉียงเหนือของปาเลา
  • วันที่ 31 พฤษภาคม มีการประกาศเตือน TCFA, PAGASA ปรับระดับความรุนแรงเป็นดีเปรสชันเขตร้อนและใช้ชื่อ "อัมโบ (Ambo)"
  • วันที่ 1 มิถุนายน JMA ปรับระดับความรุนแรงเป็นพายุโซนร้อนและใช้ชื่อ "มาวาร์ (Mawar)"
  • วันที่ 2 มิถุนายน JMA ปรับระดับความรุนแรงของพายุโซนร้อนมาวาร์ เป็น "พายุโซนร้อนกำลังแรงมาวาร์" ในขณะที่ JTWC ปรับระดับความรุนแรงเป็น พายุไต้ฝุ่นระดับ 1
  • วันที่ 3 มิถุนายน JMA ปรับระดับความรุนแรงของพายุโซนร้อนกำลังแรงมาวาร์ เป็น "ไต้ฝุ่นมาวาร์" หลังจากที่ JTWC ปรับระดับความรุนแรงเป็น พายุไต้ฝุ่นระดับ 2
  • วันที่ 4 มิถุนายน JTWC ปรับเพิ่มระดับความรุนแรงของไต้ฝุ่นมาวาร์จากพายุไต้ฝุ่นระดับ 2 เป็นพายุไต้ฝุ่นระดับ 3 แต่ได้ลดลงมาอยู่ในระดับ 2 เหมือนเดิมหลังจากนั้นเพียง 6 ชั่วโมงเนื่องจากลมเฉือน ที่มาจากกระแสเจ็ท (jet stream) บริเวณใกล้ๆประเทศญี่ปุ่น
  • วันที่ 5 มิถุนายน มาวาร์เริ่มอ่อนกำลังลงอย่างมาก จน JMA ได้ลดระดับความรุนแรงของมาวาร์เป็น พายุโซนร้อนกำลังแรง
  • วันที่ 6 มิถุนายน มาวาร์กลายเป็นพายุหมุนเต็มที่

พายุไต้ฝุ่นกูโชล

ดูบทความหลักที่: ไต้ฝุ่นกูโชล (พ.ศ. 2555)
พายุไต้ฝุ่น (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 4 (SSHWS)
ระยะเวลา10 – 19 มิถุนายน
ความรุนแรง185 กม./ชม. (115 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
930 mbar (hPa; 27.46 inHg)
ชื่อของ PAGASA: บุตโชย

  • วันที่ 7 มิถุนายน ความแปรปวนเขตร้อนก่อตัวขึ้นทางทิศตะวันออกเฉียงใต้เยื้องใต้ (south-southeast) ของโปนเป (Pohnpei)
  • วันที่ 8 มิถุนายน JTWC ออก TCFA แต่ได้ถูกยกเลิกไปในช่วงสายของวันที่ 9 มิถุนายน
  • วันที่ 10 มิถุนายน JMA ได้ปรับระดับความรุนแรงของหย่อมความกดอากาศต่ำเป็นดีเปรสชันเขตร้อน
  • วันที่ 13 มิถุนายน JTWC และ JMA ได้ปรับระดับความรุนแรงของพายุเป็นพายุโซนร้อน และใช้ชื่อ "กูโชล" (Guchol)
  • วันที่ 14 มิถุนายน JMA ปรับเพิ่มระดับความรุนแรงของกูโชลเป็น พายุโซนร้อนกำลังแรง, PAGASA ได้กำหนดชื่อ "บุตโชย" (Butchoy) เนื่องจากพายุโซนร้อนกำลังแรงกูโชลเคลื่อนตัวเข้ามาในเขตพื้นที่รับผิดชอบของสำนักงาน ต่อมา JTWC ได้ปรับระดับเพิ่มความรุนแรงของกูโชลเป็น พายุไต้ฝุ่นระดับ 1
  • วันที่ 15 มิถุนายน JTWC ได้ปรับเพิ่มระดับความรุนแรงของไต้ฝุ่นกูโชลเป็น พายุไต้ฝุ่นระดับ 2 เนื่องจากมันมีการพัฒนามากขึ้น
  • วันที่ 16 มิถุนายน กูโชลพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็วจนเกิด ตาพายุ บริเวณศูนย์กลาง ต่อมา JMA ได้ประกาศให้ไต้ฝุ่นกูโชล กลายเป็น พายุไต้ฝุ่นระดับ 3 และเป็น ซูเปอร์ พายุไต้ฝุ่นระดับ 4 ในเวลาถัดมาด้วย
  • วันที่ 18 มิถุนายน กูโชล เริ่มอ่อนกำลังลงจากลมเฉือนปานกลางแนวตั้งและลดระดับความรุนแรงอย่างรวดเร็ว
  • วันที่ 19 มิถุนายน JTWC ลดระดับความรุนแรงของพายุไต้ฝุ่นกูโซลเป็น พายุโซนร้อน ในขณะที่มันใกล้ขึ้นฝั่งบริเวณคาบสมุทรกี (Kii Peninsula), ประเทศญี่ปุ่น
  • วันที่ 20 มิถุนายน JMA ลดระดับความรุนแรงของกูโชลเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรงและปรับเป็นพายุหมุน

พายุโซนร้อนกำลังแรงตาลิม

พายุโซนร้อนกำลังแรง (JMA)
พายุโซนร้อน (TMD)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา16 – 20 มิถุนายน
ความรุนแรง95 กม./ชม. (60 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
985 mbar (hPa; 29.09 inHg)
ชื่อของ PAGASA: การีนา

  • วันที่ 14 มิถุนายน หย่อมความกดอากาศต่ำภายในร่องมรสุม ทางทิศตะวันออกของเกาะไหหนานของประเทศจีน
  • วันที่ 16 มิถุนายน หย่อมความกดอากาศต่ำเริ่มมีการไหลวันของอากาศร้อนภายใน JMA และ HKO เพิ่มระดับความรุนแรงเป็นดีเปรสชันเขตร้อน
  • วันที่ 17 มิถุนายน HKO ประกาศยกเลิกการติดตามพายุ, JMA ปรับระดับความรุนแรงของดีเปรสชันเขตร้อนเป็นพายุโซนร้อนและใช้ชื่อ "ตาลิม" (Talim)
  • วันที่ 18 มิถุนายน JTWC ได้ปรับระดับความรุนแรงของตาลิม เป็นพายุโซนร้อน
  • วันที่ 19 มิถุนายน HKO ประกาศยกเลิกการเฝ้าระวังลมแรง เนื่องจากลมเฉือนปานกลางจากแนวทิศเหนือผลักดันในตาลิมเคลื่อนไปทางใต้
  • วันที่ 20 มิถุนายน JMA ปรับระดับความรุนแรงเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรง แต่ก็ได้ลดความรุนแรงกลับมาเป็นพายุโซนร้อนดังเดิม และตัวพายุเริ่มเชื่อมกับร่องมรสุม, PAGASA ได้กำหนดชื่อ "คารินา" (Carina) เนื่องจากมันเข้าสู่พื้นที่รับผิดชอบของสำนักงาน ต่อมาทั้ง JMA และ JTWC ได้ประกาศลดระดับความรุนแรงของ ตาลิม เป็นดีเปรสชันเขตร้อนในช่องแคบไต้หวัน ไม่นาน ตาลิม ก็อ่อนกำลังลงเนื่องจากเชื่อมกับร่องมรสุมเดียวกันกับที่พัฒนาเป็นตัวพายุเอง

พายุโซนร้อนทกซูรี

พายุโซนร้อน (JMA)
พายุโซนร้อน (TMD)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา25 – 30 มิถุนายน
ความรุนแรง75 กม./ชม. (45 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
992 mbar (hPa; 29.29 inHg)
ชื่อของ PAGASA: ดินโด

  • วันที่ 25 มิถุนายน กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) เริ่มตรวจสอบดีเปรสชันเขตร้อนที่มีการพัฒนาอยู่ในร่องมรสุมทางตะวันตกเฉียงใต้ของ มะนิลา, ฟิลิปปินส์[13][14]
  • วันที่ 26 มิถุนายน ในวันนี้ดีเปรสชันเคลื่อนตัวไปทางทิศเหนือและตะวันตก, PAGASA ได้ตรวจสอบและกำหนดเป็นดีเปรสชันเขตร้อน และใช้ชื่อ "ดินโด" (Dindo)[15][16], JMA ปรับระดับความรุนแรงไปเป็นพายุโซนร้อนและใช้ชื่อ "ทกซูรี" (Doksuri)[17],JTWC ปรับระดับความรุนแรงของทกซูรีเป็นพายุโซนร้อน[ต้องการอ้างอิง]
  • วันที่ 27 มิถุนายน มีการไหลเวียนลมที่ศูนย์กลางในระดับต่ำ จนเจอกับลมเฉือนตะวันออก
  • วันที่ 28 มิถุนายน JTWC ปรับลดระดับความรุนแรงของพายุโซนร้อนทกซูรี เป็น ดีเปรสชันเขตร้อน เนื่องจากการไหลเวียนลมที่ศูนย์กลางผิดปกติและมีการไหลเวียนศูนย์กลางในที่ใหม่
  • วันที่ 29 มิถุนายน ทกซูรีพัดขึ้นฝั่ง จูไฮ่, กวางตุ้ง, จีน[18]
  • วันที่ 30 มิถุนายน JMA รายงานว่า ทกซูรี อ่อนกำลังลงเป็นดีเปรสชันเขตร้อนก่อนที่จะสลายตัวไปในช่วงสุดท้าย[19], ในมาเก๊า พายุทำให้เกิดความเสียหายกับหลังคาของบ้านเรือนประชาชนเล็กน้อย[20]

พายุโซนร้อนกำลังแรงขนุน

ดูบทความหลักที่: พายุโซนร้อนขนุน (พ.ศ. 2555)
พายุโซนร้อนกำลังแรง (JMA)
พายุโซนร้อน (TMD)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา14 – 19 กรกฎาคม
ความรุนแรง95 กม./ชม. (60 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
985 mbar (hPa; 29.09 inHg)
ชื่อของ PAGASA: เอนเตง

  • วันที่ 12 กรกฎาคม มีหย่อมความกดอากาศต่ำก่อตัวขึ้นบริเวณตะวันตกเฉียงเหนือของกวม
  • วันที่ 14 กรกฎาคม กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ประกาศเพิ่มความรุนแรงของระบบเป็นดีเปรสชันเขตร้อน
  • วันที่ 15 กรกฎาคม ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) ได้ประกาศการแจ้งเตือนการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อน และประกาศเพิ่มระดับความรุนแรงของระบบเป็นดีเปรสชันเขตร้อน
  • วันที่ 16 กรกฎาคม JMA ประกาศเพิ่มระดับความรุนแรงของระบบเป็นพายุโซนร้อน และใช้ชื่อ "ขนุน" ต่อมาอีกไม่นาน JTWC ก็ประกาศเพิ่มระดับความรุนแรงระบบเป็นพายุโซนร้อนด้วย พายุเคลื่อนตัวเข้าไปในพื้นที่รับผิดชอบของฟิลิปปินส์ PAGASA จึงประกาศใช้ชื่อ "เอนเทง" ในเวลาสั้นๆ ก่อนที่พายุจะเคลื่อนตัวออกจากพื้นที่รับผิดชอบของฟิลิปปินส์ไป
  • วันที่ 17 กรกฎาคม JMA ประกาศเพิ่มระดับความรุนแรงของขนุน เป็นพายุโซนร้อนกำลังแรง ขณะที่ศูนย์กลางของพายุผ่านเกาะโอะกิโนะเอะระบุ
  • วันที่ 18 กรกฎาคม JMA ประกาศลดระดับความรุนแรงของขนุนเป็นพายุโซนร้อน ขณะอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ค่อนใต้ของเกาะเชจู

พายุไต้ฝุ่นบิเซนเต

ดูบทความหลักที่: ไต้ฝุ่นบิเซนเต พ.ศ. 2555
พายุไต้ฝุ่น (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 4 (SSHWS)
ระยะเวลา18 – 25 กรกฎาคม
ความรุนแรง150 กม./ชม. (90 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
950 mbar (hPa; 28.05 inHg)
ชื่อของ PAGASA: เฟร์ดี

  • วันที่ 18 กรกฎาคม กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ได้ประกาศทวีกำลังระบบหย่อมความกดอากาศต่ำเป็นดีเปรสชันเขตร้อน[21]
  • วันที่ 20 กรกฎาคม ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) ได้ออกประกาศ TCFA ของระบบ[22] ต่อมาไม่นาน PAGASA ได้ประกาศทวีความรุนแรงของระบบเป็นดีเปรสชันเขตร้อนและใช้ชื่อ "เฟร์ดี (Ferdie)"[23] ต่อมา JTWC ได้ประกาศทวีกำลังระบบเป็นดีเปรสชันเขตร้อน[24] หลังจากระบบเคลื่อนเข้ามาอยู่ในทะเลจีนใต้
  • วันที่ 21 กรกฎาคม JMA ได้ประกาศทวีกำลังพายุเป็นพายุโซนร้อนและใช้ชื่อ "บิเซนเต"[25]
  • วันที่ 23 กรกฎาคม เนื่องจากลมเฉือนแนวตั้งและอุณหภูมิผิวน้ำทะเลที่สูงขึ้น กระตุ้นให้บิเซนเตทวีกำลังแรงขึ้น ต่อมา JMA ได้ประกาศทวีกำลังบิเซนเตเป็นไต้ฝุ่น และ JTWC ได้ประกาศทวีกำลังแรงบิเซนเตเป็นไต้ฝุ่นระดับ 4[26] ที่เวลา 16:45 UTC หอสังเกตการณ์ฮ่องกง (HKO) ได้ออกสัญญาณเตือนภัยพายุเฮอร์ริเคนระดับ 10 เป็นครั้งแรกตั้งแต่ไต้ฝุ่นยอร์ก ในปี พ.ศ. 2542[27] ต่อมาไต้ฝุ่นบิเซนเตได้ขึ้นถล่มแผ่นดินที่ไทชานในมณฑลกวางตุ้ง, จีน[28]
  • วันที่ 24 กรกฎาคม เนื่องจากระบบขึ้นไปอยู่บนแผ่นดิน JMA ได้ประกาศลดความรุนแรงของบิเซนเตเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรง และ JTWC ได้ประกาศลดความรุนแรงของบิเซนเตไปเป็น ไต้ฝุ่นระดับ 3[29][30] และในวันเดียวกันนั้น

JMA ได้ประกาศลดความรุนแรงบิเซนเตเป็นดีเปรสชันเขตร้อน[31]

พายุไต้ฝุ่นเซาลา

ดูบทความหลักที่: ไต้ฝุ่นเซาลา (พ.ศ. 2555)
พายุไต้ฝุ่น (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 2 (SSHWS)
ระยะเวลา26 กรกฎาคม – 5 สิงหาคม
ความรุนแรง130 กม./ชม. (80 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
960 mbar (hPa; 28.35 inHg)
ชื่อของ PAGASA: เฮเนร์

  • วันที่ 26 กรกฎาคม กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) รายงานว่าพบว่ามีการพัฒนาดีเปรสชันเขตร้อน ในพื้นที่ลมเฉือนแนวตั้งกำลังแรงภายในร่องมรสุม ประมาณ 1,000 กิโลเมตร (620 ไมล์) ทางตะวันออกเฉียงใต้ของมะนิลา, ฟิลิปปินส์
  • วันที่ 28 กรกฎาคม ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) ประกาศทวีความรุนแรงให้ระบบเป็นดีเปรสชันเขตร้อน ในขณะที่ JMA ได้ประกาศทวีความรุนแรงให้ระบบเป็นพายุโซนร้อน และใช้ชื่อ "เซาลา" อีกไม่นาน PAGASA ได้ประกาศทวีความรุนแรงระบบเป็นดีเปรสชันเขตร้อนและใช้ชื่อ "เฮเนร์ (Gener)"
  • วันที่ 29 กรกฎาคม JTWC ได้ประกาศทวีความรุนแรงเซาลา เป็นพายุโซนร้อน ส่วน JMA ได้ประกาศทวีความรุนแรงเซาลาเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรง
  • วันที่ 30 กรกฎาคม JTWC ได้ประกาศทวีความรุนแรงของเซาลาอีกครั้งเป็น ไต้ฝุ่นระดับ 1 ในขณะที่ระบบเริ่มพัฒนาลักษณะของตาพายุแต่จากนั้นไม่นาน เซาลาก็ได้อ่อนกำลังลงเป็นพายุโซนร้อนอีกครั้ง
  • วันที่ 31 กรกฎาคม JMA ได้ประกาศทวีความรุนแรงของเซาลาเป็นไต้ฝุ่น เซาลายังคงทวีกำลังแรงต่อไปเรื่อย ๆ จนกลายเป็นไต้ฝุ่นระดับ 2
  • วันที่ 1 สิงหาคม การพยากรณ์ส่วนใหญ่ได้คาดการณ์ว่า เซาลา จะผ่านใกล้ชายฝั่งทางตอนเหนือของเกาะไต้หวัน ขณะที่เซาลากำลังถล่มแผ่นดินไต้หวัน พายุได้ทวีกำลังแรงเป็น ไต้ฝุ่นระดับ 2 ตัวพายุนั้นเคลื่อนผ่านแผ่นดินไปอย่างช้า ๆ และอ่อนกำลังลงเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรง และมุ่งหน้าตรงต่อไปประเทศจีน
  • วันที่ 3 สิงหาคม พายุขึ้นถล่มแผ่นดินในมณฑลฝูเจี้ยน, ไต้หวัน และออกทะเลไปขึ้นฝั่งอีกครั้งด้วยความรุนแรงเป็นพายุโซนร้อนใกล้เจียงซี

พายุไต้ฝุ่นด็อมเร็ย

ดูบทความหลักที่: ไต้ฝุ่นด็อมเร็ย พ.ศ. 2555
พายุไต้ฝุ่น (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 1 (SSHWS)
ระยะเวลา27 กรกฎาคม – 4 สิงหาคม
ความรุนแรง130 กม./ชม. (80 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
965 mbar (hPa; 28.5 inHg)
  • วันที่ 26 กรกฎาคม มีหย่อมความกดอากาศต่ำก่อตัวขึ้นทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของมินะมิโทะริชิมะ
  • วันที่ 27 กรกฎาคม กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ได้ประกาศทวีความรุนแรงขึ้นเป็นดีเปรสชันเขตร้อน[32]
  • วันที่ 28 กรกฎาคม ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) ออกประกาศเตือนการแจ้งเตือนการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อน ก่อนที่ JMA จะประกาศทวีความรุนแรงระบบเป็นพายุโซนร้อน และใช้ชื่อ "ด็อมเร็ย"[33][34] และต่อมา JTWC ก็ได้ประกาศทวีความรุนแรงด็อมเร็ยเป็นดีเปรสชันเขตร้อนด้วย[35]
  • วันที่ 29 กรกฎาคม JTWC ได้ประกาศทวีความรุนแรงด็อมเร็ยเป็นพายุโซนร้อน[36]
  • วันที่ 30 กรกฎาคม ด็อมเร็ยได้เคลื่อนตัวอย่างช้า ๆ และทวีกำลังแรง จน JMA ได้ประกาศทวีความรุนแรงด็อมเร็ยเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรงทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะจิจิชิมะ ต่อมาพายุได้เคลื่อนตัวมาทางตะวันตกเฉียงเหนือและเริ่มปรากฏรูปแบบของตาพายุ[37]
  • วันที่ 1 สิงหาคม JTWC ได้ประกาศทวีความรุนแรงด็อมเร็ยเป็นไต้ฝุ่นระดับ 1 ขณะที่กำลังเคลื่อนตัวผ่านหมู่เกาะโอะซุมิ ในประเทศญี่ปุ่นขณะที่ระบบเริ่มพัฒนาตาของพายุขึ้น[38]
  • วันที่ 2 สิงหาคม ด็อมเร็ยเคลื่อนตัวเข้าสู่ทะเลเหลือง ต่อมา JMA ได้ประกาศทวีความรุนแรงด็อมเร็ยเป็นไต้ฝุ่น ต่อมาไม่นาน ด็อมเร็ย ขึ้นถล่มแผ่นดินเซียงซุย ใน เจียงซู, จีน ที่เวลา 13:30 UTC (21:30 CST)[39] ต่อมาไม่นาน JTWC ได้ประกาศลดความรุนแรงด็อมเร็ยลงเป็นพายุโซนร้อนและออกคำประกาศเตือนครั้งสุดท้าย
  • วันที่ 3 สิงหาคม JMA ได้ประกาศลดความรุนแรงด็อมเร็ยเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรง และเป็นดีเปรสชันเขตร้อนเมื่อพายุอยู่ในซานตง
  • วันที่ 4 สิงหาคม ระบบได้สลายตัวไปใกล้เหอเป่ย์[40]

พายุไต้ฝุ่นไห่ขุย

ดูบทความหลักที่: ไต้ฝุ่นไห่ขุย พ.ศ. 2555
พายุไต้ฝุ่น (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 1 (SSHWS)
ระยะเวลา1 – 11 สิงหาคม
ความรุนแรง120 กม./ชม. (75 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
965 mbar (hPa; 28.5 inHg)
  • วันที่ 31 กรกฎาคม หย่อมความกดอากาศต่ำก่อตัวในร่องมรสุม
  • วันที่ 1 สิงหาคม กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ได้ประกาศทวีความรุนแรงระบบเป็นดีเปรสชันเขตร้อนทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของอิโวะจิมะ และศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) ได้ออกประกาศการแจ้งเตือนการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อนในวันเดียวกัน[41][42]
  • วันที่ 2 สิงหาคม JTWC ได้ประกาศทวีความรุนแรงของระบบเป็นดีเปรสชันเขตร้อน
  • วันที่ 3 สิงหาคม JMA ได้ประกาศทวีความรุนแรงของดีเปรสชันเขตร้อนเป็นพายุโซนร้อนและใช้ชื่อ "ไห่ขุย"[43][44]
  • วันที่ 4 สิงหาคม JTWC ได้ประกาศทวีความรุนแรงของไห่ขุยเป็นพายุโซนร้อน[45]
  • วันที่ 5 สิงหาคม JMA ได้ประกาศทวีความรุนแรงของพายุโซนร้อนไห่ขุยเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรง ขณะที่พายุอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือเยื้องเหนือของเกาะคุเมะ[46]
  • วันที่ 6 สิงหาคม JTWC ได้ประกาศทวีความรุนแรงพายุโซนร้อนไห่ขุยเป็นไต้ฝุ่นระดับ 1 เมื่อพายุเริ่มมีการพัฒนาตา
  • วันที่ 7 สิงหาคม JMA ได้ประกาศทวีความรุนแรงไห่ขุยเป็นไต้ฝุ่น และในขณะเดียวกัน JTWC ก็ได้ประกาศลดระดับความรุนแรงของไต้ฝุ่นระดับ 1 ไห่ขุยเป็นพายุโซนร้อน ต่อมา ไห่ขุยได้ขึ้นถล่มแผ่นดินเชียงซาน ใน มณฑลเจ้อเจียง, จีน ที่เวลา 19.20 UTC (วันที่ 8 สิงหาคม เวลา 03.20 น. ตามเวลาในประเทศจีน)[47]
  • วันที่ 8 สิงหาคม JMA ได้ประกาศลดระดับความรุนแรงของไห่ขุยลงเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรง และ JTWC ก็ได้ออกคำเตือนสุดท้ายของพายุ ในไม่ช้า JMA ก็ลดระดับความรุนแรงไห่ขุยเป็นพายุโซนร้อน

พายุโซนร้อนกำลังแรงคีโรกี

พายุโซนร้อนกำลังแรง (JMA)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา3 – 10 สิงหาคม
ความรุนแรง95 กม./ชม. (60 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
990 mbar (hPa; 29.23 inHg)
  • วันที่ 3 สิงหาคม กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) รายงานว่าดีเปรสชันเขตร้อนมีการก่อตัวขึ้นในร่องมรสุม ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะเวก[48][49]
  • วันที่ 4 สิงหาคม ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) ได้ออกประกาศการแจ้งเตือนการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อน และได้ประกาศทวีความรุนแรงของระบบเป็นดีเปรสชันเขตร้อนต่อมาตามลำดับ[50]
  • วันที่ 5 สิงหาคม JTWC ได้ประกาศทวีความรุนแรงระบบเป็นพายุโซนร้อน[51]
  • วันที่ 6 สิงหาคม JMA ได้รายงานว่าระบบได้กลายเป็นไซโคลนเต็มรูปแบบ[52]
  • วันที่ 8 สิงหาคม JMA ได้ประกาศทวีความรุนแรงของระบบเป็นพายุโซนร้อนและใช้ชื่อ "คีโรกี"[53]
  • วันที่ 9 สิงหาคม JTWC ได้ประกาศลดความรุนแรง คีโรกี ลงเป็นดีเปรสชันเขตร้อน[54] ต่อมา JMA ได้ประกาศทวีความรุนแรง คีโรกี เป็นพายุโซนร้อนกำลังแรงและมีกำลังแรงสุด[55] ขณะเดียวกัน JTWC ได้ประกาศทวีความรุนแรง คีโรกี เป็นพายุโซนร้อนอีกครั้ง[56] ในช่วงสุดท้ายของวัน JTWC ได้ประกาศคำเตือนสุดท้าย และประกาศลดระดับความรุนแรง คีโรกี เป็นดีเปรสชันเขตร้อน[57] ส่วนสุดท้ายของระบบเคลื่อนตัวไปยังทะเลโอค็อตสค์ และสลายไปในไซบีเรีย

พายุไต้ฝุ่นไคตั๊ก

ดูบทความหลักที่: ไต้ฝุ่นไคตั๊ก (พ.ศ. 2555)
พายุไต้ฝุ่น (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 1 (SSHWS)
ระยะเวลา12 – 18 สิงหาคม
ความรุนแรง120 กม./ชม. (75 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
970 mbar (hPa; 28.64 inHg)
ชื่อของ PAGASA: เฮเลน

  • วันที่ 10 สิงหาคม ร่องมรสุมได้มีการก่อตัวของหย่อมความกดอากาศต่ำ[58]และได้เกิดการไหลเวียนความร้อนระดับอ่อน[59]
  • วันที่ 12 สิงหาคม กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ได้เริ่มติดตามดีเปรสชันเขตร้อนอ่อนๆกับลมต่ำกว่า 30 นอต[60] ต่อมาสำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ (PAGASA) ได้เริ่มการออกคำเตือนเกี่ยวกับระบบและใช้ชื่อ "เอเลน (Helen)"[61]และศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) ก็เริ่มประกาศคำเตือนในดีเปรสชันเขตร้อน 14W[62]
  • วันที่ 13 สิงหาคม JMA ได้ประกาศทวีความรุนแรงของดีเปรสชันเป็นพายุโซนร้อนและใช้ชื่อ "ไคตั๊ก"[63] 9 ชั่วโมงต่อมาหลังจาก JTWC ได้ติดตามระบบ[64] ต่อมา JMA ได้ประกาศทวีความรุนแรงพายุอีกครั้งเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรง[65]
  • วันที่ 15 สิงหาคม ระบบเริ่มมีการไหลเวียนระบบที่ดีขึ้นและ JTWC ได้ประกาศทวีความรุนแรงระบบเป็นไต้ฝุ่น[66]และพายุยังคงมุ่งหน้าเข้าสู่ประเทศจีนด้วยระบบที่ลึกลงและเริ่มมีลมเฉือนลดลง[67] อย่างไรก็ตามก็เป็นเพียงในเวลา 0000 UTC เท่านั้น
  • วันที่ 16 สิงหาคม JMA ได้แถลงอย่างเป็นทางการว่า ไคตั๊ก ยังคงเป็นไต้ฝุ่นอยู่[68]ในเวลาเดียวกัน PAGASA ได้ออกคำเตือนสุดท้ายของหน่วยสำหรับ "ไคตั๊ก" ที่ทางหน่วยงานเรียกว่า "เฮเลน" หลังจากนั้นระบบพายุได้เคลื่อนออกจากพื้นที่รับผิดชอบของฟิลิปปินส์[69]
  • วันที่ 17 สิงหาคม ไคตั๊กได้ขึ้นถล่มแผ่นดินที่คาบสมุทรเลโจวในภาคใต้ของประเทศจีนในระดับความรุนแรงของไต้ฝุ่น[70] ภายใน 6 ชั่วโมง ไคตั๊กเคลื่อนตัวสู่ชายฝั่งภาคตะวันออกเฉียงเหนือของเวียดนามและอ่อนกำลังเป็นพายุโซนร้อน[71] ช่วงกลางคืน JTWC ได้ออกคำเตือนสุดท้ายของระบบในขณะที่ระบบอ่อนกำลังลงและเคลื่อนตัวเร็วขึ้นบนแผ่นดิน[72]
  • วันที่ 18 สิงหาคม JMA ได้หยุดติดตามพายุ[73]

พายุไต้ฝุ่นเท็มบิง

พายุไต้ฝุ่น (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 4 (SSHWS)
ระยะเวลา17 – 30 สิงหาคม
ความรุนแรง150 กม./ชม. (90 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
950 mbar (hPa; 28.05 inHg)
ชื่อของ PAGASA: อินเม

  • วันที่ 16 สิงหาคม มีหย่อมความกดอากาศต่ำเขตร้อนก่อตัวขึ้นทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของไต้หวัน[74]
  • วันที่ 17 สิงหาคม กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ได้ประกาศว่าระบบกลายเป็นดีเปรสชันเขตร้อน[75]
  • วันที่ 18 สิงหาคม ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) ได้ออกประกาศการแจ้งเตือนการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อน (TCFA) กับระบบ[76]
  • วันที่ 19 สิงหาคม JMA ได้ประกาศทวีความรุนแรงระบบเป็นพายุโซนร้อนและใช้ชื่อ "เท็มบิง" ส่วน JTWC ก็ได้ประกาศให้ระบบทวีความรุนแรงเป็นเป็นดีเปรสชันเขตร้อน[77][78]ในไม่ช้าสำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ (PAGASA) ก็ได้ประกาศทวีความรุนแรงของระบบเป็นดีเปรสชันเขตร้อนและใช้ชื่อ "อินเม (Igme)"[79]
  • วันที่ 20 สิงหาคม เท็มบิงเริ่มทวีกำลังแรงขึ้นและมีความหนาแน่นแบบแรงระเบิดไหลออกคู่ส่งผลให้ JMA และ JTWC ได้ประกาศทวีความรุนแรงเท็มบิงเป็นไต้ฝุ่น[80][81]
  • วันที่ 22 สิงหาคม เท็มบิงได้ทวีกำลังแรงขึ้นไปอีกเป็นไต้ฝุ่นระดับ 1 และเริ่มมีผนังขอบตาพายุ[82]
  • วันที่ 23 สิงหาคม เท็มบิงกลับมาทวีกำลังแรงขึ้นอีกครั้งและมีความรุนแรงถึงไต้ฝุ่นระดับ 3 ก่อนจะขึ้นถล่มแผ่นดิน ผิงตง, ไต้หวัน ในวันเดียวกัน[83]
  • วันที่ 24 สิงหาคม หลังจากที่พายุขึ้นถล่มแผ่นดินไต้หวันก็เริ่มอ่อนกำลังลง ต่อมา JMA ได้ประกาศลดความรุนแรงของพายุเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรง และ JTWC ได้ประกาศลดระดับความรุนแรงพายุเป็นพายุโซนร้อนในภายหลัง[84]
  • วันที่ 25 สิงหาคม ในไม่ช้า JTWC ประกาศทวีความรุนแรงระบบอีกครั้งเป็นไต้ฝุ่นเมื่อพายุเคลื่อนตัวเข้าสู่ทะเลจีนใต้ ต่อมา JMA ประกาศทวีความรุนแรงเป็นไต้ฝุ่นอีกครั้ง

พายุไต้ฝุ่นบอละเวน

พายุไต้ฝุ่น (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 4 (SSHWS)
ระยะเวลา19 – 29 สิงหาคม
ความรุนแรง185 กม./ชม. (115 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
910 mbar (hPa; 26.87 inHg)
ชื่อของ PAGASA: ฮูเลียน

  • วันที่ 19 สิงหาคม อดีตของพายุดีเปรสชันเขตร้อนทางตะวันตกเฉียงใต้ของหมู่เกาะมาเรียนา[85]โบเลเวน ได้ทวีกำลังแรงขึ้นอย่างต่อเนื่องและค่อยๆเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือในพื้นที่พัฒนาเขตร้อน
  • วันที่ 21 สิงหาคม ระบบทวีกำลังเป็นพายุโซนร้อนอย่างรวดเร็วและหลังจากนั้นได้ทวีความรุนแรงเป็นไต้ฝุ่น[86][87]
  • วันที่ 24 สิงหาคม ระบบได้มีลมหมุนเวียนสูงสุด 185 กม./ชม. (115 ไมล์) และมีความกดอากาศ 910 มิลลิบาร์ (เฮกโตปาสกาล; 26.81 นิ้วปรอท) และอ่อนกำลังเล็กน้อย พายุได้เคลื่อนผ่านโอะกินะวะ
  • วันที่ 26 สิงหาคม ระบบเริ่มเคลื่อนตัวไปทางเหนือ[88][89][90]
  • วันที่ 28 สิงหาคม บอละเวนได้อ่อนกำลังลงอย่างต่อเนื่อง และเคลื่อนตัวเข้าหาคาบสมุทรเกาหลีและเคลื่อนเข้าถล่มแผ่นดินเกาหลีในที่สุดก่อนจะกลายเป็นไซโคลนเต็มรูปแบบ[91] ส่วนที่เหลืออยู่ของบอละเวนเคลื่อนตัวเข้าสู่รัสเซียอย่างรวดเร็ว[92]

แม้ว่าบอละเวน ในขณะโจมตีเกาะริวกิวนั้นเป็นพายุไต้ฝุ่น แต่ก็มีความเสียหายน้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้[93] ผลกระทบที่รุนแรงที่สุดจะเป็นฝนตกหนักเป็นจำนวน 551.5 มม. (21.71 นิ้ว) ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและดินถล่ม[94]มีคนหนึ่งจมน้ำเสียชีวิตในอะมะมิ โอะชิมะหลังจากที่ถูกน้ำพลัดหายไปในแม่น้ำ[95]ในญี่ปุ่นแผ่นดินใหญ่ มีสองคนถูกพัดหายไปในทะเล[96][97] ในเกาหลีใต้ มีคนจำนวน 19 คนถูกฆ่าโดยพายุ อาคารหลายหลังคาเรือนได้รับความเสียหายและประมาณ 1.9 ล้านหลังคาเรือนต้องอยู่อย่างไม่มีไฟฟ้าใช้[98][99]ในประเทศเกาหลีมีความเสียหายถึง 420 พันล้านวอน () สวนแอปเปิ้ลส่วนใหญ่ถูกทำลายไป[100] ส่วนความเสียหายในเกาหลีเหนือคือ มีผู้เสียชีวิตจากพายุอย่างน้อย 59 คนและมีบุคคลสูญหายไป 50 คน[101] นอกจากนี้บ้านเรือนประชาชนนอกชายฝั่ง 6,700 หลังคาเรือนถูกทำลายไป และมีผูเสียชีวิต 9 คนจากเรื่อล่มในจีน[102]

พายุไต้ฝุ่นซันปา

พายุไต้ฝุ่น (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 (SSHWS)
ระยะเวลา10 – 18 กันยายน
ความรุนแรง205 กม./ชม. (125 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
900 mbar (hPa; 26.58 inHg)
ชื่อของ PAGASA: กาเรน

  • วันที่ 9 กันยายน บริเวณถูกรบกวนเขตร้อนก่อตัวขึ้นทางใต้ของกวม[103]
  • วันที่ 10 กันยายน ระบบเคลื่อนที่ไปทางทิศตะวันตก, JMA ปรับเพิ่มทวีความรุนแรงเป็นดีเปรสชันเขตร้อนบริเวณปาเลา, JTWC ออกประกาศ TCFA ในระบบ โดย JTWC ได้ปรับเพิ่มทวีความรุนแรงเป็นดีเปรสชันเขตร้อนเช่นกัน
  • วันที่ 11 กันยายน JMA ได้ประกาศเพิ่มทวีความรุนแรงเป็นพายุโซนร้อน (TS) และใช้ชื่อว่า "ซันปา (Sanba)" ,สำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ ออกประกาศใช้ชื่อว่า "กาเรน (Karen)"[104]
  • วันที่ 12 กันยายน JTWC ประกาศทวีความรุนแรงพายุเป็นพายุไต้ฝุ่นระดับ 1 ขณะที่ตัวระบบเริ่มมีลักษณะของตาพายุ
  • วันที่ 13 กันยายน JTWC ประกาศทวีความรุนแรงของพายุเป็นพายุไต้ฝุ่นระดับ 5 (พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่น), และเป็นพายุที่แรงที่สุดนับจากไต้ฝุ่นเมกีปี พ.ศ. 2553

พายุไต้ฝุ่นเจอลาวัต

พายุไต้ฝุ่น (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 (SSHWS)
ระยะเวลา20 กันยายน – 1 ตุลาคม
ความรุนแรง205 กม./ชม. (125 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
905 mbar (hPa; 26.72 inHg)
ชื่อของ PAGASA: ลาวิน

  • วันที่ 17 กันยายน มีการตรวจพบความแปรปรวนเขตร้อนทางทิศตะวันออกของกวม
  • วันที่ 20 กันยายน JTWC ประกาศ TCFA พร้อม JMA ประกาศทวีความรุนแรงบริเวณความกดอากาศต่ำเป็นดีเปรสชันเขตร้อน (TD), 8 ชั่วโมงต่อมา PAGASA ได้ทวีความรุนแรงของระบบให้เป็นดีเปรสชันเขตร้อนและใช้ชื่อ "ลาวิน (Lawin)" จากนั้น JTWC ได้ประกาศทวีความรุนแรงของมันเป็นดีเปรสชันเขตร้อนด้วยเช่นกัน

ต่อมา JMA ได้ประกาศทวีความรุนแรงของระบบเป็นพายุโซนร้อน (TS) และใช้ชื่อ "เจอลาวัต (Jelawat)" เช่นเดียวกับ JTWC

  • วันที่ 21 กันยายน เพียงครึ่งวันต่อจากนั้น JMA ได้ประกาศทวีความรุนแรงของ เจอลาวัต เป็นพายุโซนร้อนกำลังแรง (STS)
  • วันที่ 23 กันยายน ทั้ง JMA และ JTWC ประกาศทวีความรุนแรงของ เจอลาวัต เป็นไต้ฝุ่น (TY) ขณะที่ตัวพายุเริ่มรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ จนกลายเป็นไต้ฝุ่นระดับ 1 (Category 1 Typhoon) และกลายเป็น ไต้ฝุ่นระดับ 4 (Category 4 Typhoon) ภายในระยะเวลา 12 ชั่วโมง ขณะที่เริ่มมีการพัฒนาของตาพายุเล็ก ๆ บริเวณใจกลางพายุ
  • วันที่ 25 กันยายน เจอลาวัต มีขนาดกว้างขึ้น 50 กิโลเมตร หลังจากมีพนังขอบตาพายุ, JTWC ประกาศทวีความรุนแรงของระบบเป็น ซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 (Category 5 Super Typhoon)
  • วันที่ 26 กันยายน JTWC ประกาศลดระดับความรุนแรงเป็น ซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 4 (Category 4 Super Typhoon)
  • วันที่ 28 กันยายน หลังจากไต้ฝุ่นเจอลาวัตขึ้นฝั่งที่ประเทศไต้หวัน ก็ได้อ่อนกำลังลงเรื่อยๆ จาก ซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 4 เป็นไต้ฝุ่นระดับ 3 และ 2 และเนื่องจากอุณหภูมิผิวน้ำทะเลที่เย็นขึ้นทำให้มันอ่อนกำลังลงไปอีกเป็น ไต้ฝุ่นระดับ 1

พายุโซนร้อนกำลังแรงเอวิเนียร์

พายุโซนร้อนกำลังแรง (JMA)
พายุโซนร้อน (TMD)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา23 – 30 กันยายน
ความรุนแรง95 กม./ชม. (60 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
985 mbar (hPa; 29.09 inHg)
  • วันที่ 22 กันยายน หย่อมความกดอากาศต่ำก่อตัวทางตะวันตกของเกาะกวม
  • วันที่ 23 กันยายน กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ได้ประกาศทวีความรุนแรงระบบเป็นดีเปรสชันเขตร้อน
  • วันที่ 24 กันยายน ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) ได้ประกาศทวีความรุนแรงระบบเป็นดีเปรสชันเขตร้อน ต่อมาได้ประกาศทวีความรุนแรงอีกครั้งเป็นพายุโซนร้อน และใช้ชื่อ "เอวิเนียร์" และเริ่มเคลื่อนออกจากเจอลาวัต ต่อมา JMA ได้เปิดเผยภาพถ่ายดาวเทียมพายุที่มีลักษณะเหมือนตาขนาดเล็กปรากฏอยู่
  • วันที่ 29 กันยายน ระบบสลายไปโดยลมเฉือนแนวตั้งกำลังแรงและกลายเป็นพายุหมุนนอกเขตร้อนเต็มรูปแบบในวันรุ่งขึ้น[105]

พายุโซนร้อนกำลังแรงมาลิกซี

พายุโซนร้อนกำลังแรง (JMA)
พายุโซนร้อน (TMD)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา29 กันยายน – 4 ตุลาคม
ความรุนแรง95 กม./ชม. (60 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
985 mbar (hPa; 29.09 inHg)
  • วันที่ 27 กันยายน มีการตรวจพบความแปรปรวนเขตร้อนใกล้กับรัฐชุก
  • วันที่ 29 กันยายน JMA ประกาศทวีความรุนแรงบริเวณความกดอากาศต่ำเป็นดีเปรสชันเขตร้อน (TD)
  • วันที่ 1 ตุลาคม ระบบพัฒนาเป็นพายุโซนร้อน JMA ประกาศใช้ชื่อ มาลิกซี
  • วันที่ 3 ตุลาคม JMA ประกาศทวีความรุนแรงของพายุจากพายุโซนร้อน เป็นพายุโซนร้อนกำลังแรง
  • วันที่ 4 ตุลาคม มาลิกซี เริ่มอ่อนกำลังลงและสลายตัวไปในที่สุด

พายุโซนร้อนกำลังแรงแคมี

พายุโซนร้อนกำลังแรง (JMA)
พายุโซนร้อน (TMD)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา29 กันยายน – 7 ตุลาคม
ความรุนแรง95 กม./ชม. (60 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
990 mbar (hPa; 29.23 inHg)
ชื่อของ PAGASA: มาร์เซ

  • วันที่ 28 กันยายน มีการตรวจพบความแปรปรวนเขตร้อนทางตะวันออกของเวียดนาม
  • วันที่ 29 กันยายน JMA ประกาศทวีความรุนแรงบริเวณความกดอากาศต่ำเป็นดีเปรสชันเขตร้อน (TD) ภายในร่องความกดอากาศต่ำ (ร่องมรสุม) ที่ระยะห่างจากนครโฮจิมินห์ ประมาณ 745 กิโลเมตร (465 ไมล์)[106][107]
  • วันที่ 1 ตุลาคม ระบบพัฒนาเป็นพายุโซนร้อน JMA ประกาศใช้ชื่อ แคมี

พายุไต้ฝุ่นพระพิรุณ

พายุไต้ฝุ่น (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 3 (SSHWS)
ระยะเวลา5 – 19 ตุลาคม
ความรุนแรง165 กม./ชม. (105 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
940 mbar (hPa; 27.76 inHg)
ชื่อของ PAGASA: นีนา

  • วันที่ 5 ตุลาคม JMA ประกาศทวีความรุนแรงคลื่นความแปรปรวนเขตร้อนเป็นดีเปรสชันเขตร้อนบริเวณตอนเหนือของเกาะกวม[108]
  • วันที่ 7 ตุลาคม JMA ประกาศทวีความรุนแรงของดีเปรสชันเขตร้อน (TD) เป็นพายุโซนร้อน (TS) และประกาศใช้ชื่อ พระพิรุณ และต่อมา พระพิรุณ ได้ทวีความรุนแรงเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรง (STS), PAGASA ได้ประกาศใช้ชื่อ นีนา (Nina) เนื่องจากระบบเข้ามาในเขตพื้นรับชอบของฟิลิปปินส์ (Philippine Area of Responsibility ; PAR)[109]

พายุโซนร้อนกำลังแรงมาเรีย

พายุโซนร้อนกำลังแรง (JMA)
พายุโซนร้อน (TMD)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา12 – 20 ตุลาคม
ความรุนแรง95 กม./ชม. (60 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
990 mbar (hPa; 29.23 inHg)
  • วันที่ 13 ตุลาคม กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ได้ประกาศทวีความรุนแรงของระบบเป็นดีเปรสชันเขตร้อน[110]ในขณะที่ ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) อยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของปากันในหมู่เกาะนอร์ทเทิร์นมาเรียนาห่างประมาณ 50 ไมล์ทะเล (93 กิโลเมตร; 85 ไมล์)[111]
  • วันที่ 14 ตุลาคม ระบบเคลื่อนไปทางตะวันตกและทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อนมาเรีย[112]
  • วันที่ 15 ตุลาคม JMA ได้ประกาศทวีความรุนแรง มาเรีย เป็นพายุโซนร้อนกำลังแรง[113]
  • วันที่ 19 ตุลาคม การไหลเวียนลมเฉือนทำให้พายุเริ่มเคลื่อนที่ช้าลง[114]
  • วันที่ 20 ตุลาคม เศษที่เหลือกำลังรวมเข้ากับ พระพิรุณ โดยพระพิรุณเป็นฝ่ายดึงเศษของมาเรียเข้าไป[115]

พายุไต้ฝุ่นเซินติญ

พายุไต้ฝุ่น (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุไต้ฝุ่นระดับ 3 (SSHWS)
ระยะเวลา21 – 29 ตุลาคม
ความรุนแรง155 กม./ชม. (100 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
945 mbar (hPa; 27.91 inHg)
ชื่อของ PAGASA: โอเฟล

พายุไต้ฝุ่นบบพา

ดูบทความหลักที่: พายุไต้ฝุ่นบบพา
พายุไต้ฝุ่น (JMA)
พายุไต้ฝุ่น (TMD)
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 (SSHWS)
ระยะเวลา25 พฤศจิกายน – 9 ธันวาคม
ความรุนแรง185 กม./ชม. (115 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
930 mbar (hPa; 27.46 inHg)
ชื่อของ PAGASA: ปาโบล

  • วันที่ 23 พฤศจิกายน ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) รายงานว่าพบพื้นที่ความกดอากาศต่ำขนาดใหญ่ 90w[117] ระบบก่อตัวขึ้นเรื่อยๆ และมีสภาพที่สมบูรณ์ขึ้นเนื่องจากอุณหภูมิผิดน้ำทะเลที่อบอุ่น[118]
  • วันที่ 25 พฤศจิกายน JTWC และ JMA ได้ประกาศทวีความรุนแรงเป็นดีเปรสชันเขตร้อนในขณะที่ JTWC ได้ใช้สัญญาณเรียกขาน 26W[119][120] 26W ได้กลายเป็นพายุโซนร้อนโดยสถานะทำให้ JMA ใช้ชื่อทางการว่า "บบพา"[121]
  • วันที่ 27 พฤศจิกายน JTWC ได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อนบบพา[122]
  • วันที่ 2 ธันวาคม พายุได้เคลื่อนตัวมาในเขตรับผิดชอบของฟิลิปปินส์และได้ชื่อ "ปาโบล (Pablo)"
  • วันที่ 3 ธันวาคม ระบบได้ทวีกำลังแรงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยไม่คาดคิดระบบกลายเป็นซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 และเริ่มมีตาที่กว้าง 27 กิโลเมตร

บบพาขึ้นถล่มแผ่นดินฟิลิปปินส์ในระดับความรุนแรงเป็นซุเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 [123]

  • วันที่ 9 ธันวาคม JTWC ได้ประกาศคำเตือนสุดท้ายของพายุ[124]

พายุโซนร้อนอู๋คง

พายุโซนร้อน (JMA)
พายุโซนร้อน (TMD)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา24 – 28 ธันวาคม
ความรุนแรง75 กม./ชม. (45 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 10 นาที)
1000 mbar (hPa; 29.53 inHg)
ชื่อของ PAGASA: กินตา

พายุทำให้เกิดแผ่นดินถล่มในหมู่เกาะวิซายาของฟิลิปปินส์เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม ขณะที่กำลังทวีความรุนแรงเป็นพายุโซนร้อน ด้วยการจัดระบบการพาความร้อนอย่างดีของพายุขณะที่กำลังเคลื่อนผ่านฟิลิปปินส์[130][131] ต่อมา PAGASA ได้รายงานว่า อู๋คง ได้ทำให้เกิดแผ่นดินถล่มในเกาะเล็กๆ ในภาคกลางของฟิลิปปินส์รวม 7 ครั้ง[132]

วันที่ 27 ธันวาคม พายุได้ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 11 คนในฟิลิปปินส์ และเคลื่อนไปทางทะเลจีนใต้โดยลงทะเลที่ตะวันออกของจังหวัดปาลาวัน ทางตะวันตกเฉียงใต้ของมะนิลา[133]

ใกล้เคียง

ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2566 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2565 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2556 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2562 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2544 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2563 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2560 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2561 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2546 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2545

แหล่งที่มา

WikiPedia: ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก_พ.ศ._2555 http://www.bom.gov.au/climate/tropnote/tropnote.sh... http://www.radioaustralia.net.au/international/201... http://weather.news.sina.com.cn/news/2012/0724/042... http://tcdata.typhoon.gov.cn/en/ http://tcrr.typhoon.gov.cn/EN/article/downloadArti... http://www.abs-cbnnews.com/nation/regions/08/21/12... http://www.abs-cbnnews.com/nation/regions/08/29/12... http://www.ajc.com/news/ap/international/2-chinese... http://www.aljazeera.com/news/asia/2012/08/2012820... http://www.asiaone.com/News/AsiaOne+News/Asia/Stor...